บทความวิจัย



การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อในกระเเสเลือด:กรณีศึกษา  Nursing Care of Pneumonia Patient with Sepsis : A case study

จันจิรา กุยแก้ว
    วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565. ปากช่อง. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายไทย อายุ 72 ปี 5 วันก่อนมาโรงพยาบาลมี ไอมีเสมหะขาว ใส ไม่เจ็บคอ 2 วันก่อนมาโรงพยาบาลมีไข้ ไอมีเสมหะเหลือง เหนียว หายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น ญาติจึงนาส่งโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย Pneumonia with Sepsis รับไว้รักษา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ได้รับออกซิเจนด้วย High-flow nasal cannula (HFNC)ได้ให้พยาบาล ระยะวิกฤต ป้องกันภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากการติดเชื้อของปอด ต้องได้รับออกซิเจนด้วย HFNC เพื่อเพิ่มออกซิเจนในร่างกายและป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ ระยะกึ่งวิกฤต เมื่อผู้ป่วยตอบสนองต่อการได้รับออกซิเจนด้วย HFNC ต้องสังเกตภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากออกซิเจนเป็นพิษ เมื่ออาการดีขึ้นเริ่มระยะฟื้นฟู ดูแลหย่าเครื่อง HFNC และ ลดความกังวลของผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับโรค อาการ และแผนการรักษาของแพทย์ เตรียมวางแผนระยะจาหน่ายโดยให้ความรู้ และการปฏิบัติตัวได้ถูกต้องหลังจาหน่ายตามหลัก D-METHOD รวมจานวนวันนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 7 วัน และจากการติดตามผลการรักษาพบว่าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

บทบาทของพยาบาลที่ ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมมีส่วนสำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะวิกฤตฉุกเฉิน ระยะกึ่งวิกฤต ระยะฟื้นฟู และระยะวางแผนจาหน่าย เพราะแต่ละระยะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลเรื่องการประเมินภาวะ pneumonia รวมถึงการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ sepsis อย่างชานาญ นาไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วย แต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี


คำสำคัญ : ปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด การพยาบาล

อ้างอิง


1.Perara T.Pulmonary emergencies in the elderly.In: Kahn J H, Magauran BG, Olshaker JS, editors.

Geriatric emergency medicine : principles and practice.New York: Cambridge University Press;

2014.185-197

2.กนก พิพัฒนเวช. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มี sepsis ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์.วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและบาบัดวิกฤต 2551; 29, 135-144.

3.สรุปผลงานรอบ 9 เดือน ปี 2563 สาขาโรคติดเชื้อและ Pneumonia.แหล่งข้อมูลhttps://r8way.moph.go.th/r8wayadmin/page/uploads_file/20200716114714.pdf. (internet).(เข้าถึง

เมื่อ 5 กค .2565)

4.กัญญารัตน์ ภู่ศรี และคณะ.การศึกษาเฉพาะกรณี Septicemia/Sepsis เอกสารประกอบการเรียนวิชาปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2562.

5.จิรภา ละอองนวล.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ.โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร.29 (1) (ม.ค.-มิ.ย. 2563) 15-24.

6.ธนรัตน์ พรศิริรัตน์ และสุรัตน์ ทองอยู่.การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนและได้รับการรักษาด้วยHigh flow nasal cannula.เวชบันทึกศิริราช 2563, 13(1) 60-68.

ดาวน์โหลด