บทความวิจัย



การพัฒนาระบบการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน  Long Term Care Service System Development for Dependent Elders in Community

รุ่งลาวัลย์ รัตนพันธ์
    วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 15 ฉบับที่ 37 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564 Regional Health Promotion Center 9 Journal Vol. 15 No. 37 May-August 2021. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2564)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนาระบบการจัดบริการดูแล

ระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ยางใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ได้แก่

ผู้ให้บริการประกอบด้วย ทีมหมอครอบครัว 6 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Elderly caregiver) 10 คน และเจ้าหน้าที่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน ผู้รับบริการคือ ผู้สูงอายุหรือญาติผู้สูงอายุ 13 คน เก็บรวมรวมข้อมูล

เชิงปริมาณด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ

โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่

ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ดำเนินการระหว่าง 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลา 9 เดือน ผลการศึกษาพบว่าก่อน

การพัฒนา ไม่มีระบบการจัดบริการระยะยาวด้านสาธารณสุขที่ชัดเจน ผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่มีแนวทางการทำงาน

ที่เหมาะสม ไม่เป็นที่รู้จักของชุมชนและขาดความมั่นใจในการทำงานในชุมชน หลังพัฒนาระบบได้

กระบวนการจัดบริการที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) การแต่งตั้งคณะทำงาน 2) การทำแผนปฏิบัติงาน

ร่วมกัน 3) การคัดกรองขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุรายใหม่ 4) การวางแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล 5) การจัด

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ 6) การประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบการ

จัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน คือญาติและผู้สูงอายุที่เข้า

ร่วมโครงการ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ; ระบบการดูแลระยะยาว

Objectives of this action research were to study the situations and the

development of long-term care services for dependent elderly in communities at Yangyai

Tambon Health Promoting Hospital, Mueang district, Nakhon Ratchasima province. Primary

data came from 2 groups of samples with a total of 30 participants. The first group being

care service providers and was comprised of 6 family care team members, 10 elderly

caregivers, and a local administrative. The second group was comprised of 13 care service

receivers of either elderly or their relative caretakers. Quantitative data collected for this

study came from semi-structured interviews and satisfaction surveys. Qualitative data were

obtained through participant observations and knowledge sharing activities. The quantitative

data were analyzed using frequency distributions, percentages, averages, and standard

deviations. Content analyses were used for the qualitative measures. This study was

conducted from January 1st to September 30th, 2020 over a 9-month period. An initial study

revealed that the existing elderly care service system did not demonstrate a clear

procedure. Caregivers did not have appropriate practical guidelines, worked with less

confidence, and were not known of their roles by the community. Therefore, this research

developed a long-term care service with 6 procedures including: 1) establishing a working

group, 2) coordinating working plans, 3) screening and registering new dependent elderly to

the program, 4) planning care services for dependent elderly, 5) organizing knowledge

management and sharing, and 6) evaluating elderly care services. Implementation of this

developed care services showed that dependent elderly in the community and their

relatives, who are voluntarily participated in this research were satisfied with the services at

the highest level.


keywords : : Elderly; Long-term care system

อ้างอิง


1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ; 2560.

2. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

เดือนตุลา จำกัด; 2561.

3. สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร, บวรศม สีรีะพันธ์.

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สําหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด; 2561.

4. สรวงสุดา เจริญวงศ์, พรทิวา คงคุณ, นิภารัตน์ จันทร์แสงรัตน์, เพียงตะวัน สีหวาน. สถานการณ์การ

ดูแลและความต้องการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้

ของไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(2): 231-46.

5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแล

ระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพ์ครั้ง

ที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.

6. พิชิต สุขสบาย. การประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของทีมหมอครอบครัว อำเภอชัยบุรี

จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(2): 257-69.

7. Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3

rd ed. Victoria: Deakin University

Press; 1988.

8. ภาสกร สวนเรือง, อาณัติ วรรณศร, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้

ช่วยเหลือในชุมชน ภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่

มีภาวะพึ่งพิง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;10(3): 437-51.

9. ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์, อรสา กงตาล. การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะ

พึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563;

40(3): 48-65.

10. สุกัญญา ปวงนิยม, นงณภัทร รุ่งเนย, อุไรรัชต์ บุญแท้. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณา

การสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2562;

38(3): 178-95.

11. กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, ฐิติมา โกศัลวิตร, นฤมล บุญญนิวารวัฒน์. รูปแบบการดูแลระยะยาวแบบ

บูรณการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. มนุษยสังคมสาร (มสส.) 2562; 17(1): 1-19.

12. พิศสมัย บุญเลิศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ศุภวดี แถวเพีย. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่าง

ต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์

โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

2559; 27(2): 79-87.

13. ไพจิตรา ล้อสกุลทอง, วรรณภา ศรีธัญรัตน์. การพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ

ในชุมชน ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ

2557; 37(2): 1-11.

ดาวน์โหลด