บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการจัดการเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา  Nuisance management model Development According to the Public Health Act, B.E. 2535 With the community participation process In the area of Sida Subdistrict Administrative Organization Sida District, Nakhon Ratchasima Province.

ศุภชัย ปิดตานัง
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยกระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง สิงหาคม พ.ศ.2566 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ยำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและเจ้าของสถานประกอบการ จำนวน 62 คน

ผลวิจัยพบว่าปัญหาในการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญที่ผ่านมาคือชุมชนเข้าใจว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหลักเท่านั้น ความร่วมมือของชุมชนจึงเกิดขึ้นน้อยและช่องทางของการร้องเรียนมีจำกัด ทำให้ผลของการแก้ไขปัญหายังไม่ชัดเจนและมีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับสถานประกอบกิจการ ก่อนดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ที่ถูกต้องอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 100 มีทัศนคติที่ถูกต้องอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 98.4 และมีความพึงพอใจในการจัดการเหตุรำคาญอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 85.5 ส่วนหลังการดำเนินงานมีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 มีทัศนคติที่ถูกต้องอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ95.2 และความพึงพอใจในระดับสูง ร้อยละ 51.6 พบว่าค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังการดำเนินงาน และความพึงพอใจก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) แต่ทัศนคติ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ รูปแบบของการดำเนินงานที่ได้คือ SIDA Model ดังนั้น ควรให้ความสำคัญเรื่องการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องของชุมชนเกี่ยวกับเรื่องเหตุรำคาญและแนวทางการแก้ไข เพื่อลดความขัดแย้งในชุมชน รวมถึงการทำงานร่วมกันของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


คำสำคัญ : เหตุรำคาญ; องค์การบริหารส่วนตำบล; การมีส่วนร่วม

research aims to develop a nuisance management model. According to the Public Health Act, B.E. 2535, with the community participation process.Conducted between January to June 2023. Purposively selected sample of 62 people from Subdistrict Administrative Organization administrators, community health volunteers, village health volunteers public health officer Subdistrict Administrative Organization members and establishment owners.

The research results found that, the problem in solving nuisance problems in the past was that the community understood that this was only the main role of the Subdistrict Administrative Organization. So, community collaburation was rare and channels for complaint are limited. The results of solving the problem are not clear and had conflict between the community and the business establishment. Before action, the sample group had correct knowledge, attitude and satisfaction with nuisance management at a low level (100,98.4 and 85.5percent respectivly). In the after action, knowledge and satisfaction was at a high level (100 and 51.6 percent respectivly) and the correct attitude was at a low level at 95.2 percent. It was found that the average of knowledge and satisfaction before and after action were statistically significant difference (p-value<0.05) but the attitudes was not statistical difference. The resulting operating model is the SIDA Model. Therefore, importance should be given to creating knowledge, understanding about of nuisances and solutions in community for reduce conflict in the community and including the collaburation of community and related agencies.


keywords : Nuisance; Subdistrict Administrative Organization; Participation

อ้างอิง


[1] สุภัชญา สุนันต๊ะ. กระบวนการแก้ปัญหาเหตุรำคาญ:กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2562; 5(1) มกราคม–มิถุนายน : 1 – 11.

[2] กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานสถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2563. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย; 2564.

[3] รติยา อินทเกษ และ เอกรัฐ เหาะเหิน. ประสิทธิผลมาตรฐานสถานประกอบ การเพื่อสุขภาพจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2565;8(2) กรกฎาคม – ธันวาคม : 104 – 12.

[4] สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. รายงาน การประชุมกรมการจังหวัดนครราชสีมา เดือน ธันวาคม. นครราชสีมา : สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา; 2566.

[5] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2565.

[6] ปาริชาติ ฤกษ์พิพัฒน์พงศ์. การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการจัดการปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ:กรณีศึกษาเหตุเดือดร้อนรำคาญ เทศบาลนครระยอง. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2564.

[7] องค์การบริหารส่วนตำบลสีดา. ข้อมูลทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลสีดา. นครราชสีมา : องค์การบริหารส่วนตำบลสีดา; 2565.

[8] Cohen and Uphoff. Participation place in rural development: Seeking clarity through specificity. [Online]. (1980). [eited 20 December 2022]. Available : https:// scholar.google.co.th/scholar?q=cohen+and+uphoff+(1980)&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholart )

[9] Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University; 1988.

[10] Bloom.B.S. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment (Vol. 1). Losangeles: University of California at Los Angeles; 1968.

[11] ปาจรีย์ สำราญจิตต์ และคณะ. กระบวนการใช้กฎหมายระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครรังสิต. Public Health & Health Laws Journal 2560; 3(3) September - December : 306 – 20.

[12] พัฒน์รพี กีรติพีรพงศ์. การจัดการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ประกอบการในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2559; 39(4) (ตุลาคม - ธันวาคม) : 80 – 92.

[13] สิริกร นามลาบุตร และวรานิษฐ์ ลำไย. การประเมินประสิทธิผลของมาตรการระดับประเทศด้านสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ในจังหวัดหนองคาย. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2561.

ดาวน์โหลด