บทความวิจัย



การพัฒนาแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาล ผู้ป่วยในพิเศษ โรงพยาบาลปักธงชัย  -

นางกรณิการ์ กันยาโม้*,นางสาวแสงเดือน แซ่มชู* และนางดรุณี คุณวัฒนา*
    -. ปักธงชัย. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


จากการเกิดอุบัติการณ์ของการให้บริการทางการแพทย์ไม่ครบถ้วนจากการรับส่งเวรของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยในพิเศษ โรงพยาบาลปักธงชัย เช่น เตรียมข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ได้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ได้เตรียมตรวจพิเศษต่าง ๆ จึงสนใจศึกษาสถานการณ์และพัฒนาแนวทางการรับส่งเวรของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยในพิเศษ โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 1) ศึกษาสถานการณ์การรับส่งเวรทางการพยาบาล แผนกผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลปักธงชัย 2) ประชุมและพัฒนาแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาล 3) นำแนวทางการรับส่งเวรพยาบาลไปปฏิบัติ 4) สรุปและสะท้อนผลการพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยพิเศษจำนวน 6 คน โดยการสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับส่งเวรของพยาบาลไม่มีรูปแบบในการรับส่งเวรที่ชัดเจน รับส่งเวรตามประสบการณ์เรียนรู้ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ลำดับขั้นตอนการรับส่งเวรแตกต่างกัน บางครั้งเป็นข้อมูลเดิมที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งผู้รับเวรทราบแล้วและข้อมูลไม่ครบถ้วนครอบคลุม ขาดการส่งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ต้องสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ใช้ระยะเวลานานขึ้นในการรับส่งเวร 2) นำหลักการสื่อสารระหว่างทีมสหวิชาชีพ (SBAR) ร่วมกับการบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus charting พัฒนาเป็นแนวทางการรับส่งเวร 3) การนำไปปฏิบัติพบว่า ความครอบคลุมครบถ้วน ร้อยละ 80.2 ระยะเวลาการส่งเวรใช้เวลามากกว่า 5 นาที/เคสในผู้ป่วยประเภท 3ขึ้นไป จึงได้ประยุกต์หลักการของ lean management เพื่อให้การรับส่งเวรมีลำดับที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ครอบคลุมบริการทางการแพทย์และการพยาบาลทั้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสำคัญของผู้ป่วย 4) พบว่า ความพึงพอใจของพยาบาล 6 คนมีความพึงพอใจ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ไม่พบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นแนวทางการรับส่งเวรของพยาบาลที่พัฒนาขึ้นช่วยให้การส่งต่อข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยครอบคลุม ขั้นตอนชัดเจน ทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิผล เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ดังนั้นควรมีการขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นต่อไป




คำสำคัญ : แนวทางการรับส่งเวร,การพยาบาล,ผู้ป่วยใน

อ้างอิง


กฤษณา สิงห์ทองวรรณ. (2558). การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วย อายุรกรรม

โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทร์จิรา หาญศิริมีชัย. (2558). การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วย

นรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เดชชัย โพธิ์กลิ่น. (2558). ผลของการรายงานเปลี่ยนเวรโดยใช้รูปแบบ SBAR ต่อความพึงพอใจใน

การสื่อสาของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญา

พยาบาลศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2559). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อวันที1กันยายน2563,จากhttps://principlesandtheoriesofcommunication.

wikispaces.com

รัตนา จารุวรรโร, จารุภา วงศ์ช่างหล่อและถนิมพร พงศานานุรักษ์. (2557). “ผลของการสอนการ

รับส่งเวรโดยใช้เทคนิค SBAR ต่อความรู้ทัศนคติและทักษะในการรับส่งเวรของ

นักศึกษาพยาบาล”. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (3), 390-397.

สุระพรรณ พนมฤทธิ์ และสุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2543). กระบวนการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี:

ประชุมการช่าง.

ดาวน์โหลด