บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติต่อคุณภาพชีวิตและความสุขของผู้สูงอายุ ตำบลหนองหัวแรต อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา  The Effects of 5 Dimensions of Happiness Program on the Quality of life and Happiness of the Elderly in Nong Hua Rat Subdistrict, Nong Bun Mak District, Nakhon Ratchasima Province

ทิพวรรณ พุฒดอน
    โรงพยาบาลหนองบุญมาก. หนองบุญมาก. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตและคะแนนเฉลี่ยความสุขของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม อายุ 60 ปีขึ้นไปที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองหัวแรต อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (purposive) จำนวน 35 คน จัดกิจกรรมทั้งหมด 5 ครั้ง ๆ ละ 6 ชั่วโมง แต่ละครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ โดยเน้นพัฒนาสุข 5 มิติ ด้านที่ 1 สุขสบาย (health) ด้านที่2 สุขสนุก (recreation) ด้านที่ 3 สุขสง่า (integrity) ด้านที่ 4 สุขสว่าง (cognition) และด้านที่ 5 สุขสงบ (peacefulness) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพชีวิต (WHOQOL-26) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.834 แบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (Thai Mental Health Indicator – 15) TMHI-15 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.795 และโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างเดือนกรกฎาคม 2566 – กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมาน ได้แก่ Paired sample t -test

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) และคะแนนเฉลี่ยความสุขของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05)


คำสำคัญ : โปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ; คุณภาพชีวิต; ความสุข; ผู้สูงอายุ

This research. The objective is to compare the average quality of life score and the average of happiness score of the elderly. Before and after participated in the 5 dimensions of happiness program. The sample group consisted of elderly people aged 60 years and over, who have attended “School for the Elderly” at Nong Hua Rat Subdistrict Municipality, Nong Bun Mak District, Nakhon Ratchasima Province. The subject was obtained from a purposive selection of 35 people, attend 5 activities, 6 hours per activity, each time is 2 weeks apart. The study was emphases on the development of 5 dimensions of happiness, the first dimension is health, the second dimension is recreation, the third dimension is integrity, the fourth dimension is cognition and the fifth dimension is peacefulness. The tools were used in this research include: Quality of Life Assessment (WHOQOL-26) has a reliability value of 0.834. Short Thai Mental Health Indicator Questionnaire (Thai Mental Health Indicator - 15) TMHI-15 has a confidence value of 0.795 and a program to create 5 dimensions of happiness that has been checked for content validity by experts. Data were collected by interview a sample group between July 2023 - September 2023. Data were analyzed by the descriptive statistics such as percentage, mean, standard deviation and inferential statistics such as paired sample t -test.

The research results were that the average score of the overall quality of life of the sample after participating in the 5 Dimensions of Happiness program. There was a statistically significant increase in the mean quality of life score (p-value <0.05), and the average happiness score of the sample group after participating in the 5 Dimensions of Happiness program was significantly higher (p-value <.05).


keywords : The 5 Dimensions of Happiness Program; Quality of life; Happiness; Elderly

อ้างอิง


[1] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ข้อมูลการคาดประมาณประชากรของประเทศ ไทยพ.ศ.2553-2583 ปี 2556. (ออนไลน์). [2566]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2566]; เข้าถึงได้จาก https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/03/Report-File-408.pdf

[2] ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2556.

[3] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ภาวะสังคมไทยไตมาสสี่ และภาพรวม. [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2566). เข้าถึงได้จาก http://www. nesdb.go.th/

[4] รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

[5] กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต; 2560.

[6] คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุระยะที่ 2 (พ.ศ. 2554 - 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2563

[7] สุจริต สุวรรณชีพ และ สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. คู่มือ “วิทยากรจัดกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน”. นนทบุรี : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2560.

[8] HDC - Report. กลุ่มรายงานมาตรฐาน. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https:/ /nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805 a484d7 ac96c6edc48&id=953a2fc648 be8ce 76a8115fbb955bb51

[9] เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. หลักการและการใช้สถิติวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว สำหรับงานวิจัยทางการ พยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์; 2549.

[10]ปิยภรณ์ เลาหบุตร. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์หลักสูตร รป.ม.(การบริหารทั่วไป)]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

[11] Bloom, B.S., et al. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill; 1986.

[12] สุดารัตน์ นามกระจ่าง และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการเสนอผล งานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ; 2560

[13] มณเฑียร ทักษณา และณัฐพล พุ่มอิ่ม. ผลของโปรแกรมสร้างสุขในชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านมุงอำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก.วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563; 1(2) : 54 – 63.

[14] พัชรี ถุงแก้ว. ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยรูปแบบความสุขเชิงจิตวิทยา 5 มิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและ ความสุขของผู้สูงอายุของชุมชนบ้านหัวสะพาน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ 2561; 13(3) : 41 - 54.

[15] สุภาภรณ์ สมพาน. ผลการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ ชมรมผู้สูงอายุตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2566). เข้าถึงได้จาก https://chiangmaihealth.go.th /document/211230164085497065.pdf

ดาวน์โหลด