บทความวิจัย



นวัตกรรมถุงมือเจลลดอาการนิ้วล็อกทดแทนการแช่พาราฟินในกลุ่มผู้ป่วยข้อนิ้วล็อกระดับ 3 เพื่อลดการเดินทางมารับบริการในโรงพยาบาลชุมพวงช่วงระบาด COVID-19  Innovative gel gloves reduce trigger finger symptoms in place of paraffin soaking in patients with level 3 trigger finger to reduce travel to Chum Phuang Hospital for services during the COVID-19 outbreak.

น.ส.ปิยวรรณ แปลนดี
    งานประชุมวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 10. ชุมพวง. นครราชสีมา. (2563)

บทคัดย่อ/Abstract


บทคัดย่อ

บทนำ โรคนิ้วล็อก (Trigger finger) เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่มีสาเหตุจากการใช้มือในท่ากำบีบอย่างแรง ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบระหว่างปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นทางด้านฝ่ามือซึ่งทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือ จนทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น เส้นเอ็นผ่านไปมาไม่สะดวก เกิดการฝืด ขัด เจ็บและสะดุดขณะที่งอหรือเหยียดนิ้วมือ ส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมาก ใช้เวลาในการรักษานานเฉลี่ยมากกว่า 6 สัปดาห์หรือบางรายเรื้อรังรักษาไม่หายต้องได้รับการผ่าตัด จึงนำมาสู่การประดิษฐ์นวัตกรรมถุงมือเจลลดอาการนิ้วล็อกทดแทนการแช่พาราฟินในกลุ่มผู้ป่วยข้อนิ้วล็อกระดับ 3 เพื่อความต่อเนื่องในการรักษา ลดโอกาสการรับเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ในช่วงที่มีการระบาดจากการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลชุมพวง

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยข้อนิ้วล็อค ความรุนแรงระดับ 3 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมพวง จำนวน 4 ราย ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองที่บ้าน โดยการใช้นวัตกรรมถุงมือเจลที่ให้ความร้อนตื้นและการบริหารนิ้วมือตามคำแนะนำ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ ประเมินความปวด (Pain scale) และองศาการเคลื่อนไหว (ROM) ของนิ้วมือ

วิธีการศึกษา ประดิษฐ์นวัตกรรมถุงมือเจลโดยนำวัสดุเหลือใช้คือเจลแช่ยารักษาอุณหภูมิจากบริษัทยามาใส่ในถุงมือยาง โดยซ้อนถุงมือ 2 ชั้น เพื่อไม่ให้มือสัมผัสกับเจลโดยตรง โดยก่อนใช้ให้นำถุงมือไปแช่น้ำอุ่น 15 นาที แล้วนำมาสวมใส่มืออีก 15 นาที หลังจากนั้นบริหารมือตามคำแนะนำ ต่อเนื่องทุกวันจนครบ 6 สัปดาห์

ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยทั้ง 4 ราย มีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม มีอาการปวด (Pain scale) ลดลงและมีองศาการเคลื่อนไหว (ROM) ของนิ้วมือเพิ่มมากขึ้น

สรุปและข้อเสนอแนะ นวัตกรรมถุงมือเจลช่วยรักษาอาการนิ้วล็อก ระดับ 3 ทดแทนการแช่พาราฟินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องในการรักษาโดยไม่ต้องเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลชุมพวง เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19


คำสำคัญ : ถุงมือเจล, นิ้วล็อค

บทคัดย่อ

บทนำ โรคนิ้วล็อก (Trigger finger) เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่มีสาเหตุจากการใช้มือในท่ากำบีบอย่างแรง ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบระหว่างปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นทางด้านฝ่ามือซึ่งทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือ จนทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น เส้นเอ็นผ่านไปมาไม่สะดวก เกิดการฝืด ขัด เจ็บและสะดุดขณะที่งอหรือเหยียดนิ้วมือ ส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมาก ใช้เวลาในการรักษานานเฉลี่ยมากกว่า 6 สัปดาห์หรือบางรายเรื้อรังรักษาไม่หายต้องได้รับการผ่าตัด จึงนำมาสู่การประดิษฐ์นวัตกรรมถุงมือเจลลดอาการนิ้วล็อกทดแทนการแช่พาราฟินในกลุ่มผู้ป่วยข้อนิ้วล็อกระดับ 3 เพื่อความต่อเนื่องในการรักษา ลดโอกาสการรับเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ในช่วงที่มีการระบาดจากการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลชุมพวง

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยข้อนิ้วล็อค ความรุนแรงระดับ 3 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมพวง จำนวน 4 ราย ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองที่บ้าน โดยการใช้นวัตกรรมถุงมือเจลที่ให้ความร้อนตื้นและการบริหารนิ้วมือตามคำแนะนำ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ ประเมินความปวด (Pain scale) และองศาการเคลื่อนไหว (ROM) ของนิ้วมือ

วิธีการศึกษา ประดิษฐ์นวัตกรรมถุงมือเจลโดยนำวัสดุเหลือใช้คือเจลแช่ยารักษาอุณหภูมิจากบริษัทยามาใส่ในถุงมือยาง โดยซ้อนถุงมือ 2 ชั้น เพื่อไม่ให้มือสัมผัสกับเจลโดยตรง โดยก่อนใช้ให้นำถุงมือไปแช่น้ำอุ่น 15 นาที แล้วนำมาสวมใส่มืออีก 15 นาที หลังจากนั้นบริหารมือตามคำแนะนำ ต่อเนื่องทุกวันจนครบ 6 สัปดาห์

ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยทั้ง 4 ราย มีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม มีอาการปวด (Pain scale) ลดลงและมีองศาการเคลื่อนไหว (ROM) ของนิ้วมือเพิ่มมากขึ้น

สรุปและข้อเสนอแนะ นวัตกรรมถุงมือเจลช่วยรักษาอาการนิ้วล็อก ระดับ 3 ทดแทนการแช่พาราฟินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องในการรักษาโดยไม่ต้องเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลชุมพวง เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19


keywords : ถุงมือเจล, นิ้วล็อค

อ้างอิง


Makkouk AH, Oetgen ME, Swigart CR, Dodds SD. Trigger finger: etiology, evaluation, and treatment. Curr Rev Musculoskelet Med. 2008 Jun;1(2):92-6.

ดาวน์โหลด