บทความวิจัย



การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย  Nursing care of End Stage Renal Disease Patient with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis : 2 cases study

เยาวรักษ์ ทะนาไธสง
    โรงพยาบาลเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. เสิงสาง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลเสิงสาง จำนวน 2 ราย ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการล้างไตทางช่องท้องเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบประเมินสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน แบบซักประวัติการรักษาของผู้ป่วยใน ในการสัมภาษณ์และสังเกตแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป แบบแผนสุขภาพ การพยาบาลในระยะแรกรับ ระยะการตรวจรักษา และระยะจำหน่ายดูแลต่อเนื่อง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ในการประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง และความต้องการการดูแลตนเองของผู้ป่วย

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ทั้ง 2 ราย มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่คล้ายคลึงกันในด้านอายุ โรคประจำตัว และระยะเวลาการล้างไต ส่วนความสามารถในการดูแลตนเอง ประเมินพบความบกพร่องในการดูแลตนเองและความต้องการความช่วยเหลือระบบพยาบาลที่ต่างกัน ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติการพยาบาลทั้ง 2 ราย ควรเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัว นำสู่ในการวางแผนการรักษา วางแผนจำหน่ายและการแก้ไขปัญหาตามความต้องการที่แท้จริง ส่งผลให้ผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจในการดูแลตนเอง ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำรงชีวิตประจำวันได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยส่งเสริมการหายเป็นปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยซ้ำ


คำสำคัญ : การพยาบาล; โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย; การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง

This study aimed to investigate the nursing care planning, nursing interventions for patientsand factors affecting self-care using a qualitative research model. The comparative study included end-stage chronic renal disease patients who received continuous ambulatory peritoneal dialysis and were treated at the non-communicable disease clinic of Soeng Sang Hospital, 2 cases were obtained by purposive sampling. which is a patient with complications from peritoneal dialysis. Data collection since March to May 2023, and the research tools utilized consisted of 11 health assessment forms Gordon functional health patterns, inpatient treatment history form in participatory interview and observation. framework for data analysis health care planning, nursing diagnoses, the initial care phase, the treatment examination phase and the continuous care discharge phase by the Orem self-care theory was applied to assess the patient self-care abilities and needs.

The study revealed that both patients shared similar health risk factors in terms of age and chronic diseases, namely diabetes and hypertension, and the duration of renal dialysis. However, there were differences in their self-care abilities. Recommendations for nursing practice in both cases should focus on the participation of patients and their families, leading to treatment planning and discharge planning that addressed the actual needs. This resulted in increased confidence for patients and their relatives in self-care. Patients were able to return to their daily lives and experience a good quality of life. This helped promote recovery and prevent recurring complications in the future.


keywords : Nursing care; End Stage Renal Disease; Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis

อ้างอิง


[1] สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ.2563. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// www.nephrothai.org/wp-content/uploads/ 2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf

[2] National Kidney Foundation. K/DOQI clinical practice guidelines for nutrition in chronic renal failure. American Journal of Kidney Diseases 2001; 37(1) : 66 – 70 .

[3] กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลเสิงสาง. แบบประเมินตนเอง ปีงบประมาณ 2565. งานผู้ป่วยนอกคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลเสิงสาง; 2565.

[4] Orem, D.E. Nursing: concepts of practice. 5thed. St. Louis : Mosby Year Book; 2001.

[5] พนิดา เทียมจรรยา ชมนาด วรรณพรศิริและดวงพร หุ่นตระกูล. การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการ ติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างทางช่องท้อง อย่างต่อเนื่อง.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(3) : 92 - 10.

[6] Chau K.F, Lo A. Guideline for Ambulator Peritoneal Dialysis Service in Hong Kong. Hong Kong Hospital Authority; 1999.

[7] นุช โพธิ์ศรีวิไล. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่บ้าน ซึ่งได้รับการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง. [วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. นครปฐม : มหาวิทยาลัย คริสเตียน; 2557.

[8] ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล ยศพล เหลืองโสมนภา รัชสุรีย์ จันทเพชร และคณะ. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง ในระยะเวลาอย่างน้อย 18 เดือน ของผู้ป่วยล้างไต ทางช่องท้องต่อเนื่อง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561; 29(1): 18 – 28.

ดาวน์โหลด