บทความวิจัย



นวัตกรรมกระบอกลูกโป่งบริหารปอดและกระบอกน้ำขับเสมหะสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)  Innovative lung exercise balloon cylinder and mucus expelling water cylinder for chronic obstructive pulmonary disease (COPD) patients.

น.ส.ปิยวรรณ แปลนดี
    งานประชุมวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 7. ชุมพวง. นครราชสีมา. (2560)

บทคัดย่อ/Abstract


บทคัดย่อ

บทนำ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีผลทำให้สมรรถภาพการหายใจลดลง มีเสมหะมากกว่าปกติและมีอากาศคงค้างในถุงลม (air trapping) จึงเกิดแรงต้านทานในทางเดินหายใจมากขึ้น ผู้ป่วยต้องใช้แรงมากในการหายใจ ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยหอบได้ง่าย วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ได้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ลดภาวะคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจ ช่วยลดต้นทุนการซื้ออุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่มีราคาแพงและทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ง่าย

วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เริ่มจากการนำขวดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่ใช้แล้วมาทำความสะอาด แล้วทำการตัดตามรูปแบบที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นนำมาแช่น้ำยาฆ่าเชื่อ (Virgon) แล้วนำมาประกอบเข้ากับลูกโป่งและหลอด ซึ่งต้นทุนในการทำเพียง 3 บาท/ชุด

วิธีการทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์ คัดเลือกผู้ป่วยที่มีความสมัครใจเข้าร่วมทดลองใช้อุปกรณ์และผ่านการตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) แล้วเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ระดับ mild (Goal A) จำนวน 5 ราย หลังจากนั้นแนะนำการใช้นวัตกรรมกระบอกลูกโป่งบริหารปอดและกระบอกน้ำขับเสมหะ โดยให้ผู้ป่วยนำกลับไปใช้ที่บ้าน แล้วนัดมาติดตามผลภายหลังการใช้ 3 เดือน

ผลการทดสอบ พบว่าผู้ป่วยทั้ง 5 ราย มีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบลดลง มีเสมหะลดลง ทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น และผลการตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) พบว่า 3 ใน 5 ราย ผลดีขึ้นเป็นปกติ (Normal) ส่วนอีก 2 ราย ยังอยู่ใน ระดับ mild (Goal A) หรือคงที่

ประโยชน์/การนำไปใช้ นวัตกรรมมีผลทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นและลดเสมหะคั่งค้างในระบบทางเดินหายใจช่วยลดต้นทุนการซื้ออุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่มีราคาแพง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)


คำสำคัญ : กระบอกลูกโป่งบริหารปอด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทนำ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีผลทำให้สมรรถภาพการหายใจลดลง มีเสมหะมากกว่าปกติและมีอากาศคงค้างในถุงลม (air trapping) จึงเกิดแรงต้านทานในทางเดินหายใจมากขึ้น ผู้ป่วยต้องใช้แรงมากในการหายใจ ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยหอบได้ง่าย วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ได้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ลดภาวะคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจ ช่วยลดต้นทุนการซื้ออุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่มีราคาแพงและทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ง่าย

วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เริ่มจากการนำขวดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่ใช้แล้วมาทำความสะอาด แล้วทำการตัดตามรูปแบบที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นนำมาแช่น้ำยาฆ่าเชื่อ (Virgon) แล้วนำมาประกอบเข้ากับลูกโป่งและหลอด ซึ่งต้นทุนในการทำเพียง 3 บาท/ชุด

วิธีการทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์ คัดเลือกผู้ป่วยที่มีความสมัครใจเข้าร่วมทดลองใช้อุปกรณ์และผ่านการตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) แล้วเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ระดับ mild (Goal A) จำนวน 5 ราย หลังจากนั้นแนะนำการใช้นวัตกรรมกระบอกลูกโป่งบริหารปอดและกระบอกน้ำขับเสมหะ โดยให้ผู้ป่วยนำกลับไปใช้ที่บ้าน แล้วนัดมาติดตามผลภายหลังการใช้ 3 เดือน

ผลการทดสอบ พบว่าผู้ป่วยทั้ง 5 ราย มีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบลดลง มีเสมหะลดลง ทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น และผลการตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) พบว่า 3 ใน 5 ราย ผลดีขึ้นเป็นปกติ (Normal) ส่วนอีก 2 ราย ยังอยู่ใน ระดับ mild (Goal A) หรือคงที่

ประโยชน์/การนำไปใช้ นวัตกรรมมีผลทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นและลดเสมหะคั่งค้างในระบบทางเดินหายใจช่วยลดต้นทุนการซื้ออุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่มีราคาแพง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)


keywords : กระบอกลูกโป่งบริหารปอด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

อ้างอิง


Ekstrom M, Ahmadi Z, Bornefalk-Hermansson A, Abernethy A, Currow D. Oxygen for breathlessness in patients with chronic obstructive pulmonary disease who do not qualify for home oxygen therapy. Cochrane Database Syst Rev. 2016 Nov 25;11(11)

ดาวน์โหลด