บทความวิจัย



ความรู้และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลเมืองโดน อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา  -

1.นายณัชพล ลอบไธสง 2.นางสาวสร้อยสุวรรณ หาญลำยอง
    -. ประทาย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลเมืองโดน อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเลือกมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 122 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด จากการศึกษาสรุปได้ดังนี้

ผลการศึกษาพบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเพศชาย ร้อยละ 57.4 อายุเฉลี่ย 40.2 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 โดยอายุมากที่สุด คือ 50 ปีขึ้นไป และน้อยสุด 30 ปี การศึกษา ประชากรมีการศึกษาส่วนใหญ่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.00 รองลงมาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 23.00 รายได้เฉลี่ยครอบครัว 100,000 – 200,000 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 80.30 ความเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว ร้อยละ 70.50 ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัวและความเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว ร้อยละ 29.50 เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว ระยะเวลาใช้สารเคมีน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 69.70 สมาชิกในครอบครัวที่มีการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดคือ จำนวน 3 คน ร้อยละ 86.90 อาการที่เกิดหลังการใช้สารเคมี ไม่เคยมีอาการผิดปกติ ร้อยละ 90.20 มีอาการผิดปกติร้อยละ 9.80 ชนิดของสารเคมีที่ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่ คือ สารเร่งการเจริญเติบโตของพืชร้อยละ 62.30 รองลงมาคือสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (ยาฆ่าแมลง) ร้อยละ 37.70 ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับต่ำ ร้อยละ 9.80 รองลงมามีความรู้ระดับปานกลางร้อยละ 13.10 และน้อยที่สุด มีความรู้ในระดับสูงร้อยละ 77.00 และการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตร พบว่าเกษตรปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตร ปฏิบัติตนระดับไม่ดี ร้อยละ 59.00 ปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรระดับปานกลาง

ร้อยละ 41.00

จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในความรู้ในระดับสูงแต่การปฏิบัติตัวอยู่ในระดับไม่ดี เกษตรกรกลุ่มนี้ควรได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมคือ การอบรมส่งเสริมเชิงปฏิบัติการ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้านการสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง




คำสำคัญ : ความรู้ การใช้สารเคมี เกษตรกร

-

keywords : -

อ้างอิง


กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.2533. การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งชาติไทย จำกัด.

กรมส่งเสริมการเกษตร.2543.คู่มือพืชสวนเศรฐกิจ.

กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งชาติไทย จำกัด.

กรมอนามัย กองอาชีวอนามัย.แนวทางการดำเนินงานอาชีวอนามัย.ประจำปี2542.

จีระศักดิ์ ศรีสุวรรณวัฒนา.อรชร สมสะอาดและปราณี บุญเปล่ง.2539 การศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรผู้ประกอบการจำหน่ายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและลูกจ้าง จังหวัดสุรินทร์.รายงานการวิจัย.

จิตติพัฒน์ สืบสิมมา, ทัศนีย์ ศิลาวรรณและณิชชาภัทร ขันสาคร. (2560). พฤติกรรมการใช้และการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรเพาะปลูกพริกผู้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษา ตำบลสวนกล้วย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ภาควิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิว เชาว์ถาวร, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์และวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. (2556). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของเกษตรกรปลูกหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จีราพร ทิพย์พิลา, สุกัญญา เจริญเชาว์ และธัญสินี ชื่นชม. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของช่างเสริมสวยในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. (2556). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านห้วยสามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา.

ทองพูล แก้วกา. (2556). ความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู. สาธารณสุขอำเภอนาวัง สานักงานสาธารณสุขอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู.

นฤมล ยารวงและพัชรพร สุคนธสรรพ์. (2559). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานและภาวะสุขภาพของเกษตรกรชาวนา ในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลทหารบก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

น้ำเงิน จันทรมณี. (2559). ความเสี่ยงต่อสุขภาพของแรงงานนอกระบบ ภาคเกษตรกรรม กลุ่มตัวอย่าง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

นันทิกา สุนทรไชยกุล และคณะ. (2552). พฤติกรรมการการบริโภคอาหารและน้ำของประชาชนไทย 2553.วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ.

บุญทิวา สิมะสุวรรณรงค์. (2554). การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของสารหนูและทองแดงในดิ้นชั้นบนและการประเมินความเสี่ยงสุขภาพบริเวณจังหวัดระยอง. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(เทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปัตพงษ์ เกษตรสมบูรณ์และคณะ. สารเคมีอันตราย ภัยคุกคามต่อสุขภาพคนไทย.

แผนนโยบายด้านสาธารณสุข นนทบุรี.สถาบันวิจัยระบบทางด้านสาธารณสุข; 2547.

ปิยวัฒน์ สายพันธ์. (2551). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการได้รับสารหนู.

ปัญจ์ปพัชรภรบุญพร้อมและเพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์. (2555). การประเมินความเสี่ยงของสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัย. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ.

ประภาเพ็ญ สุวรรณและสวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา.

กรุงเทพฯ. เจ้าพระยาการพิมพ์, 2534

พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล. (2556). กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 2). (ฉบับปรับปรุง)กรุงเทพมหานคร : เจริญดีการพิมพ์.

รัตนาภรณ์ อาษา, กฤติเดช มิ่งไม้, จิตสุภา พาแกด, อภิสรา มุสิกาวัล และนิตยาวรรณ เจริญขำ. (2560). ภาวะสุขภาพของเกษตรกรไร่อ้อยในตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลักษณีย์ บุญขาว, โชติมา พลรักษาและจีราพร ทิพย์พิลา. (2559). การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงเตาเผาอิฐมอญแห่งหนึ่งในอำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิทญา ตันอารีย์. (2553). การประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการปลูกพืชไร่เขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2558). การบริหารการตลาดยุคใหม่.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท. ธรรมสาร จำกัด.

สราวุธ สุธรรมาสาง. (2551). The Development of Occupational Health Services in Thailand.เอกสารมติที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 มติ 6 การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ หน้า 1-3.

สมพล ทุ่งหว้า. (2553). วิธีการวิจัยทางธุรกิจและการวิจัยทางธุรกิจตามแนวแนะในเอกสารการสอนชุดวิชาวิธีการวิจัยทางธุรกิจและการวิจัยทางธุรกิจตามแนวแนะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุเทพ เรืองวิเศษ. (2551). บทความนำเสนอ ในการเวทีสาธารณะครั้งที่ 3 “Risk assessment เพื่อการจัดการสารเคมีในประเทศ”วันที่ 24 พฤศจิกายน ณ ห้องประชุม 1 สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สิริภัณฑ์ กัญญาเรืองไชยและยรรยงค์ อินทร์ ม่วง. (2554). ผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่ง แวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชิต คำภาเกาะ. (2546). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลโสกนกเต็น อำเภอ พล จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, สาขาสาธารณสุขศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม

สายน้ำผึ้ง บุญวาที.พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอันตรายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].มหาลัยบูรพา;2553.

อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. (2552). การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ.

พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Paustenbach. (1997). An exposure study of bystanders and workers during the installation and removal of asbestos gaskets and pickings. J Occup Environ Health 3: 87-98

Thomas T. Shen at. (1993). Further follow-up study of workers from and asbestos cement factory. British Journal of Industrial Medicine 39(3): 273-276.

World Health Organization (2002). The world health report 2002 - Reducing Risks, Promoting. Healthy Life. June 2015, จากhttp://www.who.int/whr/2002/en/.

ดาวน์โหลด