บทความวิจัย



ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา  Factors Associated with Antibiotic used of Working- Age Group in Chalermphrakiat District Nakhon Ratchasima Province

นายพีรภัทร ไตรคุ้มดัน
    วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2564-มกราคม 2565. เฉลิมพระเกียรติ. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะ ของกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุ 18-59 ปี ในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 434 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.8 มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) มากที่สุด ส่วนใหญ่ได้รับยาปฏิชีวนะจากโรงพยาบาลของรัฐ (ร้อยละ 40) อาการส่วนใหญ่ที่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะ คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ (ร้อยละ 30) เมื่อวิเคราะห์โดยการควบคุมอิทธิของตัวแปรอื่นแล้วพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะของกลุ่มวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ กลุ่มอายุ 41-59 ปี (ORAdj= 1.99, 95% CI = 1.07 – 3.71) รายได้ 10,000 บาทขึ้นไป ต่อเดือน(ORAdj= 2.09, 95%CI = 1.13 –3.85) สิทธิในการรักษาพยาบาลอื่นๆ (ORAdj= 3.74, 95%CI = 1.31 – 10.67) ความสะดวกใช้บริการ รพ.สต.ในระดับมาก – มากที่สุด (ORAdj= 2.78, 95%CI = 1.23 – 6.26) ความสะดวกใช้บริการ คลินิก/รพ.เอกชน ในระดับมาก – มากที่สุด (ORAdj= 3.78, 95%CI = 1.67– 8.55) และการเจ็บป่วยในรอบ3เดือน ด้วยอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ (adj. OR= 4.66, 95%CI=2.53-8.59) ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องยา และอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสมและปลอดภัยในชุมชน

คำสำคัญ : ปัจจัย, ยาปฏิชีวนะ, วัยทำงาน

This cross-sectional analysis research aimed to determine the prevalence and factors associated with antibiotic used of working aged group in Nakhon Ratchasima province. The total of 434 persons aged between 18 and 59 years old were selected by using a multistage random sampling for data collection between on March 1 – April 30, 2017 and collecting data by using an interview form. Data were analyzed using both descriptive descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, minimum, maximum , and inferential statistics. Multiple logistic regressions was applied to determine the association and presented adjusted OR with 95% confidence interval. The result indicated that most of the prevalence of antibiotic used was 16.8%, the most use of antibiotics is amoxicillin, Most of them received antibiotics from public hospitals (40.0%), The most common diseases requiring antibiotics were fever, cough, sore throat (30.0 percent). When analyzed by controlling the influence of other variables, Factors which were statistically significant associated with antibiotics used were 41 – 59 age group (ORAdj = 1.99, 95% CI = 1.07 – 3.71, p – value =0.030), Monthly income more than 10,000 baht (ORAdj= 2.09, 95%CI = 1.13 –3.85, p – value =0.019), health insurance others (ORAdj= 3.74, 95%CI = 1.31 – 10.67, p – value <0.014), had high- very high level of service convenience to use the tumbon health promoting hospital (ORAdj= 2.78, 95%CI = 1.23 – 6.26, p – value =0.014), had high- very high level of service convenience to Clinic/Private hospital (ORAdj= 3.78, 95%CI = 1.67– 8.55, p – value =0.001), and the past three-month have been sick were fever, cough, sore throat (ORAdj= 4.66, 95%CI=2.53-8.59,p – value <0.001). The recommendation this time was to encourage training in drug knowledge. and the danger of inappropriate use of antibiotics to people, To create knowledge and understanding to use the correct and rational drug use for people in the community in order to change the behavior of drug use appropriately and safely in the community.

keywords : Antibiotics, Working- age group

อ้างอิง


1.นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, เสาวลักษณ์ ฮุนนางกูร, ถานุมาศ ภูมาศ และ ภูษิต ประคองสาย. การสำรวจ

ระบบการควบคุมและเฝ้าระวังการใช้ยาปฏิชีวนะและการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง

สมเหตุผล:ผลการศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555; 6(3): 361-373.

2.พิสนธ์ จงตระกูล. แนวทางการใช้ยาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟ

ฟิคแอนด์ดีไซนด์, 2554.

3.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, นุศราพร เกษสมบูรณ์ และ อุษาวดี มาลีวงศ์. รายงานสถานการณ์ระบบยา

ประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

4.ปุญญาพัฒน์ แสงวงค์ดี. วิกฤติการณ์โลก กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่: บทบาท

ขององค์การอนามัยโลก สถานการณ์ในประเทศไทย และ New Normal. Journal of Social

Synergy 2020; 11(1): 88-108.

5.คณะทำงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาล

ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ

ไทย, 2558.

6.โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ. สรุปกิจกรรมเฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายยาในชุมชนใน

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ. นครราชสีมา; 2562.

7.คุณากร ปาปะขา และวงศา เล้าหศิริ. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยา

ปฏิชีวนะของกลุ่มวัยแรงงานในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

2561; 34(2): 13-22.

8.คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการ โรงพยาบาล

ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ

ไทย, 2558.

9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานผลการดำเนินงานสาธารณสุข[คลังข้อมูล

สุขภาพ Health Data Center(HDC)]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2562 ตุลาคม 10] เข้าถึงได้

จาก https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php.

10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานผลการดำเนินงานสาธารณสุข[คลังข้อมูล

สุขภาพ Health Data Center(HDC)]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2562 ตุลาคม 10] เข้าถึงได้จาก

https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0.

11. Hsieh F.Y. Bloch D.A. & Larsen M.D. A Simple method of sample size calculation for

linear and logistic regression. Statist Med 1998; 17: 1623-1634.

12. David W. Hosmer and Stanley Lemeshow. Applied logistic regression. United States of

America; 2000.

8.วิลาสินี ประกายมั่นตระกูล. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อ

รักษาตนเองของประชาชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น [รายงานการศึกษาอิสระ

ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

14. Cheng J., Coope C., Chai J. et al. Knowledge and behaviors in relation to antibiotic use

among rural residents in Anhui, China. Pharmacoepidemiology and drug safety

2018; 27(6): 652-659.

15. ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา และ กวี ไชยศิริ. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ

ของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัด

สระบุรี. วารสารการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 2559;

409-416.

16. กฤษฎา บุษบารัตน์,วงศา เล้าหศิริ และ วิลัยพร ถิ่นคำรพ. สถานการณ์และปัจจัยที่มี

ความสัมพันธ์กับการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ของกลุ่มวัยแรงงาน จังหวัด

กาฬสินธุ์ [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ขอนแก่น:

มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

17. Russo V., Monetti V.M., Guerriero F. et al. Prevalence of antibiotic prescription in southern

Italian outpatients: real-world data analysis of socioeconomic and sociodemographic

variables at a municipality level. Clinico Economics and Outcomes Research 2018;

CEOR 10: 251-258.

ดาวน์โหลด