บทความวิจัย



นวัตกรรม กระติกวัคซีนเคลื่อนที่ บอกอุณหภูมิ  Cooler box Mobile Vaccine for check temperature.

นางธิดารัตน์ นิ่มกระโทก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย
    วารสารงานวิชาการ สสจ.นครราชสีมา วารสารวิชาการสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย วารสารวิชาการสมาคมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


นวัตกรรม กระติกวัคซีนเคลื่อนที่ บอกอุณหภูมิ ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บวัคซีนCOVID-19 ให้ได้อุณหภูมิตามมาตรฐานและสะดวกในการใช้งาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนา นวัตกรรม วิธีประดิษฐ์โดยใช้ กระติกเก็บความเย็น 2 ชั้น ขนาด 32 ลิตร มาเจาะรูด้านหน้ากระติกขนาดพอดีสำหรับใส่สายของเครื่องวัดอุณหภูมิดิจิตอล ตัดฟิวเจอร์บอร์ด ด้านขวางและด้านยาวสวมกากบาทกันขนาดเท่าชิดด้านในของกระติก ขนาดห่างในแต่ละช่อง ของฟิวเจอร์บอร์ดสำหรับใส่อุปกรณ์ทำความเย็น(Ice pack) ขนาด 500 กรัม จำนวน 8 pack และทำฝาปิดกระติกด้านในด้วยโฟมและฟิวเจอร์บอร์ดขนาดเท่าฝากระติกด้านใน ทำที่จับบนฝาด้านในกระติกด้วยเชือก จัดทำคู่มือการใช้งานของนวัตกรรม นำไปทดสอบอุณหภูมิที่ศูนย์วิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พบว่า อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ราคานวัตกรรมชุดละ 6,500 บาท ได้นำนวัตกรรมไปใช้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน ในรพ.สต.ขนาย รพ.สต.บ้านใหม่ และ รพ.สต.สีมุม รวมจำนวนบุคลากร 69 คน ผลการใช้พบว่า นวัตกรรม มีอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ขณะใช้งาน 8 ชั่วโมง (รพ.สต.ทั้ง 3 แห่ง ไม่ได้เก็บการใช้งานมากกว่า 8 ชั่วโมง) มีสะดวกในการปฏิบัติงานฉีดวัคซีนใน เรื่อง 1)การตรวจสอบอุณหภูมิได้ตลอดเวลาเมื่อต้องการ2)ในการเปิดหยิบวัคซีนมาใช้ขณะปฏิบัติหน้าที่ฉีดวัคซีน 3)ใช้เคลื่อนที่ในการขนส่งวัคซีนจากหน่วยจ่ายวัคซีนมารพ.สต. 4)การนำวัคซีนเคลื่อนที่ไปให้บริการในหมู่บ้าน รวมทั้งบุคลากรผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจร้อยละ 98.85 ประโยชน์ของนวัตกรรม นอกจากจัดเก็บวัคซีน COVID-19 ได้อุณหภูมิตามมาตรฐานและสะดวกในการใช้งานแล้ว ยังใช้บริหารอุณหภูมิในวัคซีนชนิดอื่นๆที่ใช้ใช้ห่วงโซ่ความเย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และช่วยลดรายจ่ายขององค์กรในการจัดซื้อกระติกวัคซีนสำเร็จรูปที่มีราคาแพง อีกทั้งใช้เป็นแนวทางพัฒนาเพื่อการดักจับที่ทันเวลาของค่าอุณหภูมิให้อยู่ 2-8 องศาเซลเซียส ตลอดการใช้งาน จึงควรจัดทำสัญญาณเตือนเมื่ออุณหภูมิไม่อยู่ในค่ามาตรฐาน


คำสำคัญ : กระติกเก็บความเย็น, เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิตอล, วัคซีนCOVID-19.

อ้างอิง


1. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค . โรคติดเชื้อCOVID – 19 . นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2564.

2. ปิยะนาถ เชื้อนาคและคณะ. วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:

ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์; 2563.

3. กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. มาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2564.

ดาวน์โหลด