บทความวิจัย



รูปแบบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  Competency model of professional nurses for outpatient department at Phimai Hospital, Nakhon Ratchasima Province

วรญา แนบกลาง
    โรงพยาบาลพิมาย . พิมาย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


สมรรถนะ เป็นความสามารถของบุคคลที่สามารถวัดได้จากผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ การทำงานมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา เพื่อพัฒนารูปแบบและองค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพิมาย จำนวน 16 คน คัดเลือกแบบเจาะจงทั้งหมด รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ และแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นถึงความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาคเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ One sample

t-test

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพิมาย ประกอบด้วยสมรรถนะ 8 ด้าน ภาพรวมสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำการอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.41, S.D=0.26) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านกฎหมาย จริยธรรมและการพิทักษ์สิทธิ์, ด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรมบริการ และด้านการปฏิบัติการพยาบาล ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน ด้าน การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือ ด้านการคัดกรอง ด้านวิชาการและการวิจัย เมื่อทดสอบเปรียบเทียบคุณลักษณะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกที่ต่างกัน ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานที่แผนกผู้ป่วยนอก และการฝึกอบรม มีคะแนนประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพไม่แตกต่างกัน และพยาบาลวิชาชีพประจำการผู้ป่วยนอกให้ความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) สรุปได้ว่า รูปแบบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำการ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกนี้ ผู้บริหารสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารทางการพยาบาล ทั้งในด้านการพัฒนาสมรรถนะและประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้คุณภาพทางการพยาบาลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


คำสำคัญ : สมรรถนะ; พยาบาลวิชาชีพ; งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก

The competence refers to an individual ability to improve work efficiency as evaluated by job performance. The purpose of this study was to examine the model and components of professional nursing competence among the outpatient department at Phimai Hospital in Nakhon Ratchasima province. The sample group for this study was 16 professional nurses working with outpatient patients at Phimai Hospital. selected by purposive sampling and data was collected from October to December 2022, The research tools was the professional nursing competence handbook for outpatient department, the professional nursing competence assessment questionnaire, and a survey regarding perceptions of the importance of professional nursing competence. Content validity was verified by an expert, content consistency of 0.82 and reliability was calculated by Cronbach alpha of 0.88. Data was analyzed using descriptive statistics, one sample t-tests

The research findings revealed that the competency model of professional nurses in the outpatient department at Phimai Hospital consists of eight aspects. Overall, the professional nursing competency level was high (X ̅=4.41, S.D.=0.26). Upon analyzing each aspect, the aspects with the highest level of competency were legal, ethical, and advocacy aspects, personality and service behavior and nursing operations, and the high level of competency were communication and coordination, The use of technology and tools, the screening aspect and the academic and research aspects. When comparing the professional characteristics of nurses working in different outpatient department were age, job longevity, position level, work experience, and training, there were no differences in their professional nursing competency level. Overall, The professional nursing gave importance to the competency was high level, statistically significant (p ≤ 0.05). In conclusion that this competency model of professional nurses for outpatient department can be used as a guideline for nursing management, both in terms of competency development and job performance evaluation, to improve the efficiency and effectiveness of nursing quality.


keywords : Self-care Ability; Health-Quality of Life; Stroke Patients

อ้างอิง


[1] ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562. ลงวันที่ 18 เมษายน 2562. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 97 ง หน้า 30-36. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าได้จาก https://apps.hpc.go.th/dl/ web/index .php?r=download%2Fview&id=717

[2] สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

[3] Marrelli, A. F., Tondora, J., & Hoge, M. F. Strategies for developing competency model. Administration and Policy in Mental Health 2005; 32(5): 533 – 61.

[4] ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง สมรรถนะหลักของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลขั้นสูงระดับวุฒิบัตรและได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการพยาบาลเฉพาะทางสาขาพยาบาลศาสตร์. ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าได้จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfile s/files/004.pdf

[5] วิปัศยา คุ้มสุพรรณ บุญพิชชา จิตต์ภักดี และกุลวดี อภิชาตบุตร. การพัฒนากรอบสมรรถนพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1); 138 – 47.

[6] Benner, P. From novice to expert. American Journal of Nursing. [online]. (1984). [15 May, 2022] Available from https://nursing-theory.org/nursing-theorists/Patricia-Benner.php

[7] Krejcie, R.V., Morgan D.W. Determining Sample Size for Research Activities. Psycholological measurement; 1970

[8] พัชรินทร์ ชีวสาธน์. สมรรถนะพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

[9] Best, J.W. Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy: Printice-Hall; 1970.

[10]สุรีพร ดวงสุวรรณ์ พูลสุข หิงคานนท์ ปกรณ์ ประจันบาน และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะในการปฏิบัติงานกับคุณภาพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(2): 67 – 77.

[11] นัดดา รุ่งเดชารัตน์ สุรชาติ ณ หนองคาย และดุสิต สุจิรารัตน์. สมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วชิรสารการพยาบาล 2559; 18(2): 33 – 41.

[12] อารีรัตน์ ขำอยู่ สิริพิมพ์ ชูปาน ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา และคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564; 29(1): 1 – 12.

[13] สภาการพยาบาล. แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550-2559. นนทบุรี: ศิริยอดการพิมพ์; 2553.

[14] สุนันทา ระวิวรรณ. สมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต; [ออนไลน์]. 2564. เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน, 2565 เข้าถึงได้จาก https://www. vachiraphuket.go.th/wpcontent/uploads/2021/11/vachira-2021-11-30_14-39-02_ 024899.pdf

[15] วรัฐกานต์ อัศวพรวิพุธ. มาตรฐานการพยาบาล: กระบวนการพยาบาลและจริยธรรมวิชาชีพ.วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2559; 2(3) : 393 – 400.

ดาวน์โหลด