บทความวิจัย



การศึกษาคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลสนามปากช่องนานา  A Study of the Quality of chest Radiographs in COVID-19 Patients at Pakchongnana Field Hospital

ประไพพิศ พรมมา
    วารสารอิเล็กทรอนิกส์วิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565). ปากช่อง. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกและประเทศไทยรวมทั้งที่อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ มีอาการระบบทางเดินหายใจ ภาพถ่ายรังสีทรวงอกมีความสำคัญในการวินิจฉัยและประเมินภาวะปอดอักเสบจากโควิด-19 เพื่อใช้ในการคัดแยกกลุ่มผู้ป่วยสำหรับการบริหารจัดการและดูแลรักษาผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาในโรงพยาบาลสนามปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2565 จำนวน 291 ราย โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและระบบจัดเก็บภาพถ่ายรังสี โรงพยาบาลปากช่องนานา ประเมินภาพถ่ายรังสีโดยรังสีแพทย์ จากการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาในโรงพยาบาลสนามปากช่องนานาและถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่า Posteroanterior (PA) เป็นชาย 102 ราย (ร้อยละ 35.5) หญิง 189 ราย (ร้อยละ 64.95) มีอายุระหว่าง 8 ถึง 92 ปี เฉลี่ย 48.74±22.36 ปี น้ำหนักตั้งแต่ 34 ถึง 150 กิโลกรัม เฉลี่ย 71.1±21.47 กิโลกรัม ส่วนสูงตั้งแต่ 95 ถึง 195 เซนติเมตร เฉลี่ย 160.13±9.83 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 15.11 ถึง 56.19 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เฉลี่ย 27.52±7.16 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีโรคประจาตัว 119 ราย (ร้อยละ 40.89) ไม่มีโรคประจาตัว 172 ราย (ร้อยละ 59.11) และผล การประเมินภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 291 ภาพ อยู่ในเกณฑ์ดีมากจานวน 288 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 98.97 และอยู่ในเกณฑ์ดีจำนวน 3 ภาพคิดเป็นร้อยละ 1.03 ค่าเฉลี่ย 2.77±0.14 จากผลการศึกษา ทำให้มั่นใจได้ว่าภาพรังสีทรวงอกที่ได้ ช่วยให้แพทย์สามารถคัดแยกผู้ป่วยเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามเกณฑ์ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

คำสำคัญ : โควิด-19; ภาพถ่ายรังสีทรวงอก; คุณภาพ

อ้างอิง


[1] ศรสุภา ลิ้มเจริญ, จิตราพร อินทรารักษ์. ภาพวินิจฉัยทางรังสีวิทยาในผู้ป่วยโควิด-19. บูรพาเวชสาร 2563; 7(1):103 – 12.

[2] อนุตรา รัตน์นราทร. ลักษณะทางคลินิกและภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากโควิด 19 ที่สถาบันบาราศนราดูร. วารสารควบคุมโรค 2563; 46(4): 540 - 50.

[3] ฐิติพร สุวัฒนะพงศ์เชฏ, ชญานิน นิติวรางกร, วราวุฒิ สุขเกษม, สิทธิ์ พงษ์กิจการุณ. Rama Co-RADS: เกณฑ์คัดแยกระดับความผิดปกติจากภาพรังสีทรวงอกสำหรับการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยยืนยันโควิด-19. วารสารรามาธิบดีเวชรสาร 2564 ; 44(2): 50 – 62.

[4] วริสรา กิตติวพงษ์กิจ. การดำเนินโรคและการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวที่พบในภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่โรงพยาบาลพะเยา. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2564; 12(1) : 149 – 67.

[5] ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจทางรังสี ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.rcrt.or.th/wp-content/ uploads/2020/04/แนวทางการตรวจทางรังสี-ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ-COVID-19-แก้ไข.pdf

[6] European Guidelines on Quality Criteria for Diagnostic Radiographic Images. Brussels, European Commission; 1996.

[7] Stephen M. Ellis, Christopher Flower. The WHO manual of diagnostic imaging [Internet]. World Health Organization. 2012[cited 2022 Jul 6]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item /9241546778

[8] ปรีชา เติมจิตรอารีย์. เอ็กซเรย์เทคโนโลยี่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2533.

[9] วรรณพร บุรีวงษ์. รังสีวิทยาระบบทางเดินหายใจ[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://med.swu.ac.th /radiology/images/stories/Education/chest%20%20cvs%202014.pdf

[10] อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร 2561; 44(1): 36 – 42.

[11] วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพ ฯ : กองการวิจัย สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2538.

[12] สกันยา โกยทรัพย์สิน. ลักษณะภาพถ่ายรังสีปอดของผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลป่าตอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): 26 – 32.

ดาวน์โหลด