บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงเรียนเบาหวานวิทยา : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเอง 2  The Development of Health Care for Patients Diabetes Type2 in School of Diabetes : Case Study in NiKhom Sang Ton-Eng 2

กัญจน์มิตา ธัญวัฒน์ธีรากุล
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเอง 2. พิมาย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในโรงเรียนเบาหวานวิทยา (2) ประเมินผลลัพธ์รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในโรงเรียนเบาหวานวิทยา : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเอง 2 โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ในพื้นที่ทดลอง ระยะที่ 4 ประเมินผลลัพธ์รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 32 คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน คณะทีมโรงเรียนเบาหวาน รวมทั้งสิ้น 21 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวานมีรูปแบบกระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดบทบาทหน้าที่องค์กร การภาคีสร้างภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม การสร้างคณะทำงาน/ทีมดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ชัดเจน และการจัดทำรูปแบบการเรียนการสอนของผู้ป่วยเบาหวานในโรงเรียนเบาหวานวิทยา ที่ประกอบได้ด้วย 14 กิจกรรม 14 สัปดาห์ โดยผสมผสาน การเจาะน้ำตาล การวัดองค์ประกอบร่างกาย (body composition) และใช้แนวคิดใน 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ (1) Information Processing and Evaluation (2) Self-Monitoring (3) Education (4 ) Meal Planning (2) การประเมินผลลัพธ์กระบวนการเรียนรู้ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า ด้านพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยได้ประสบผลสำเร็จ ด้านกระบวนการเรียนรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่ามีความรู้ด้านการบริโภคอาหารการออกกำลังกาย การรับประทานยา เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนใช้รูปแบบ รวมทั้งด้านกายภาพ พบว่าระดับ HbA1c ลดลงเมื่อวัดผลหลังจากการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรออกแบบระบบการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานในเชิงลึกเพื่อให้ทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเพื่อจะได้นำข้อมูลไปออกแบบการแก้ปัญหาเป็นรายบุคคลต่อไป


คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน; โรงเรียนเบาหวาน; โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

The objectives of this action research were to (1) develop a learning process model for patients with type 2 diabetes in diabetes schools. (2) evaluate the results of the learning process model for patients with type 2 diabetes in diabetes schools. A case study of NiKhom Sang Ton-Eng 2 Sub-district Health Promoting Hospital, with research divided into 4 phases: Phase 1: studying the situation and problem; Phase 2: creating a learning process model for patients with type 2 diabetes; Phase 3: trying the developed format. In the experimental area, Phase 4 evaluated the results of the learning process model for diabetic patients. The sample group was divided into 2 groups: a group of 32 diabetic patients and a related group, including family medicine, professional nurses, public health academics, the public health network, and the Diabetes School Team, which has a total of 21 people. The research instruments were a questionnaire and data analysis using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation.

This research found that (1) the development of a learning process model for diabetic patients has an important process format, including defining organizational roles and duties. Participating in creating network partners Creating a working group or team to clearly care for diabetes patients and the preparation of a teaching model for diabetic patients in diabetes schools, which consists of 14 activities for 14 weeks, combining self-monitoring of blood glucose by Dextrostix (DTX), measuring body composition, and using concepts for four important points: (1) information processing and evaluation; (2) self-monitoring; (3) education; and (4) meal planning. (2) In the evaluation of the learning process results of type 2 diabetic patients, it was found that the health behaviors of diabetic patients have appropriate health behaviors. Able to control the average blood sugar level successfully. Regarding the learning process of patients with type 2 diabetes, it was found that their knowledge about food consumption, exercise, and taking medicine increased more than before using the model. Including physical aspects, it was found that HbA1c levels decreased when measured after using the model, with statistical significance at the 0.05 level. Suggestions: A system for accessing in-depth information on diabetes patients should be designed to identify problems, obstacles, and limitations in patient behavior so that the information can be used to design individualized solutions.


keywords : Diabetic Patients; Diabetes School; Diabetic care Program

อ้างอิง


[1] กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรคสำนักระบาดวิทยา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https: //ddc.moph.go.th/uploads/publish /1035820201005073556.pdf

[2] บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. ผลของรูปแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวในการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัยในชุมชน ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก http ://www.amno.moph.go.th/amno_new/ files.../1000 Article%20v2.pdf

[3] วรนารถ เล้าอติมาน. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื่อรัง:กรณีศึกษา เครือข่ายบริการสุขภาพแกดํา จังหวัดมหาสารคาม. [ออนไลน์]. (2553). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://thaidj.org/index.php/JHS/ article/download/698/630/702

[4] ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา. [ออนไลน์]. (2550). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https: //ph02.tci-thaijo.org/index.php/scihcu / article/view/243740

[5] ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวด สำาหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:/ /thaifammed.org/academic _work/ebookdm/

[6] Kanfer, F. H; Gaerick-Buys, L. Self managment methods. In F.H. Kanfer, &,A.

Goldstain (EDS), Helping people change : A text book of method. New York : Pergamon Press; 1991.

[7] มะธุระ ใจเย็น. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานพื้นที่เขตลำพาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

[8] ถาวร สายสวรรค์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทีมสหสาขาวิชาชีพด้วยหลักเวชศาสตร์ครอบครัว. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https :// thaidj.org/index.php/JHS/article/download/8533/7907/12152

[9] ศรัณญา แก้วคำลา. ประสิทธิผลของกระบวนการกลุ่มต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวานงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเสลภูมิ. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org / index.php/MKHJ/article/view/242392

[10] ธันยพร ธนารุณ. การออกแบบสื่อผสมเพื่อการเรียนรู้โรคเบาหวานในผู้ป่วยวัยชรา. [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https ://he02.tci-thaijo.org/ index.php /Veridian-E-Journal/article/download/35075/29145/79353

[11] มยุรี เที่ยงสกุล และสมคิด ปานประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// thaidj.org/index.php/JHS/article/download/7756/7162/10638

[12] สยุมพร สมประสิทธิ์. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566] เข้าถึงได้จากhttps:// wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/data-service/or-wor-chor/item/download /7872_8890b64ef2cb2918d 22 63682 a2725386

[13] ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี พรพิมล ชัยสา อัศนี วันชัย และชลธิมา ปิ่นสกุล. การออกกําลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// he01.tci-thaijo. org/index.php /bcnpy / article /view/114167

[14] อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. แรงสนับสนุนทางสังคม : ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน. [ออนไลน์]. (2555). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก http s://med. mahidol.ac.th/ nursing/sites/ default /files/public/journal/2553/issue_02/ 10.pdf

ดาวน์โหลด