บทความวิจัย



ผลของโปรแกรมโรงเรียนอ่อนหวานวิทยาขามแสงโมเดลต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา  The effect of Program Onwan Wittaya Khamsang Model School on Health Literacy level about diabetes and HbA1c of diabetic patien in Nonghuafan Sub-district Hospital, Khamsakaesaeng Nakhon Ratchasima Province

สมหมาย หาญอนุสรณ์
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหัวฟาน . ขามสะแกแสง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโรงเรียนอ่อนหวานวิทยาขามแสงโมเดลต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) ของผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 30 รายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ทดสอบความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานและส่งตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย โปรแกรม การสอนความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนตามโปรแกรมทั้งหมด 12 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ Paired-t-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานภาพรวมเฉลี่ย 77.6 (SD=±4.05) อยู่ในเกณฑ์ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) หลังการทดลอง (Mean=7.82, SD =±1.26) ต่ำกว่าก่อน การทดลอง (Mean=8.25, SD=±1.45) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) สรุปได้ว่าโปรแกรมโรงเรียนอ่อนหวานวิทยาขามแสงโมเดล ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานมากขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ลดลง


คำสำคัญ : โปรแกรมโรงเรียนอ่อนหวานวิทยาขามแสงโมเดล; ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ; ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c)

This one group pre-post test Quasi-experimental research aimed to study The effect of Program Onwan Wittaya Khamsang Model School on Health Literacy level about diabetes and HbA1c of diabetic patien in Nonghuafan Sub-district Hospital, Khamsakaesaeng Nakhon Ratchasima Province. Sample was 30 diabetic patiens who voluntarily participated in the experiment. Test health literacy level about diabetes and laboratory test HbA1c before and after experiment. Research instrument consisted of The diabetes health literacy program and the diabetes health literacy assessment questionnaire. The sample were taught by The diabetes health literacy program 12 time. Data were analyzed using Paired t-test.

Result show that the sample has mean literacy about diabetes (Mean=77.6, SD=±4.05) in good level. The mean of HbA1c (Mean=7.82, SD=±1.26) was lower than before the experiment (Mean=8.25, SD=±1.45) with statistically significant difference (p<0.0). Therefore, result of the present study sugest that program Onwan Wittaya Khamsang Model School can be diabetes patien have better health literacy about diabetes. Which results in improved blood sugar levels


keywords : Program Onwan Wittaya Khamsang Model School, Health Literacy level, HbA1c level

อ้างอิง


[1] กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานโรค NCDs เบาหวาน ความโลหิตสูงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปี 2562.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซน์; 2562.

[2] กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลมรณบัตรกองกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: บริษัท อิโมชั่นอารต์ จำกัด; 2561.

[3] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. แผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: เอกสารอัดสำเนา; 2565.

[4] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. คู่มือประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: เอกสารอัดสำเนา; 2565.

[5] สริตา คณาดี. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ. อ้างถึงหนังสือผลงานวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ: การประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ; 2555.

[6] อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้าน สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาตามหลัก 3 อ 2 ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2561; 3: 58-72.

[7] คมสรรค์ ชื่นรัมย์ บุญสิทธิ์ ไชยชนะ กรรณิกา เรืองเดช และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของโรงพยาบาลสุคิริน ด้วยเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC). วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3: 179 – 93.

[8] กมลพรรณ วัฒนากร, อาภรณ์ ดีนาน. การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556; 37: 143 - 55.

ดาวน์โหลด