บทความวิจัย



ความรู้และเจตคติเกี่ยวกับโรค COVID-19 ของผู้มารับบริการทางทันตกรรม ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา  -

นางสมถวิล บ่ายกระโทก
    -. โชคชัย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติเกี่ยวกับโรค COVID-19 ของผู้มารับบริการทางทันตกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มประชากรผู้มารับบริการทางทันตกรรมที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขี้ตุ่น ตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เรื่องเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 และแบบวัดเจตคติเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยนำแบบสอบถามจำนวน 10 ชุดมาให้คะแนนและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น โดยคำนวณจากสูตรของครอนบาช (Cronbach’s Coefficient +Alpha) มีค่าด้านความรู้เท่ากับ 0.60 และมีค่าด้านเจตคติเท่ากับ 0.65 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.2 ระดับสูง ร้อยละ 37.5 ระดับต่ำ ร้อยละ 11.3 และมีเจตคติเกี่ยวกับติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 65.0 ปานกลาง ร้อยละ 35.0


คำสำคัญ : ทันตกรรม

-

keywords : -

อ้างอิง


กชมัง สมมัง. (2557). วารสารสาธารณสุขศาตร์. มกราคม – เมษายน 2557 ปีที่ 37 เล่มที่ 126 ศึกษา

เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ของผู้รับบริการงานผู้ป่วย

นอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

สัญญา สุปัญญาบุตร. (2554). สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น ปีที่ 18 ฉบับที่ 2

กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2554 วิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

ชนิด A (2009 H1N1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

Front Public Health. 2020 May 27;8:217. doi: 10.3389/fpubh.2020.00217. eCollection 2020.

Knowledge, Attitude and Practice Toward COVID-19 Among the Public in the Kingdom of

Saudi Arabia

Latiffah A Latiff และคณะ. (2012). ศึกษาเรื่อง สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส Influenza A

(H1N1) และการป้องกันการแพร่ระบาด

Pornpat Poonaklom และคณะ. (2020). ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติด

เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในกลุ่มประชาชนชาวกาฬสินธุ์ ประเทศไทย

Mohammed K. Al-Hanawi และคณะ. (2020) ; 8: 217. เผยแพร่ออนไลน์ 2020 พฤษภาคม 27. doi:

10.3389/fpubh.2020.00217 PMCID: PMC7266869 PMID: 32574300 ทำการศึกษาเรื่อง ความรู้

ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของ

ประชาชนในประเทศซาอุดิอาระเบีย

Omer Evirgen และคณะ. (2014). Health knowledge, attitudes, and behaviors concerning H1N1 J

Infect Dev Ctries 2014; 8(5):561-569. ศึกษาเรื่อง การประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม

ของลูกจ้างในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ประเทศตุรกี

Shuangsheng Wu และคณะ. (2016). ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมสุขอนามัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการป่วย

คล้ายไข้หวัดใหญ่(หมายถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไต หอบหืด เป็น

ต้น) กับผู้ป่วยโรคอื่นๆที่มารับบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

จังหวัดนครสวรรค์

Shuangsheng Wu และคณะ. (2016). ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมสุขอนามัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการป่วย

คล้ายไข้หวัดใหญ่ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจในประชากรวัยผู้ใหญ่ มณฑลเป่ย์จิง ประเทศจีน



Yuan J, Zhang L, Xu W, Shen J, Zhang P, Ma H. 2552 ก.ค.;137(7):988-93. ดอย:

10.1017/S0950268809002726. Epub 2009 11 พฤษภาคม PMID: 19426571 ศึกษารายงานการ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของชาวเมืองจีนเพื่อตอบสนองต่อการระบาดใหญ่

ของไข้หวัดใหญ่

Zhonggen Sun และคณะ. (2020).ส.ค. 13;17(16):5889. ดอย: 10.3390/ijerph17165889. ศึกษาปัจจัยที่

มีอิทธิพลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และพฤติกรรม

ตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาดของโรค

Benjamin, S Bloom. 1986. ‘Learning for mastery’. Evaluation comment. Center for the

study of instruction program. University of California at Los Angeles. Vol 2 :47-62.



ดาวน์โหลด