บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรู อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  Development of Control and Prevention COVID-19 Disease Model by Community Participation in The Area of Nong Pru Sub-District Health Promoting Hospital, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province

สุระพงษ์ ฝ่ายเคนา
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรู . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรูกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คณะทำงานประจำศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคตำบลและภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถาม การมีส่วนร่วมในการควบคุม และป้องกันโรค (2) แบบสัมภาษณ์ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดการดำเนินงาน (3) แบบสัมภาษณ์โดยการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับข้อเสนอแนะการดำเนินงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย การทดสอบค่าที (paired t- test) ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและภาคีเครือข่าย (2) การพัฒนาระบบการดูแลรักษา การส่งต่อ (3) การคัดกรองเชิงรุกในชุมชน (4) การติดตามกำกับและประเมินผลการดำเนินงาน การประเมินผลหลัง การนำรูปแบบไปใช้ พบว่า การมีส่วนร่วมใน การควบคุมและป้องกันโรค หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 ปัจจัยความสำเร็จได้แก่ (1) การมีผู้ประสานงานหลักในระดับตำบล (2) ความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการสถานการณ์ในพื้นที่ (3) การจัดทำแนวทางปฏิบัติงาน (4) การสนับสนุนขององค์กรในพื้นที่ (5) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย (6) การใช้เครือข่ายในการประชาสัมพันธ์ (7) การใช้เทคโนโลยีในการประสานงาน (8) การระดมสมองอย่างต่อเนื่อง ปัญหาอุปสรรค คือ (1) การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและมาตรการ (2) ความย่อหย่อนในการปฏิบัติตามมาตรการ ข้อเสนอแนะ (1) ควรพัฒนาความรู้ ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง (2) ควรนำรูปแบบการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับภัยสุขภาพอื่น ๆ


คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ; การควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19; การมีส่วนร่วมของชุมชน

This research is action research aimed to develop control and prevent COVID-19 disease model by community participation in the area of Nong Pru Sub-District Health Promoting Hospital. The sample consisted of the working group of the Sub-District Disease Control Operation Center and community networks, 88 peoples. The research instruments consisted of (1) a questionnaire relate to participation in disease control and prevention; (2) an interview form on success factors, barriers, and constraints to implementation; (3) an interview form for group discussion on operational proposals. Quantitative data was analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and compared differences by paired t-test. Qualitative data was analyzed by content analysis.

The research results showed that the control and prevention model of COVID-19 consists of (1) developing the potential of the Operation Center workgroup and network partners; (2) development of care and referral systems; (3) implementation of proactive screening in the community; (4) monitoring and evaluation of performance. The post-implementation evaluation of the model found that the participation in the control and prevention is higher after developing the model, statistically significant at the .001 level. The success factors include (1) having main coordinators at the sub-district level; (2) knowledge and understanding of how to deal situation in the area; (3) establishment of basic operational guidelines; (4) support from local organizational; (5) network participation; (6) use of networks for outreach; (7) use of technology for coordination; (8) joint continuous brainstorming. Problems and obstacles are (1) changes in requirements and policies; (2) laxity in implementing policies. Recommendations include (1) the knowledge and understanding should be continuously developed; (2) the developed model should apply to other health threats.


keywords : Model development; Covid-19 Control and prevention; Community participation.

อ้างอิง


[1] สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564. คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/eidnationplan60_64.pdf

[2] กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการตรวจวินิจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางห้องปฏิบัติการ. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www3.dmsc. moph.go.th/post-view/700

[3] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

[4] World Health Organization. Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). [Online]. (2020). [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2564]. Available at: https:// www. who. int/docs/default-source/coronaviruse/who-china-joint-mission-on-covid-19-final-report.pdf

[5] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 728 วันที่ 31 ธันวาคม 2564. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https:// ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/file/situation/situation-no728-311264.pdf

[6] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

[7] ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). รายงานสถานการณ์การตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2564.

[8] โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรู. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2564. นครราชสีมา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรู; 2564.

[9] พงศ์ศักดิ์ จันทร์ทอง, อุไรวรรณ จันทร์ทอง และศศลักษณ์ เมธารินทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในชุมชนบ้านบางมวง ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http:// data. Ptho . moph.go.th/ptvichakarn63/uploads/58026_0101_20200818031453.pdf

[10] บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2564 ; 3(2) กรกฎาคม–ธันวาคม : 193–204.

[11] วิไล มีทองขาว อดิศร วงศ์คงเดช และสันติสิทธิ์ เขียวเขิน. ศึกษาการจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565; 29(2) พฤษภาคม–สิงหาคม : 65–75.

[12] ระนอง เกตุดาว อัมพร เที่ยงตรงดี และ ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1) มกราคม–กุมภาพันธ์ : 53–62.

[13] วิษณุพงษ์ จตุเทน. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตําบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(1) ตุลาคม–มกราคม : 72– 83.

[14] ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และคณะ. การพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(2) พฤษภาคม–สิงหาคม : 55–71.

ดาวน์โหลด