บทความวิจัย



ผลการใช้ High Flow Nasal Cannular (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก  ผลการใช้ High Flow Nasal Cannular (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก

นางสาวสุพรรณี ชอบเรียบร้อย, นางจินดา เถียงสูงเนิน และนางสาวสุพัตรา วิลา
    -. ด่านขุนทด. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


ผลการศึกษาผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษา High Flow Nasal Cannular จำนวน 4 คน เป็นเพศชายทั้งหมด ผู้ป่วยที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับการรักษาด้วย High Flow nasal cannular คือ 5 เดือน และมากที่สุด คือ 5 ปี High Flow nasal cannular โรคที่เป็นสาเหตุของภาวะหายใจลำบากที่ทำให้ผู้ป่วยรักษาด้วย High Flow nasal cannular คือ ปอดอักเสบ จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 50) หลอดลมฝอยอักเสบ จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 25) และโรคหอบหืดกำเริบ จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 25) ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการตั้งอัตราการไหลรวมของก๊าซออกซิเจนตามน้ำหนัก โดยมีอัตราการไหลรวมต่ำสุดเป็น 6 LPM และสูงสุดเป็น 20 LPM ความเข้มข้นชองออกซิเจน (FiO2) เริ่มต้นส่วนใหญ่ที่ 0.5 (ร้อยละ75) และหลังจากใช้ High Flow Nasal Cannular ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นที 2 ชั่วโมงหลังเริ่มการรักษา (ร้อยละ 75) มีผู้ป่วย 1 ราย ที่มีอาการดีขึ้นหลังเริ่มการรักษา 4 ชั่วโมง ไม่พบผู้ป่วยรายใดที่ล้มเหลวจากการรักษาโดยการใช้ High Flow nasal Cannular จนต้องเปลี่ยนการรักษาเป็นใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ระยะเวลาการรักษาโดยการใช้ High Flow Nasal Cannular ส่วนใหญ่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน (ร้อยละ 75) ระยะเวลารักษาเฉลี่ยเป็น 2.6 วัน ระยะเวลานอนรพ.รวมน้อยที่สุด 3 วัน และมากที่สุด 13 วัน ระยะเวลานอนรพ. เฉลี่ย 6.75 วัน จากการเก็บข้อมูลไม่พบผู้ป่วยเด็กเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะรับการรักษาและผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กมีความพึงพอใจจากการรับการรักษาโดยใช้ High Flow Nasal Cannular

คำสำคัญ : High Flow Nasal Cannular ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก

อ้างอิง


-

ดาวน์โหลด