บทความวิจัย



การเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ก่อนและหลังการให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคโคโรนาไวรัส(Covid-19) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  -

นายปรีชา นงโลหะกุล
    -. โชคชัย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ก่อนและหลังการให้ความรู้ในการป้องกัน ควบคุมโรคโรนาไวรัส โควิด-19 (Covid-19 ) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอโจด อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน จากความสมัครใจ จากทั้งหมด จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 5 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ การป้องกันควบคุมโรคโคโรนาไวรัสโควิด-19(Covid-19 ) ความพึงพอใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีความเชื่อมั่นของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.82 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ความรู้กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง วันที่ 1 สิงหาคม 2565 วิเคราห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ(Dependent or Paired samples t-test) ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

ก่อนให้สุขศึกษากลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 (Covid-19) มี คะแนนความรู้เฉลี่ย 11.31 หลังให้สุขศึกษา มี คะแนนความรู้เฉลี่ย 12.97

ก่อนให้สุขศึกษากลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะเกี่ยวกับ การป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 (Covid-19) มีคะแนนทักษะเฉลี่ย 41.94 หลังให้สุขศึกษา มี คะแนนทักษะเฉลี่ย 42.59

ก่อนให้สุขศึกษากลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทัศนคติเกี่ยวกับ การป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 (Covid-19) มี คะแนนทัศนคติเฉลี่ย 34.13 หลังให้สุขศึกษา มี คะแนนทัศนคติเฉลี่ย 34.72

เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ก่อนและหลังการศึกษาพบว่ามีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความพึงพอใจต่อผู้ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 (Covid-19) อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก


คำสำคัญ : การควบคุมป้องกันโรคโคโรนาไวรัส(Covid-19)

-

keywords : -

อ้างอิง


ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพรเนาว์สุวรรณ์, และนภชา สิงห์วีรธรรมศึกษา เรื่องการรับรู้ และพฤติกรรมการ ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19

ฮูดา แวหะยี2563() ศึกษาเรื่องการรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่น ในเขตตบลสะเตงนอกา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ดรัญชนก พันธ์สุมา1, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา2*ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนใน ตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Benjamin, S Bloom. 1986. ‘Learning for mastery’.Evaluation comment. Center for the

Study of instruction program. University of California at Los Angeles. Vol 2 : 47-62.

Cohen , J and Cohen,P. 1983 Applied multiple regression/correlation. Analysis for theBehavioral sciences. (2 nd ed.) New Jersy: Lawrence Erlbaum Associates.



ดาวน์โหลด