บทความวิจัย



พัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus Charting ในกลุ่มโรคสำคัญของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครรราชสีมา  Development of Nursing Documentation on Focus Charting Nursing Record of Key Clinical Population in Emergency Department, Chokchai Hospital, Nakhon Ratchasima Province

สุณิฐฐา สีห์หิรัญภากุล
    แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. โชคชัย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (pre-experimental research) ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest -posttest design) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบันทึกการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ (focus Charting) ในกลุ่มโรคสำคัญของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลโชคชัย และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการบันทึกการพยาบาลแบบชี้เฉพาะในกลุ่มโรคสำคัญก่อน และหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 10 คน และเวชระเบียนบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วยในกลุ่มโรคสำคัญ 4 โรคคือ (1) Stroke (2) Sepsis (3) Acute Myocardial Infraction (4) Traumatic Brain Injury คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ก่อนการพัฒนาจำนวน 40 ฉบับ (ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนมกราคม 2565) และหลังการพัฒนาจำนวน 40 ฉบับ (ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 ถึง เดือนมกราคม 2566) เครื่องมือที่ใช้ในการได้แก่แบบตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลผ่านการตรวจสอบ ของผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าความตรงเนื้อหา CVI =1 (Content Validity Index) ดำเนินการวิจัยโดย อบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง เรื่องการใช้กระบวนการพยาบาลและการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะ และการนิเทศรายบุคคลโดยหัวหน้างาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ Paired sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาแยกตามกลุ่มโรคสำคัญ ดังนี้ โรคStroke ก่อนการพัฒนา ( =2.53 , S.D. =0.53) และหลังการพัฒนา ( = 3.30 , S.D. =0.70) โรค Acute Myocardial Infraction ก่อนการพัฒนา ( =2.66 , S.D. =0.44) และหลังการพัฒนา ( = 3.40 , S.D. =0.70 ), Sepsis ก่อนการพัฒนา ( =2.61 , S.D. =0.42) และหลังการพัฒนา ( = 3.19 , S.D. =0.63) ,Traumatic Brain Injury ก่อนการพัฒนา ( =2.43 , S.D. =0.41) และหลังการพัฒนา ( = 3.18 , S.D. =0.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p <0.05 )


คำสำคัญ : คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล; การบันทึกแบบชี้เฉพาะ; กลุ่มโรคสำคัญ

This research is a pre-experimental research by using a single experimental group. To measure results before and after experiment (One group Pretest – Posttest Design). Aimed to develop the quality of nursing recordings with Focus Charting in key clinical population of the Accident and Emergency Department, Chokchai Hospital. and to compare the quality of nursing recordings with Focus Charting in key clinical population before and after development. Sample group consisted of 10 professional nurses in the Accident and Emergency Department and medical nursing records of patients in 4 key clinical population : 1. Stroke 2. Sepsis 3. Acute Myocardial Infraction 4. Traumatic Brain Injury, selected specifically. Before the development, 40 copies (between October 2021 and January 2022) and after the development, 40 copies (between October 2022 and January 2023). The tools used were the quality check forms of nursing records through examine of experts received a content validity value of CVI =1 (Content Validity Index). Method of study: Participatory workshop of relevant people. Concerning the use of nursing processes and nursing recordings with specific focus (Focus charting) and individual supervision by supervisors. Data were analyzed using descriptive statistics and Paired sample t-test.

Results : The mean nursing record quality scores after development were higher than before development, separated by key of clinical population as follows: Stroke disease before development = 2.53, S.D. = 0.53and after development = 3.30, S.D. =0.70 Acute Myocardial Infraction disease before development = 2.66 , S.D. = 0.44 and after development = 3.40 , S.D. =0.70 , Sepsis before development =2.61 , S.D. =0.42 and after development = 3.19 , S.D. =0.63, Traumatic brain injury before development =2.43 , S.D. =0.41 and after development = 3.18 , S.D. = 0.73 with statistical significant (p <0.05)


keywords : Development of Nursing Documentation; Focus charting; Key Clinical Population

อ้างอิง


[1] Urquhart, C., Currell, R., Grant, M. J., & Hardiker, N. R. Nursing record systems: Effects on nursing practice and healthcare outcomes. The Cochrane Database of systematic Reviews. [Online]. (2018). [cited 2022 April 9]. Available from : https://www.researchgate.net/publication/12520074 _Nursing_ Record_ Systems _ Effects_on_Nursing_Practice_and_Health_Care_Outcomes

[2] อรวรรณ ณ.ลำปาง และดอกไม้ บุตรดา. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและนิติเวช โรงพยาบาลบางกรวย .วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2564; 3: 31 – 44.

[3] กองการพยาบาล สำ นักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ.นนทบุรี. บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2561.

[4] สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แ ล ะ ส ถ า บั น รั บ ร อง คุ ณ ภ า พ สถาน พยาบาล (องค์กรมหาชน). คู่มือตรวจประเมินคุณภาพบันทึกเวชระเบียน. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสซิ่ง จำกัด; 2563.

[5] ยุวดี เกตสัมพันธ์. การเขียนบันทึกทางการพยาบาล (Focus Charting). [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www. Siam-nurse. Blogspot. Com/p/focus-charting.html

[6] Malcolm S. Knowles. Andragogy: Adult Learning Theory in Perspective . [Online]. (2022). [cited 2022 April 20]. Available from https:// journals.sagepub.com/doi/abs /10.1177/009155217800500302

[7] Sir John Whitmore.The GROW Model ‘Performance, learning and enjoyment are inextricably. [Online]. (2022). [cited 2022 April 9]. Available from : https:// cdn.southampton.ac.uk/assets/imported/transforms/content-block/UsefulDownloads _Download/ 59CB199C2 A5841109BF2 EA4EA98017B6/GROW-Model.pdf

[8] กองการพยาบาล. คู่มือการจัดการบริการพยาบาลจาก หลักสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.

[9] สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แ ล ะ ส ถ า บั น รั บ ร อง คุ ณ ภ า พ สถาน พยาบาล (องค์กรมหาชน). คู่มือตรวจประเมินคุณภาพบันทึกเวชระเบียน. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสซิ่ง จำกัด; 2563.

[10] ทิพวรรณ ตั้งวงศ์กิจ สุวัฒนา เกิดม่วง มณฑาทิพย์ ไชยศักดิ์ และคณะ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาการนิเทศการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม ต่อคุณภาพการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดชัยนาท. วารสารกระทรวงสาธารณสุข 2563; 30(2) 190 – 202.

[11] Sashkin M. A manager’s guide to participative management. New York: AMA Membership Publication Division; 1982.

[12] Proctor, B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge; 2001.

[13] ปิยะ ศักดิ์เจริญ. ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต Adult Learning Theory and Self-Directed Learning Concept: Learning Process for Promoting Lifelong Learning.วารสารพยาบาลทหารบก 2558; 16 (1) : 8 – 13.

[14] John Dewey . How We Think. New York : Heath and Company. [Online]. (1909). [cited 2022 April 21]. Available from : https://bef632.files.wordpress.com/2015/09/dewey-how-we-think.pdf

[15] รุ่งกาญจน์ วุฒิ สมจิตร สิทธิวงศ์จันทร์ และธิลา ศรีกระจ่าง. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานในการเสริมสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและการชี้นําตนเองในการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของนักศึกษาพยาบาล.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา2559; 17(3): 69 – 80.

[16] Dehghani , Khadijieh Nasinianiand Tahere Salimi . Requirements for nurse supervisor training: A qualitative content analysis. Irannian Jernal of Nursing Midwifery Research 2016; 21(1): 63 – 70.

[17] ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ อุษณีย์ คงคากุล นริสา สะมาแอ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561; 10(2) : 13 – 24.

[18] สุรีภรณ์ กอเซ็ม และชญานันท์ ต่างใจ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลด้านคลินิก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนาด้วง. ชัยภูมิเวชสาร 2562; 39(1) : 26 – 36.

[19] สุมลา พรหมมา. รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นําทางการพยาบาล.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2559; 11(2): 354 – 68 .

[20] วราภรณ์ ภัทรมงคลเขตต์ และพร บุญมี. การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาล การสาธรณสุขและสุขศึกษา 2560 ; 18(1) : 123 – 36.

[21] มลิวัลย์ มูลมงคล และคณะ. ผลการใช้การบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus Charting งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำปาง.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2): 409 – 17.

[22] คนึงนิตย์ มีสวรรค์ .ผลของการบันทึกทางการพยาบาลแบบชี้เฉพาะหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2562; 22(3) : 66 – 76.

ดาวน์โหลด