บทความวิจัย



การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์  DEVELOPMENT OF THE HIV/AIDS PATIENT

กัณฑิมา พุทธลา เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี
    ประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย 2565. เมืองยาง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายที่จะยุติปัญหาเอดส์ให้ได้ ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยกำหนดให้ผู้ป่วยเอดส์สามารถควบคุม ไวรัสสำเร็จตามเป้าหมาย( Viral load: VL) < 50 copies/ml มากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งหาก Viral load: VL น้อยกว่า 50 copies/ml แสดงถึงร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อนได้ จากการดำเนินงานคลินิกเติมภูมิ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี พบว่าผู้ป่วยเอดส์ ขาดนัด รับประทานยาต้านไวรัสไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ในปี 2561-2563 มีค่า VL < 50 copies/ml คิดเป็นร้อยละ 50.16 59.86 และ 62.66 ตามลำดับ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยเอดส์สามารถควบคุม ไวรัสสำเร็จตามเป้าหมายได้ (Viral load < 50 copies/ml) มากกว่าร้อยละ 90 จึงพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์ขึ้น โดยมีการดำเนินงานดังนี้

1.ประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพที่รับผิดชอบในคลินิกเติมภูมิ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาสาเหตุ

2.มีระบบโทรติดตามผู้ป่วยก่อนวันนัด และ LINE GROUP ของผู้ป่วยเอดส์เพื่อแจ้งวันนัด และประสานผ่านเครือข่ายในชุมชนเพื่อติดตามผู้ป่วย โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

3.จัดให้มีวันคลินิกและวันส่งตรวจเลือดเดือนละ 1 ครั้ง

4.มีระบบการจัดส่งยาที่บ้าน โดยรพ.สต.ดำเนินการ

ผลการดำเนินงาน จากพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์ในคลินิกเติมภูมิ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี สำเร็จตามเป้าหมาย ผู้ป่วยเอดส์สามารถควบคุมไวรัสสำเร็จ(Viral load < 50 copies/ml) ในปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 93 และในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 97

อภิปรายผล จากการดำเนินงานปัจจัยที่ช่วยให้ความสำเร็จตามเป้าหมายในระบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์ เนื่องจากเรามีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนช่วยในการดูแลผู้ป่วยทั้ง อสม รพ.สต.

บทสรุปการเรียนรู้ ผู้ป่วยเอดส์ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูค่าไวรัส (Viral load: VL) อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการประเมินภาวะสุขภาพให้มีภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อน

ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่ายังมีปัจจัยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ ทั้งเรื่องการลดภาวะแทรกซ้อน และพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา และระบบภูมิคุ้มกันที่ดีได้


คำสำคัญ : Viral load:

อ้างอิง


กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข, แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมความครอบคลุมในการตรวจปริมาณ เอชไอวีในกระแสเลือด (HIV Viral Load) ในประเทศไทย, สิงหาคม 2564

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค,การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์,พฤศจิกายน 2563

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจรักษาและ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทยจำกัด; 2560.

กัญญา พฤฒิสืบ.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต,2563

ดาวน์โหลด