บทความวิจัย



กระบวนการรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อลดภาวะท่อน้ำนมอุดตันในมารดาหลังคลอดบุตร  Physical therapy treatment process to reduce blocked milk ducts in primigravida.

น.ส.ปิยวรรณ แปลนดี
    งานประชุมวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 8. ชุมพวง. นครราชสีมา. (2561)

บทคัดย่อ/Abstract


บทคัดย่อ

บทนำ ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันพบได้บ่อยในมารดาหลังคลอดบุตร ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำนมบริเวณที่เกิดการอุดตันมีความข้นมากขึ้นจนอุดตันคั่งค้างอยู่ในท่อน้ำนม ซึ่งน้ำนมส่วนที่เหนือจากจุดที่อุดตันขึ้นไป อาจคั่งค้างจนเกิดเป็นก้อนไตแข็งๆ และน้ำนมไม่ไหลหรือไหลช้า ร่วมกับมีอาการปวดและคัดตึงเต้านม ส่งผลทำให้มารดาหลังคลอดบุตรไม่สามารถให้นมบุตรได้อย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรักษาทางกายภาพบำบัดต่อการลดภาวะอุดตันของท่อน้ำนมและลดอาการปวดระบมเต้านมในมารดาหลังคลอดบุตร ป้องกันภาวะเครียดซึมเศร้าซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมน้อยลง ลดการใช้ยาแก้ปวดและยากระตุ้นการสร้างน้ำนม ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเพื่อสุขภาพในระยะยาว

วิธีการศึกษา/การดำเนินงาน เริ่มจากกระบวนการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเป็นกรณีศึกษา จำนวน 5 ราย แล้วเริ่มทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการและบริเวณของเต้านมที่มีปัญหา โดยใช้แบบประเมินความเจ็บปวด (pain scale) และแบบประเมินการไหลของน้ำนม เป็นเครื่องมือในการวัดผลการรักษา แล้วจึงเริ่มต้นกระบวนการรักษาด้วยการประคบร้อนด้วยแผ่นร้อนที่บริเวณเต้านม เป็นเวลา 15 นาที หลังจากนั้นทำการอัลตร้าซาวด์ทางกายภาพบำบัด เป็นเวลา 5 นาที เมื่ออัลตร้าซาวด์เสร็จทำการนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนม แล้วทำการประคบเย็นด้วยแผ่นเย็นบริเวณเต้านม เป็นเวลา 10 นาที เพื่อลดอาการปวด ลดอาการอักเสบและลดอาการบวมบริเวณเต้านม แล้วจึงทำการประเมินอาการซ้ำหลังการรักษา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยทั้ง 5 ราย มีความพึงพอใจในการรักษา มีอาการปวดคัดตึงเต้านมลดลงและมีการไหลของน้ำนมมากขึ้น

ประโยชน์/การนำไปใช้ ช่วยลดภาวะอุดตันของท่อน้ำนมและลดอาการปวด ทำให้มารดาสามารถให้นมบุตรได้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกิดความรักความอบอุ่นและส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเพื่อสุขภาพในระยะยาว


คำสำคัญ : กายภาพบำบัด, ท่อน้ำนมอุดตัน, มารดาหลังคลอดบุตร

บทคัดย่อ

บทนำ ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันพบได้บ่อยในมารดาหลังคลอดบุตร ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่น้ำนมบริเวณที่เกิดการอุดตันมีความข้นมากขึ้นจนอุดตันคั่งค้างอยู่ในท่อน้ำนม ซึ่งน้ำนมส่วนที่เหนือจากจุดที่อุดตันขึ้นไป อาจคั่งค้างจนเกิดเป็นก้อนไตแข็งๆ และน้ำนมไม่ไหลหรือไหลช้า ร่วมกับมีอาการปวดและคัดตึงเต้านม ส่งผลทำให้มารดาหลังคลอดบุตรไม่สามารถให้นมบุตรได้อย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรักษาทางกายภาพบำบัดต่อการลดภาวะอุดตันของท่อน้ำนมและลดอาการปวดระบมเต้านมในมารดาหลังคลอดบุตร ป้องกันภาวะเครียดซึมเศร้าซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมน้อยลง ลดการใช้ยาแก้ปวดและยากระตุ้นการสร้างน้ำนม ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเพื่อสุขภาพในระยะยาว

วิธีการศึกษา/การดำเนินงาน เริ่มจากกระบวนการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเป็นกรณีศึกษา จำนวน 5 ราย แล้วเริ่มทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการและบริเวณของเต้านมที่มีปัญหา โดยใช้แบบประเมินความเจ็บปวด (pain scale) และแบบประเมินการไหลของน้ำนม เป็นเครื่องมือในการวัดผลการรักษา แล้วจึงเริ่มต้นกระบวนการรักษาด้วยการประคบร้อนด้วยแผ่นร้อนที่บริเวณเต้านม เป็นเวลา 15 นาที หลังจากนั้นทำการอัลตร้าซาวด์ทางกายภาพบำบัด เป็นเวลา 5 นาที เมื่ออัลตร้าซาวด์เสร็จทำการนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนม แล้วทำการประคบเย็นด้วยแผ่นเย็นบริเวณเต้านม เป็นเวลา 10 นาที เพื่อลดอาการปวด ลดอาการอักเสบและลดอาการบวมบริเวณเต้านม แล้วจึงทำการประเมินอาการซ้ำหลังการรักษา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยทั้ง 5 ราย มีความพึงพอใจในการรักษา มีอาการปวดคัดตึงเต้านมลดลงและมีการไหลของน้ำนมมากขึ้น

ประโยชน์/การนำไปใช้ ช่วยลดภาวะอุดตันของท่อน้ำนมและลดอาการปวด ทำให้มารดาสามารถให้นมบุตรได้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกิดความรักความอบอุ่นและส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเพื่อสุขภาพในระยะยาว


keywords : กายภาพบำบัด, ท่อน้ำนมอุดตัน, มารดาหลังคลอดบุตร

อ้างอิง


เอกสารอ้างอิง

1. Ballard O, Morrow AL. Human milk composition: nutrients and bioactive factors. Pediatr Clin North Am. 2013; 60(1): 49-74.

2. Rollins NC, Bhandari N, Hajeebhoy N, Horton S, Lutter CK, Martines JC, et al. Why invest, and what it will take to improve breastfeeding practices. Lancet. 2016; 387(10017): 491-504.

3. Lawrence RA, Lawrence RM. Breastfeeding: a guide for the medical profession. 6 ed. Philadelphia, Elsevier Mosby, 1999.

4. Victora CG, Bahl R, Barros AJ, França GV, Horton S, Krasevec J, et al. Breastfeeding in the 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. Lancet. 2016; 387(10017): 475-90.

5. Winichagoon P, Damrongwongsiri O.Breastfeeding situation, facilitators and obstacles, policy and program to promote breastfeeding in Thailand. J Nutr Assoc Thailand. 2020; 55(1): 66-81. (in Thai)

6. CetthkrikulN,Topothai C, Topothai T, Pongutta S, Kunpeuk W, Prakongsai P, et.al.Situation of breastfeeding among mothers receiving services in public hospitals in Thailand, J Health Res. 2016; 25(4): 657-63.(in Thai)

7. Giugliani ER. Problemas comuns na lactação e seu manejo [Common problems during lactation and their management]. J Pediatr (Rio J). 2004; 80(5): 147-54.

8. Sakha K. Behbahan AGG. The onset time of lactation after delivery. JIRI 2005; 19(2): 135-139.

9. Campbell SH. Recurrent plugged ducts. J Hum Lact. 2006; 22(3): 340-3.

10. Leung SS. Breast pain in lactating mothers. Hong Kong Med J. 2016; 22(4): 341-6.

11. Jacobs A, Abou-Dakn M, Becker K, Both D, Gatermann S, Gresens R, et al. S3-Guidelines for the treatment of Inflammatory breast disease during the lactation period. Geburtshilfe Frauenheilkd. 2013; 73(12): 1202-8.

12. Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK. World Health Organization. Adequacy of sample size in health studies. Chichester: Wiley, 1990.

13. Trainapakul C, Chaiyawattana M, Kanavitoon W, Tiumtaogerd R, Naka S, Mitrniyodom W, et. al. Effect of milk ejection performance of postpartum mother after breasts massage and compression with mini hot bag and herbal compress.J Nurs Educ. 2010; 3(3): 75-91.(in Thai)

14. Masae M, Kala S, Chatchawet W. Effect of Self-Breast Massage Program on Milk Ejection of First-Time Mothers. Pnu Sci J. 2019;11(3):1-14.(in Thai)

15. Pakdeechot S, Morarad R, Sakontarat P. The effect of increasing milk production program on secretion time of colostrum in postpartum mothers. J Health Res. 2017; 19(2): 279-87. (in Thai)

16. Nuampa S, Tangsuksan P, Jitima V, Nguycharoen G. Breast massage for breastfeeding promotion and problem solving. Nurs Sci J Thai. 2020; 38(3): 4-21. (in Thai)

17. Witt AM, Bolman M, Kredit S, Vanic A. Therapeutic breast massage in lactation for the management of engorgement, plugged ducts, and mastitis. J Hum Lact. 2016; 32(1): 123-31.

18. Topothai C, Topothai T, Suphanchaimat R, Patcharanarumol W, Putthasri W, Hangchaowanich Y, et. al. Breastfeeding practice and association between characteristics and experiences of mothers living in Bangkok. Int J Environ Res Public Health. 2021; 18(15): 7889.

19. Thussanasupap B, Lapvongwatana P, Kalampakorn S, Spatz DL. Effects of the community-based breastfeeding promotion program for working mothers. PRIJNR. 2016; 20(3): 196-209.

20. Kent JC, Prime DK, Garbin CP. Principles for maintaining or increasing breast milk production. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs. 2012; 41(1): 114-21.

21. Kanhadilok S, McCain NL, McGrath JM, Jallo N, Price SK, Chiaranai C. Factors associated with exclusive breastfeeding through four weeks postpartum in Thai adolescent mothers. J Perinat Educ. 2016; 25(3): 150-61.

22. Shellshear M. Therapeutic ultrasound in post-partum breast engorgement. Aust J Physiother. 1981; 27(1): 15-6.

23. McLachlan Z, Milne EJ, Lumley J, Walker BL. Ultrasound treatment for breast engorgement. Aust J Physiother. 1991; 37(1): 23-8.

24. Cooper BB, Kowalsky DS. Physical therapy intervention for treatment of blocked milk ducts in lactating women. J Womens Health Phys Therap. 2015; 39(3): 115-26.

25. Lavigne V, Gleberzon BJ. Ultrasound as a treatment of mammary blocked duct among 25 postpartum lactating women. J Chiropr Med. 2012; 11(3): 170-8.

ดาวน์โหลด