บทความวิจัย



พัฒนาแนวทางการลดภาวะวิตกกังวลของมารดาหลังคลอดที่บุตรมีภาวะตัวเหลือง ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลปักธงชัย  -

วรารักษ์ จันทร์สูงเนิน**, กันตพร บวรประสิทธิกุล**และดรุณี คุณวัฒนา*
    -. ปักธงชัย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


ในปี พ.ศ.2560-2562 แผนกหลังคลอดพบทารกตัวเหลืองเข้ารับการรักษาเพิ่มมากขึ้น จำนวน 194, 213, 273 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.64, 29.75, 38.50 ตามลำดับ และมีมารดาที่อยู่เฝ้าบุตรตัวเหลืองปฏิเสธการรักษา ร้อยละ 0.53 ผู้วิจัยจึงทำการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะวิตกกังวลปัจจัยที่มีผลต่อภาวะวิตกกังวล และจัดทำแนวทางการลดภาวะวิตกกังวลของมารดาหลังคลอดที่บุตรมีภาวะตัวเหลืองได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือ 1) ศึกษาภาวะวิตกกังวลปัจจัยความวิตกกังวล และจัดทำแนวทางการลดภาวะวิตกกังวลของมารดาหลังคลอด 2) ประชุม ชี้แจงและนำแนวทางไปปฏิบัติ 3) สังเกตการเปลี่ยนแปลง 4 ) สรุปและสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย คือ พยาบาลหลังคลอด 8 ราย มารดาที่ดูแลบุตรตัวเหลือง 17 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การประเมินภาวะวิตกกังวลตามแบบประเมินของสปิลเบอร์เกอร์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้มารดามีความวิตกกังวลคือความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลทารกตัวเหลือง ความเชื่อ ความคาดหวังในสุขภาพของบุตร กระบวนการในการรักษา การสนับสนุนของครอบครัว และการให้ข้อมูลที่ไม่ส่งผลให้เกิดการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ ผู้ศึกษาได้จัดทำแนวทางโดยมีขั้นตอนหลักคือ ตกลงขั้นตอนการให้บริการ การให้ข้อมูลการรักษาโดยแพทย์ สอนวิธีการดูแลบุตรขณะส่องไฟ การให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่มารดาต้องการทราบ และการให้ข้อมูลในรูปแบบการให้คำปรึกษา หากมารดามีความวิตกกังวล หลังการนำแนวทางมาใช้พบว่าระดับความวิตกกังวลของมารดาจากระดับปานกลาง ร้อยละ 58.82 เป็นระดับต่ำ ร้อยละ 70

สรุปผลและข้อเสนอแนะ การใช้แนวทางการลดภาวะวิตกกังวลของมารดาหลังคลอดที่บุตรมีภาวะตัวเหลืองได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ ทำให้มารดารับทราบข้อมูลตรงกับอาการของทารกที่เป็นอยู่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของมารดาและญาติในการดูแลบุตรจะช่วยลดความวิตกกังวลของมารดาได้








คำสำคัญ : แนวทางลดภาวะวิตกกังวล,มารดาหลังคลอด,ทารกตัวเหลืองได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ

อ้างอิง


สุชาดา ธนะพงค์พร. ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด : การพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์น

เอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2557;8:64-72.

จารุพิศ สุภาภรณ์. การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลือง ที่ได้รับการส่องไฟรักษา

และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร. 2556;40:115-125.

จันทรมาศ เสาวรส. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด: ปญหาที่ไมควรมองขาม. ราชาวดีสาร วิทยาลัย

พยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร. 2562;9:99-109.

สิริกัญญา เกษสุวรรณ. ปัจจัยทํานายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ได้รับ

การรักษาด้วยการส่องไฟ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 25561;11:100-113.

อัญชลี ขันทุลา. ภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมารดาที่บุตรเข้ารับการ

รักษาในตึกทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์; 2548

สุระพรรณ พนมฤทธิ์. กระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ:บริษัทประชุมช่าง จำกัด,2553

กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. (2555). การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง. ในศรีสมบูรณ์ มุสิก

สุคนธ์, ฟองคำ ดิลกสกุลชัย (บรรณาธิการ), ตำราการพยาบาลเด็ก (พิมพ์ครั้งที่ 3). หน้า 378-392.

กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วน จำกัด พรี-วัน

ณัฏฐพร ตระการพงษ์ และสิริโศภิต ทิพนาค. ผลของการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบต่อความพึงพอใจใน

บริการพยาบาลของบิดามารดาที่มีบุตรพักรักษาในหอผู้ป่วยบำบัดพิเศษทารกแรกเกิดโรงพยาบาล

รามาธิบดี. Rama Nurs J.1997;3:274-283.

ดาวน์โหลด