บทความวิจัย



Best Practice: ภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลบ้านเกาะร่วมใจต้านภัยโควิด-19  Ban Ko Sub-District Community Association unite against the threat of COVID-19

นางจันทร์เพลิน คิดการ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย
    วารสารงานวิชาการ สสจ.นครราชสีมา . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ดำเนินงานภายใต้ วิสัยทัศน์ : หน่วยบริการปฐมภูมิที่ได้มาตรฐานในการบริหารและบริการสุขภาพที่เป็นเลิศ รวมทั้งอัตลักษณ์ : ยึดมั่นในคุณความดี มีการจัดบริการเวชปฏิบัติครอบครัวในสถานบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster :PCC) เน้นหลัก 3 S พบโอกาสพัฒนาในหมวด การจัดการกระบวนการ ในประเด็นการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19) ที่มีแนวโน้มมีการติดเชื้อสูงขึ้น จึงมีการดำเนินงาน ภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลบ้านเกาะร่วมใจต้านภัยโควิด-19 โดยใช้ขบวนการพัฒนา P-D-C-A ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการเปิดศูนย์ CI,LQ และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของภาคีเครือข่ายอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการนำทรัพยากรของภาคีเครือข่ายมาร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน ตั้งแต่ 12 กันยายน 2564 - 26 กันยายน 2564 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคโควิด-19 จำนวน 13 คน ผลการดำเนินงาน กลุ่มเสี่ยง จำนวน 13คนที่ได้รับการตรวจการติดเชื้อโควิดเบื้องต้น ATK (Antigen test kit) ผลปกติ เข้ารับการกักตัวที่ศูนย์กักกัน (Local Quarantine) ตำบลบ้านเกาะ เป็นเวลา14 วัน ในจำนวน 13 คน มีการติดเชื้อเพิ่มจำนวน 1 คน มีการปฏิบัติตัวตามมาตรการการควบคุมป้องกันโรคของกระทรวง สธ. ร้อยละ 84.61 (11คน) มีความรู้โรคโควิด-19 ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายความพึงพอใจ 98.76 รพ.สต.ขนาย มี Flow chart ในการดำเนินงานที่ได้จากการทบทวนร่วมกับภาคีเครือข่าย ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้

เกิดขึ้นจาก การคืนข้อมูลให้ชุมชน ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญ จนเกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในชุมชน รวมทั้งการร่วมมือกันเป็นเจ้าของในการดำเนินงานและการนำทรัพยากรของแต่ละเครือข่ายในชุมชนมาสนับสนุนในการดำเนินงาน และสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อไป คือ เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีทางสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่และการดำเนินงานโดยชุมชนเป็นหลัก


คำสำคัญ : ภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลบ้านเกาะ , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

อ้างอิง


1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การป้องกันและควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 DMHTTA. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โบรชัวร์ กรุงเทพฯ; 2563

2. วรฉัตร เรสลี. โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019. สมุทรปราการ: บริษัทพิมพ์รุ่ง อินเตอร์ พริ้น จำกัด; 2563.

3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2563.

ดาวน์โหลด