บทความวิจัย



การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคโควิด-19 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ  The participation on COVID-2019 Prevention among Village health Volunteers in Thepharak Subdistrict Promoting Hospital, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province

สุทนธ์ วงศ์ศิริ
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. เมืองสมุทรปราการ. สมุทรปราการ. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคโควิด-19 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทพารักษ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 138 คน เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง มกราคม 2566 รวม 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความยากง่าย 0.82 ทัศนคติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 และการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson’s Correlation Coefficient

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วงมากกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ระยะเวลา การปฏิบัติงานของ อสม. อยู่ในช่วง 13 - 19 ปี มีความรู้ อยู่ในระดับปรับปรุง ส่วนทัศนคติ แรงสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านลักษะทางประชากร ความรู้ ทัศนคติ และแรงสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้อเสนอแนะครั้งต่อไป ควรมีการอบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมรณรงค์ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้มีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


คำสำคัญ : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน; โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019; การมีส่วนร่วม

Since the purpose of the study was to explore the participation of COVID-19 prevention in community health volunteers at Thepharak Subdistrict Health Promoting Hospital Tambol, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province, a descriptive research design was implemented. Of 138 participants were community health volunteers in Thepharak Subdistrict Health Promoting Hospital Tambol. The study was conducted for three months from November 2022 to January 2023. Data were collected by the questionnaires which were comprised of; socio-demographic characteristics factors, knowledge of COVID-19 showed that the Kuder-Richardson 20 (KR-20) was 0.82, the attitude toward COVID-2019 showed that the reliability test was 0.81, social support for COVID-2019 prevention showed that the reliability test was 0.92 as well the participation of COVID-2019 prevention in community health volunteers showed that the reliability test was 0.95. Relevant statistics included descriptive statistics; frequency distribution; number, percentage, and average estimations; standard deviation, and testing correlation in Pearson’s Correlation Coefficient at p-value < 0.05.

This study found that most of the participants were female, their range age was 60 years or above, and most of their education status was primary level. In addition, the study revealed that knowledge of COVID-19 had an average score in poor level, while the attitude toward COVID-2019, social support for COVID-2019 prevention, and the participation of COVID-2019 prevention in community health volunteers had an average score in moderate level. Furthermore, the testing correlation found that there was no correlation between socio-demographic characteristics factors, knowledge of COVID-2019, the attitude toward COVID-2019 as well social support for COVID-2019 prevention with the participation of COVID-2019 prevention in community health volunteers at p-value >0.05. The study suggests that effective training or campaign should be adopted to make up for the COVID-2019 knowledge, prevention, and provide positive attitudes among community health volunteers, and should have to participate in taking action and practice to be a role model for the community to prevent the spread of the coronavirus disease 2019.


keywords : Community Health Volunteer; Coronavirus Disease 2019; Participation

อ้างอิง


[1] World Health Organization. oronavirus disease 2019 (covid-19) situation report-35. [Online]. (2020). [cited 2022 September 9]. Available from https://www. who.int/docs/ defaultsource/

[2] World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) report. [Online]. (Retrived 2022 October 1) [cited 2022 October 1]. Available from: https :// covid19.who.int/

[3] กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2565) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc. moph.go.th/ covid19-daily-dashboard/?dashboard= analysis-province

[4] งานระบาดวิทยา. สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19. รายงานประจำเดือนตุลาคม 2565. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเทพารักษ์ อำเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ; 2565.

[5] นำพล ศรีสงคาม และจิราวรรณ ศรีสงคราม. บทบาทและการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในอำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www. amno.moph.go.th/amno_new/files/1p11.pdf

[6] สุเทพ รักษาผล. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต วิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ]. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์; 2563.

[7] กิตติ วงศ์ปทุมทิพย์. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 2: 59 - 67.

[8] พรทิพย์ มธุรวาทิน. ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ในเรื่องการใช้หน้ากากอนามัยให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่; 2564.

[9] สุเทพ รักษาผล. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต วิชาการจัดการสุขภาพท้องถิ่นและชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ]. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์; 2563.

[10] ชนิดา เตชะปัน. ทำการศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชน ในเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ [หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย].มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.

[11] พรทิพย์ มธุรวาทิน. ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ในเรื่องการใช้หน้ากากอนามัยให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่; 2564.

[12] วิทยา ชินบุตร และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 2: 304 – 18.

ดาวน์โหลด