บทความวิจัย



การประยุกต์ใช้โปรแกรมควบคุมค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณ งานการเงินและบัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม  The application of the budget money expenditure control program Finance and Accounting, General Administration Group SamutSongkhram Provincial Public

กัญญา มีชะคะ
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. เมืองสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในระบบ NEW GFMIS ซึ่งมีข้อผิดพลาดหลายรายการต่อปี เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน ตรวจสอบได้ ลดความคลาดเคลื่อนผิดพลาด มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา งานการเงินและบัญชีกลุ่มงานบริหารทั่วไปสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ทำการวิเคราะห์ระบบการเบิกจ่ายเงินฯ และให้ผู้พัฒนาโปรแกรมการประยุกต์ใช้โปรแกรมควบคุมค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณ จากระบบฐานข้อมูล Microsoft access 2010 เพื่อนำมาใช้ในการรายงานผลการดำเนินงานและประเมินประสิทธิภาพของระบบการเบิกจ่ายงบประมาณในทุกขั้นตอนการประเมินโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นประเมินประสิทธิภาพก่อนและหลัง การใช้ ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ใช้สถิติเชิงพรรณนา วัดค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย วัดผลการกระจายของข้อมูลโดยใช้ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล สร้างรายงานได้หลากหลายตามต้องการ ใช้ในการควบคุมกำกับติดตามในทุกขั้นตอน จากการประเมินประสิทธิภาพและความ พึงพอใจของผู้ใช้พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 4.05+0.39 ด้านความสะดวก ด้านความถูกต้อง ความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับดีมากโดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 4.50+0.51, 4.45+0.51, 4.25+0.41, และ 4.25+0.44 ตามลำดับส่วนด้านความเหมาะสม ด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับดี 4.15+0.37 , 4.05+0.39 การพัฒนาในครั้งนี้ทำให้เกิดศูนย์กลางการเก็บข้อมูลเดียวกันทั้งระบบ ทำให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ที่ครบถ้วน ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ครอบคลุมเงินงบประมาณทุกประเภท สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการติดตามเฝ้าระวัง การเบิกจ่ายว่าอยู่ในขั้นตอนใดและเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายหรือไม่ เพื่อรายงานข้อมูลการเบิกจ่ายให้ผู้บริหารฯ ได้อย่างถูกต้องรวดเร็วทันเวลา ตลอดจน นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายทิศทางการบริหารงบประมาณได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อทำการเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ตามเป้าหมาย


คำสำคัญ : พัฒนาฐานข้อมูล; โปรแกรมควบคุมค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณด้วยโปรแกรม Microsoft access 2010

The purpose of this research is to increase the efficiency of budget disbursement in the NEW GFMIS system which has many errors per year. so that the information is up-to-date, verifiable, reducing errors with accuracy, completeness, timeliness, finance and accounting, general administration group, SamutSongkhram Provincial Public Health Office Analyze the disbursement system And let the program developers apply the cost control program money budget. From the Microsoft access 2010 database system to be used in reporting performance and evaluating the efficiency of the budget disbursement system at all stages.

Assessment of the program Developed to evaluate the effectiveness before and after use. Evaluate the efficiency and satisfaction of executives and related parties. Use descriptive statistics to measure the mean value of the data using Arithmetic Mean or Mean. Measure the distribution of data using standard deviation. Planning to create a database by analyzing problem It was found that the developed program was effective. can reduce the steps Reduce duplication of data recording Create as many reports as you want. Used to control, supervise, follow up in every step. From the evaluation of the efficiency and satisfaction of users, it was found that the overall picture was in a good level. and the standard deviation was 4.05+0.39 for the convenience to work. Accuracy and ability were at a very good level with arithmetic mean and standard deviation. 4.50 + 0.51, 4.45 + 0.51, 4.25 + 0.41, and 4.25 + 0.44, respectively, the suitability and satisfaction was at a good level 4.15 + 0.37. , 4.05+0.39 This development has resulted in a single data center for the entire system. Make the budget disbursement complete, accurate, up-to-date. Covering all types of budget money The information can be utilized to monitor and monitor disbursement at any stage and whether the disbursement meets the target. to report disbursement information to the executives Accurately, quickly, on time, as well as being able to plan and formulate policies, directions, and budget management more efficiently. Make budget disbursements according to the target.


keywords : Database Development; Budget Money Expense Control Program with Microsoft Access 2010

อ้างอิง


[1] สมชาติ โตรักษา. หลักการบริหารโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

[2] สมชาติ โตรักษา. “คู่มือการฝึกงาน”. เอกสารการสอนการบริหารโรงพยาบาล. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุขมหาวิทยาลัยมหิดล. อัดสำเนา; 2538.

[3] โกเมศ อัมพวัน. บทที่ 10 การออกแบบฐานข้อมูล. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https ://staff.informatics.buu.ac.th/

[4] วีรพล สุวรรณนันท์. การวิเคราะห์และประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์; 2535

[5] กาญจนา กาญจนสินิทธิ์ และคนอื่น ๆ. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขเพื่อการบริหารจัดการกรณีศึกษาระดับมหภาค กองสถิติสาธารณสุข. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : กองสถิติสาธารณสุข; 2532.

[6] ขวัญชัย คณะรัตน์ และคณะ.การวิเคราะห์และการออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : ทวีกิจการพิมพ์; 2521.

[7] ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ). วิธีการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชน , ปี2547 – 2550. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม2566]. เข้าถึงได้จาก http:// www.opdc.go.th/

[8] ประทีป เมธาคุณาวุฒิ. คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศในมหาวิทยาลัย”. ศาสตร์

อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาสถาบัน. ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2530.

[9] นันทนี แขวงโสภา,คู่มือ Access 2010 ฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น; 2556.

[10] พิชิต สุขเจริญพงษ์. “วิธีการเชิงระบบ” พิมพ์ครั้งที่ 9. เอกสารการสอนชุดวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหน่วยที่ 9 –15 นนทบุรี : หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2536.

[11] อรุณ รักธรรม. การพัฒนาและฝึกอบรม : ศึกษาเชิงพฤติกรรม.กรุงเทพฯ. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2526

[12] อุทัย หิรัญโต. หลักการโบริหารงานบคคล. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์; 2532

[13] นิคม เจริญดี. เรื่องประสิทธิผลโปรแกรมโรงพยาบาลนภาลัย(P-ADMIN)ในกลุ่มงานการจัดการโรงพยาบาลชุมชน วารสารโรงพยาบาลพุทธโสธร 2557 ; 4 (3) : 3-16

ดาวน์โหลด