บทความวิจัย



แนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา  Guidelines for Smoking Prevention Among Secondary School Students in Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province

เทอดพันธ์ เสาวภาคย์เมธีกุล
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยแถลง. ห้วยแถลง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พัฒนาแนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และประเมินผลแนวทาง การป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 371 คน (2) คณาจารย์ จำนวน 9 คน (3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน (4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และ การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการศึกษา พบว่า (1) ทั้ง 3 โรงเรียนได้ดำเนินการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง กำหนดวิสัยทัศน์การดำเนินงานที่ และมีการแต่งตั้งคณะดำเนินงานป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับพิษของบุหรี่ระดับสูง ร้อยละ 55.53 ส่วนด้านทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีต่อการสูบบุหรี่ โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับดี ( =4.15, S.D. =.67) (2) การพัฒนาแนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ครูควรสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมในการป้องกันการสูบบุหรี่ และออกแบบกระบวนการการดำเนินงานการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมาร่วมกัน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (3) การประเมินผลแนวทางการดำเนินงานภายใต้ S-I-C-K model สามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียงอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมาได้ ข้อเสนอแนะ คือ ควรพัฒนาศักยภาพของครูผู้รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์สื่อให้ตรงกับความต้องการของนักเรียน


คำสำคัญ : การส่งเสริมป้องกัน; การสูบบุหรี่; นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

The purpose of this action research was to study the smoking situation of secondary school students, develop guidelines for smoking prevention among secondary school students, and evaluate the smoking prevention guidelines for secondary school students in Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. The samples in the study were divided into 4 groups as follows: (1) 371 secondary school students; (2) 9 teacher members; (3) parents of 12 students; and (4) 9 public health officers. Focus groups, questionnaires, document analysis, and in-depth interviews were the research instruments that were used in this study. Descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation, were used in quantitative data analysis. By arranging the data into categories and groups, the qualitative data section evaluated the data.

The study results showed that (1) All 3 schools continued to prevent smoking among their students. There is a clear vision for the operation and for the appointment of a working group to prevent smoking in schools. Most of the secondary school students had a high level of knowledge about the dangers of smoking (55.53 percent). In terms of the attitudes of secondary school students toward smoking, overall they were at a good level ( =4.15, S.D. =.67). (2) The development of smoking prevention guidelines for secondary school students Teachers should ask secondary school students for their opinions on smoking prevention activities and jointly design the smoking prevention operation process for secondary school students in Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province, to accommodate secondary school students demands. (3) The evaluation of operational guidelines under the S-I-C-K model is practical, appropriate, and can be used in contexts close to Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. The suggestion is to develop the potential of the teachers responsible for publicizing the media to meet the needs of the students.


keywords : Promotion and Prevention; Smoking; Secondary School Students

อ้างอิง


[1] กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน คลินิกหมอครอบครัว สำหรับหน่วยบริการ [ออนไลน์]. (2560). [สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.ato.moph.go.th/sites/default/ files/download/primary%20care%20cluster_guide%20%28pcc%29.pdf

[2] กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์; 2560.

[3] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สถานการณ์การสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2562.

[4] สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจักราช. จำนวนผู้สูบบุหรี่. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จักราช. สำเนาอัด; 2562.

[5] Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey -Bass, 2007.

[6] Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication; 1973.

[7] นุสบา เกษร พรรณี เสน่ห์อนุรักษ์ วราวรรณ เจนวรพจน์ วิไลลักษณ์ ทับทิม และพิมลพรรณ ดีเมฆ.ความรู้และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร วันที่ 22 ธันวาคม 2560. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2560.

[8] วิจิตรา กุสุมภ์ และสุลี ทองวิเชียร. พฤติกรรมสูบบุหรี่และดื่มสุราของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาล 2562; 68(4) : 30 – 38.

[9] ฉันทนา แรงสิงห์. การดูแลวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ : บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2556; 14(2) พฤษภาคม – สิงหาคม : 17 – 24.

[10] เบญจวรรณ ชำนาญช่าง กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และวันเพ็ญ แก้วปาน. การพัฒนาแนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นชายตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนามสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ]. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์; 2558.

[11] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. PDCA เครื่องมือในการจัดการคุณภาพ [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : http :// psdg.mnre.go.th/ckeditor/upload/files/ id147/KM/PDCA_28_29_ก_ย_ 2560_กพร_ทส.pdf

ดาวน์โหลด