บทความวิจัย



รูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของเครือข่ายสุขภาพชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา  The Participation Model of Prevention and Control the Dengue Hemorrhagic Fever of Community Health Network in NongWaeng Subdistrict, Thepharak District, Nakhonratchasima Province

นายราเมธ สุวรรณทาและนายประภาส ปืนกระโทก
    วารสารวิชาการ ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย. เทพารักษ์. นครราชสีมา. (2564)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สภาพปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สร้างรูปแบบและทดลองใช้การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเครือข่ายสุขภาพชุมชนตำบลหนองแวง อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ทำการศึกษาระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2564

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 69.32 กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 82.61 มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 71.81 มีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 71.63 และมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 48.13 ปัญหาการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเครือข่ายสุขภาพชุมชนในภาพรวมอยู่ระดับน้อย ( = 2.18) ความต้องการการมีส่วนร่วมในการวางแผนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก ( = 4.20) ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเครือข่ายสุขภาพชุมชนที่พัฒนาขึ้นมี 1 รูปแบบ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุโรคไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงานป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 4 การติดตามและประเมินผลป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก เมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้กับประชาชน พบว่า เครือข่ายสุขภาพชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกใน 4 ขั้นตอน ทุกกิจกรรม และผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเครือข่ายสุขภาพชุมชน ทั้ง 4 ขั้นตอน พบว่า มีความสอดคล้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีการยอมรับได้


คำสำคัญ : รูปแบบ/การมีส่วนร่วม/การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

This research was action research that aimed to study the knowledge level about dengue hemorrhagic fever of community health network. The participation about prevention and control of dengue hemorrhagic fever. The problems condition and the needs of participation about prevention and control of dengue hemorrhagic fever and development and implement the participation model of prevention and control the dengue hemorrhagic fever of community health network in Nong Waeng Subdistrict, Thepharak District, Nakhon Ratchasima Province. The data was collected by questionnaire and workshop. Data analysis was explored by frequency, percentages, mean, standard deviation and content analysis. This research was studied between February – March 2021.

The results of this research showed that the most of the representative samples had the knowledge level about dengue hemorrhagic fever in low level about 69.32 percentage. The community health network participated identifying the problems and causes of dengue hemorrhagic fever about 82.61 percentage, planning for prevention and control of dengue hemorrhagic fever about 71.81 percentage, operating for prevention and control of dengue hemorrhagic fever about 71.63 percentage, as well as monitoring and evaluating on the prevention and control of dengue hemorrhagic fever about 48.13 percentage. The problems condition of participation about prevention and control of dengue hemorrhagic fever in the joint picture were low level ( = 2.18). The needs of participation about prevention and control of dengue hemorrhagic fever in the joint picture were high level ( = 4.20). The model of the community health network, s participation in prevention and control of dengue hemorrhagic fever was 1 model and 4 step. Step 1: The raise of community problem awareness and causes of dengue hemorrhagic fever. Step 2: The planning for prevent and control of dengue hemorrhagic fever. Step 3: The operating for prevention and control of dengue hemorrhagic fever. Step 4: The monitoring and evaluating for prevention and control of dengue hemorrhagic fever. When the model was brought to trial with the public found that the most of community health network in the community to participated in prevention and control of dengue hemorrhagic fever activities in 4 steps. The finally, the result of evaluating models of the community health network, s participation in prevention and control of dengue hemorrhagic fever 4 step were consistent, suitable, feasible, and acceptable.


keywords : Model/Participation/Prevention and Control of dengue hemorrhagic fever

อ้างอิง


กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ฯ. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่

เขตสุขภาพที่ 9 ปี 2563 (วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563) สำนักงานป้องกัน

ควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2563; 12: 42-58. [Online] Available at:

http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/situlation.htm ค้นเมื่อ 16/01/2564

พอชม ฉวีวัฒน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อโครงการประชาร่วมใจป้องกันและควบคุม

โรคไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี

พระชนมายุ 72 พรรษา กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร

มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543.

รัตนา เหมือนสิทธิ์. การสำรวจลูกน้ำยุงลายของตำบลพุกร่าง. ม.ป.ป.,. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

วิชิต สารกิจและคนอื่นๆ. การพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของ

ประชาชน. บุรีรัมย์: สานักงานสาธารณสุขจังหวัด,2553.

วิศัลย์โฆษิตตานนท์. การพัฒนาสำนึกสาธารณะของประชาชนในชุมชนเมืองจังหวัด

เพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร, 2550.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2554. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ กรุงเทพมหานคร, 2554)

สำนักโรคติดต่อนาโดยแมลง. สถานการณ์โรค ไข้เลือดออกในประเทศไทย (E2) ปี 2553, 2553.

[Online]. Available :www.thaivbd.org. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพรักษ์. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2563. สาธารณสุขอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา, 2563 (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2564. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 2564; 4: 9-10.

สังคม ศุภรัตนกุล.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้ำยุงลายของประชาชนในเขต

เมืองจังหวัดหนองบัวลาภู. หนองบัวลาภู: สานักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู 2547.



ดาวน์โหลด