บทความวิจัย



นวัตกรรม หัวใจและสายยาง สื่อขับขาน รสหวาน มัน เค็ม  Instructional media for sweet taste fat salty taste of heart and rubber hose.

นางธิดารัตน์ นิ่มกระโทก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย
    วารสารงานวิชาการ สสจ.นครราชสีมา . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


นวัตกรรม หัวใจและสายยาง สื่อขับขาน รสหวาน มัน เค็ม ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ที่เห็นภาพเสมือนจริงของระบบไหลเวียนเลือด จากผลของการรับประทานอาหาร รสหวานจัด รสเค็มจัด และรสมันจัด(อาหารที่มีไขมันสูง) การรับประทานอาหาร รสดังกล่าวจะส่งผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ การประดิษฐ์อุปกรณ์ โดยใช้พลาสติกรูปหัวใจจำนวน 2 ชุดต่อเข้ากับสายยางแทนหลอดเลือด ติดไว้บริเวณหัวใจของภาพคน ปล่อยสายยางจากหน้าอกสู่ปลายเท้า ส่วนปลายสายยางสวมอยู่ในขวดพลาสติกเปล่า ชุดที่ 1 แทนหลอดเลือดดีและหัวใจปกติ สายยางจะอ่อนนิ่ม ใส จากผลของการรับประทานอาหาร รสหวานน้อย รสจืด และรสมันน้อย(อาหารที่มีไขมันต่ำ) ส่วนชุดที่ 2 แทนหลอดเลือดและหัวใจที่เสื่อมสภาพ สายยางจะมีท่อที่ตีบแคบลง และมีสีทึบ จากผลของการรับประทานอาหาร รสหวานจัด รสเค็มจัด และรสมันจัด(อาหารที่มีไขมันสูง) ส่งผลทำให้เกิด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นโรคตั้งต้น ไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ของ โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ นำน้ำสีแดงใช้แทนเลือดในร่างกาย ใส่ในรูปหัวใจจนเต็ม ให้ผู้ใช้/ผู้เข้าอบรม จับดูเปรียบเทียบความนิ่มหรือความยืดหยุ่นของสายยางทั้ง 2 ชุด แล้วปล่อยน้ำสีแดงทั้ง 2 ชุดพร้อมกัน และจับเวลาเปรียบเทียบการไหลของน้ำสีแดง ไปอยู่ในขวดพลาสติก รวมราคา นวัตกรรม 1 ชุด เป็นเงิน 250 บาท เริ่มใช้นวัตกรรมตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง ปัจจุบัน กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 219 คน คือ กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 200 คน และ บุคลากร รพ.สต.ขนาย จำนวน 19 คน ผลการนำไปใช้พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้ความสนใจ เข้าใจและเห็นภาพเสมือนจริง ระหว่างพยาธิสภาพของหลอดเลือดและหัวใจที่ปกติ กับที่ผิดปกติ รวมทั้งตระหนักเห็นความสำคัญ ในการบริโภค อาหารที่เหมาะสม คือ รสหวานน้อย รสจืด และรสมันน้อย(อาหารที่มีไขมันต่ำ) ร้อยละ 93.50 (187 คน) และ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 97.18 ส่วนบุคลากร รพ.สต.ขนาย มีความพึงพอใจ ร้อยละ 96.94 ซึ่งนวัตกรรมนี้ ยังช่วยให้องค์กรประหยัดงบประมาณในการซื้อสื่อที่มีราคาแพง และใช้พัฒนาเป็นสื่อการสอนที่เสมือนจริงมากขึ้น เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือ สื่อในโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบไหลเวียนเลือด ควรจัดทำไว้ใน Health Station ในชุมชน เพื่อแนะนำ เรื่อง อ. อาหาร ที่เหมาะสม

คำสำคัญ : สื่อการสอน, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ

อ้างอิง


1. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ งานเภสัชวิทยา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.

2. กฤษณะ สุวรรณภูมิ. Active Learning โดยใช้สื่อการสอนคณะแพทย์ศาสตร์. สงขลา: โรงพิมพ์สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

3. กฤษณะ สุวรรณภูมิ. โมเดลการดูแลโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model: CCM).กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2560.

4. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป หลักการวินิจฉัยโรค / 280 โรคและการดูแลรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน; 2558.

ดาวน์โหลด