บทความวิจัย



การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกลุ่มเกษตรกรตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา  The Preparation for Entering the Aging Society of farmers in Taku Subdistrict, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province

กัญญารัตน์ เย็นตะคุ
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ. ปักธงชัย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกลุ่มเกษตรกรตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีและไม่มีส่วนร่วม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า (triangulation) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ด้านบริบทชุมชน ด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ (1) ด้านบริบท เป็นสังคมชนบทที่มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ มีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกัน และให้ความสำคัญเรื่องความกตัญญูรู้คุณ (2) ด้านสุขภาพ พบว่า ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการปรุงอาหาร ขาดความรู้เรื่องโภชนาการ กลุ่มร่างกายแข็งแรงส่วนใหญ่ออกกำลังกายน้อย แต่ผู้ที่เห็นความสำคัญจะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มผู้ป่วยออกกำลังกายตามบริบทตนเอง และตามสื่อต่าง ๆ การดูแลสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยส่วนใหญ่พึ่งพาตนเอง ประกอบด้วย การซื้อยากินเอง การรับบริการที่สถานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชน ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินจะใช้บริการของรัฐ มีความรู้เรื่องการใช้ยาไม่ถูกต้อง ภาครัฐและชุมชนจัดสวัสดิการและสิทธิต่าง ๆ (3) ด้านสิ่งแวดล้อม ภาครัฐและชุมชนมีการดำเนินการ ดังนี้ จัดสถานที่สาธารณะเอื้อต่อการบริการผู้สูงอายุในชุมชน ไม่พบการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพที่ชัดเจน มีการเตรียมด้านที่อยู่อาศัยบางส่วน ขาดช่องทางเดินเท้าปลอดภัยและจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ไร้ญาติ (4) ด้านเศรษฐกิจ มีการเตรียมเก็บออมเงินรูปแบบต่าง ๆ หรือเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ข้อเสนอแนะ ภาครัฐควรเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุแบบองค์รวม ประกอบด้วย การประสานเครือข่ายสุขภาพในการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสม ส่งเสริมค่านิยมการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชน และวางแผนการเงิน


คำสำคัญ : การเตรียมความพร้อม; สังคมผู้สูงอายุ; เกษตรกร

The aim of this qualitative research was to study the preparation for entering the aging society of farmers in Taku Subdistrict, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima Province. The sample of this study consists of 32 farmers who aged 45 years and over. Data were collected by in-depth interviews, participatory and non-participatory observation and related documents verify data by triangular method. Qualitative data was analyzed by using content analysis method.

The results was divided into four sections such as community context, health, and economic: 1) Community context; The farmers lived in a rural society with kinship relations focus on the benefactor. 2) Health; They used local ingredients for cooking but they laced of knowledge about the nutrition. Healthy people exercised less but those who see the importance of exercising regularly. The group of patients exercised according to their context and through various media. They have to bought their own medicine, receiving services at public and private health facilities when having an illness. In case of accident and emergency sickness, government services were used. They lack knowledge of drug use. The government and community provide welfare and rights. 3) Environmental; Government and community management were as follows: provide health services for the farmers that were easily accessible in the community, no health preparation was found, some housing has been prepared, lack of safe walking paths and establishing a care center for the elderly without relatives. 4) Economic; There was preparations for saving money in various forms. The suggestions from the study are: The government should prepare for Entering the Aging Society in a holistic way, consisting of coordinating health networks to provide appropriate health services, promote values of caring and helping each other in the communities and financial planning.


keywords : Preparation; aging Society; farmers

อ้างอิง


[1] ไพโรจน์ วงศ์วุฒิวัฒน์. จะเตรียมรับมืออย่างไรสังคมผู้สูงอายุ. มติชนออนไลน์. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https:// hilight.kapook.com/view/34319

[2] กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. ประชากรทะเบียนราษฎร์ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2565 เขตสุขภาพที่ 9. [ออนไลน์]. (2566). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/popy60up/region?Year=2023& rg=09

[3] โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ. ฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะคุ. นครราชสีมา. สำเนาอัด; 2565

[4] สุพัตรา ศรีวณิชชากร. โครงการวิจัยบูรณาการเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. นครปฐม : สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

[5] วาสนา สิทธิกัน, สายหยุด มูลเพ็ชร์และสามารถ ใจเตี้ย ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่งอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ลำปางเวชสาร 2560; 2(2) กรกฎาคม - ธันวาคม: 58 – 49.

[6] ยุวัลดา ชูรักษ์. การเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 The 10th Hatyai National and International Conference 2561; 6(2) : 1030 – 23.

[7] ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง, กัลยรัตน์ ศรกล้า และสุรีรัตน์ สืนสันต์และคณะ. การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแล 2563; 2(2) : 53 - 61.

[8] Becker, M.H.; Maiman,L.A. In the Health Belief Model and personal Health behavior. New jersey; 1974.

[9] Rosenstock , I. M. Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monograph 1974; 2(4) : 328 - 35.

[10] กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุกรมกิจการผู้สูงอายุ. เติมรู้เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562.

[11] จริยาภรณ์ กันทะวี, ทองดี คำแก้ว, พัชรา ก้อยชูสกุลและคณะ. ศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุในเขตเทศบาลบ้านดู่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https://fit.ssru.ac.th/useruploads/files/20200629/dea42ac21a02bd6a5b9e08555735c6a03739ce10.pdf

[12] อุทุมพร วานิชคาม. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนเขตสายไหม. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมาร 2562; 1(1) : 164 – 79 .

[13] สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. คู่มือสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้ง ที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ; 2546.

[14] ปริณดา บุญชัย และ ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. ศึกษาการเตรียมความพร้อมของวัยแรงงานเพื่อเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนดั่ง อำเภอหนองสองห้องจังหวัดขอนแก่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2555; 2(2) : 1 – 10.

[15] สุปรีญา นุ่นเกลี้ยงและศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์. ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุบนพื้นฐานทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้:กรณีศึกษาเทศบาลตำบลยุโป จังหวัดยะลา. Journal of Politics and Governance 2564; 11(3) กันยายน - ธันวาคม: 198 – 213.

ดาวน์โหลด