บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้วยวงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ในพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา  -

นางสาวปริตา สวนดง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย
    -. ประทาย. นครราชสีมา. (2563)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) เก็บข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา โดยวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA เป็นแผนปฏิบัติ 4 ขั้นตอน เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเรียกเก็บสินไหมอัตโนมัติ e-claimให้มีความครบถ้วน มีประสิทธิภาพประสิทธิผล เกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ หน่วยบริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการรพ.สต.และเจ้าหน้าที่รพ.สต. ทั้ง 13 แห่ง ในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 61 คน

ผลการวิจัยพบว่าหลังการพัฒนาศักยภาพผู้อำนวยการ รพ.สต. และเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.ด้วยวงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA รูปแบบการดำเนินงานระบบเรียกเก็บสินไหมอัตโนมัติ e-claim 4 ขั้นตอนได้แก่ P: Plan การวางแผนการพัฒนาศักยภาพผู้อำนวยการ รพ.สต.และเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. D: Do ดำเนินการปฏิบัติตามขั้นตอนตามระบบเรียกเก็บสินไหมอัตโนมัติ หรือ e-claim 6 ขั้นตอน C: Check การตรวจสอบติดตามเก็บรวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการและA: Action สรุปปัญหาอุปสรรคแนวทางแก้ไขและปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานแตกต่างกับก่อนการพัฒนาศักยภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value=0.05

ข้อเสนอแนะการปฏิบัติการวิจัย สำนักงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ควรให้ความสำคัญกับการกำหนดเป็นนโยบาย มีการจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้อำนวยการ รพ.สต. และเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต.ตามความเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจการดำเนินงานสู่ประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเชื่อมระบบฐานข้อมูลผู้ประสบภัยจากรถ e claimกับข้อมูลการให้บริการสุขภาพ Hosxp เพื่อความสะดวก ครบถ้วน ทันเวลาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรมีการทบทวนฟื้นฟูความรู้เชิงปฏิบัติการ และนำรูปแบบไปใช้เพื่อให้การเรียกเก็บสินไหมอัตโนมัติ e claim ระบบ 6 ขั้นตอน มีประสิทธิภาพประสิทธิผล และควรมีการศึกษาด้านความรู้ ทัศนคติ ต่อการปฏิบัติงาน ของผู้อำนวยการ รพ.สต.และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง ยั่งยืน


คำสำคัญ : รูปแบบการเรียกเก็บสินไหมอัตโนมัติ e claim, วงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA

The action research is the collect data before and after the workshop. In order to develop a medical fee collection model according to the protection act car victims sub-district Health Promotion Hospital in PrathaiDistrict Nakhon Ratchasima By develop a medical expense billing model from the protection for motor vehicle accident victims act byquality management Deming Cycle: PDCA. Make a 4-step action plan. The results of the study will be used as a guideline for the implementation of automatic claim collection e-claim to be complete and effective Is a useful job for the people who had an accident from the car, for director of public health or sub-district health promotion hospital, chooss the purposive sampling, 61 people executives and staff in sub-district health promotion hospital of PrathaiDistrict Nakhon Ratchasima Province.

The results showed that the director of public health and staff in sub-district health promotion hospital that has been developing potential by quality management Deming Cycle: PDCA. There are 4 types of automated collection systems e-claim, P: Plan, Director development plan hospital and sub-district health promotion hospital. D: Do implement the procedures according to the automated collection systems 6 step e-claim. C: Check, follow up, collect problems, obstacles in operation and A: Action summary of problems, obstacles, solutions and operational success factors is different from before the potential development With statistical significance P-value = 0.05

Suggestions research practice district public health office should be defined as a policy, create a curriculum to develop the potential of the director of public health and staff in sub-district health promotion hospital that is suitable for the role responsibility and have ongoing public relations to the people and the community have understanding of operations

Suggestions for research, There should be a study of linking the car accident database system

e claim to match Hosxp health service information for completeness, timeliness. Subdistrict health promotion hospital should have a revision of practical knowledge and apply form to allow of automated claim collection systems, 6 steps to be effective and should have a study of knowledge, attitude towards work of the director of public health and the staff

in sub-district health promotion hospital for sustainable development


keywords : automated collection systems e-claim, quality management Deming Cycle: PDCA.

อ้างอิง


Basu R. Implementing Quality–A Practical Guide to Tools and Techniques. London:

Thomson Learning, 2004.

Deming, W.E. PDCA cycle a quality approach. Cambridge: MA MIT. 1993.

Greenwood & Levin, M. Introduction to action research, social research for social

change (2nd edn). Thousand Oaks, CA: Sage. Habermas, J. 2007.

Holloway, Immy, Qualitative research in nursing.111.Title,[DNLM: 1.NursingResearch-

methods, 2. Health Services Research - methods, WY 20.5 H75q. 2010.

Holter, I.M., and Schwartz - Barcott, D. Action Research: What is it? How has it been

usedand how can it be used in nursing? Journal of Advanced Nursing 1993:128;

298-304, 1993.

Kurt Lewin. Frontiers in Group Dynamics: II. Channels of Group Life; and how can

it be used in nursing? Journal of Advanced Nursing 1993: 128; 298-304, 1947.

Rolfe. Qualitative Research In Health Care. Copylight, Immy Holloway 2005. New

York, USA. pp221, 1996.

Sokovic M, Pavletic D andKern Pipan K. Faculty of Mechanical Engineering. Vukovarskaia :

University of Ljubljana, University of Rijeka, 2010.

Streubert & Carpenter. Qualitative Research in Nursing: Advancing the Humanistic

Imperative. MPS limited, A Macmillan Company. pp. 56-67, 1999.

กระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคระดับชาติปี 2554-2558.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สามเจริญพาณิชย์: กรุงเทพ, 2554.

กาญจนา เลิศวุฒิ, วันเพ็ญ โพธิยอด และชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทาง

ถนนโดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน, ลำพูน, 2558: 46-59.

ฐิตินันท์ อินทรปาลิต. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535

ศึกษากรณีค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช. 2556.

นงพรรณ พิริยานุพงศ์. คู่มือวิจัยและพัฒนา: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.

พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี, 2546.

เบญญาภา ปันจินะ. ประสิทธิผลการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติ

คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเชื่อมระบบ e claim ของ

บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด กับระบบ Hosxp ของโรงพยาบาลดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่, โรงพยาบลดอยเต่า. เชียงใหม่, 2559.

วุฒิชัย นิลาวงษ์. ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535. วิทยานิพนธ์

ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร, 2558.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

ยะลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น, 2556.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แนวทางปฏิบัติการของการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของ

ผู้ประสบภัยจากรถ. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี, 2558: 1.

สุวิทย์ ศุภวิโรจน์เลิศ.การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบเรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยใน กรณีศึกษา

โรงพยาบาลสิรินทร จังหวัดขอนแก่น, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น, 2560.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่ การปฏิบัติ

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. พระราชบัญญัติคุ้มครอง

ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมกฎกระทรวงประกาศกระทรวง. กระทรวง

พาณิชย์. กรุงเทพมหานคร, 2535.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย. รายงานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (HDC) อำเภอประทาย

ปี 2562. เอกสารประกอบการตรวจราชการอำเภอประทาย ปี 2562. นครราชสีมา,

2562.

สำนักนายทะเบียนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ. คู่มือตีความกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.). กรุงเทพมหานคร,

2559.

อารมย์ โกงเหลง และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. การรับรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ศ.2535 ของเยาวชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(7). นครศรีธรรมราช, 2557: 227-228.



ดาวน์โหลด