บทความวิจัย



การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนแองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานใน คลินิก NCD โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองกลาง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา  -

นาง สุชาดา สิทธิวงศ์
    -. โชคชัย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้สูงอายุและเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองจำแนกตามปัจจัยต่างๆ ของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลคลองกลาง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวาน และอาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลคลองกลาง ที่มารับบริการในคลินิก NCD โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลองกลาง จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ 1ข้อมูลทั่วไป 2 ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน 3. การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวาน 4. ทัศนคติต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวานซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่าง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ถึงเดือน 31 สิงหาคม 2565วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานได้แก่ Independent t-test และ ANOVA

ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูง ร้อยละ 65.5 และร้อยละ 10.9 ตามลำดับ ทัศนคติของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลางและระดับดี ร้อยละ 35.5 และร้อยละ 63.6 ตามลำดับ การปฏิบัติตัวอยู่ในระดับปาน กลางและระดับดี ร้อยละ 32.7 และร้อยละ 66.4 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควร จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นการปฏิบัติตัว ความเข้าใจในการปฏิบัติตัว จัดบุคคลตัวอย่างที่มีพฤติกรรมดี เป็นต้นแบบให้พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพฤติกรรมที่ดีเฉพาะเป็นรายบุคคล


คำสำคัญ : โรคเบาหวานใน คลินิก NCD

-

keywords : -

อ้างอิง


สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2556c). หวานเกิน. โรงพิมพ์สำนักงาน

พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2556.



สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวพัฒนาการดำเนินงานคลินิก

NCDคุณภาพ(โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง)ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

(รพ.สต.) ปี งบประมาณ 2558. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด, 2558.



สำเริง แหยงกระโทก และรุ่งจิรา มังคละศิริ. คู่มือการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน (หน่วยบริการปฐมภูมิ:

PCU) หนทำงสูงระบบบริการที่พึงประสงค์. นครราชสีมา: ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสาธารณสุข

นครราชสีมา สํานักงานสาธารณสุข จังหวดนครราชสีมา; 2550.



อภิชาติ กตะศิลา. การใช้สมุดบันทึกข้อมูลทำงคลินิกร่วมกับการสนับสนุนจากเพื่อนต่อพฤติกรรมการ

ดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอ

อารีย์ สงวนชื่อ และ ปณิธาน กระสังข์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์

รวมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี;

2560.



Audet, C. M. A Comparison of Quality of Life in Traditional Face-to-Face and Internet-based

Diabetes Social Support Group Participants. Ann Arbor: United States; 2013.



Benjamin,S Bloom. 1986. Leaning for mastery,Evaluation comment.Center for the study of

instruction program. University of California at Los Angeles. Vol 2 : 47-62.



Knowler, W. et al. Reduction in the incidence of type 2 diabetes with lifestyle. N Eng J Med, 2002;

393–403.



ดาวน์โหลด