บทความวิจัย



ผลการให้โภชนศึกษาต่อการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด ไม่พึ่งอินซูลิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา  The effect of Nutrition Education on Food Consumption and Self Health Care of Non-insulin Dependent Diabetes Mellitus Patients at Maharat Nakhonratchasima Hospital.

พรรณทิพย์ภา จิตติธรรมรัตน์
    โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว (quasi experiment research) วัดผลก่อนและหลังการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการให้โภชนศึกษาต่อ การบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อาสาสมัครเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แผนการให้ความรู้โภชนศึกษา และแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เก็บข้อมูลการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพ ความตรงและความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ปรับปรุงมาจากแบบสัมภาษณ์ของรุ่งทิวา มุกดาสนิท ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือแล้วมีค่าความเชื่อมั่นตามสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอร์นบาร์คเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มเดียวกันด้วยค่าทีไม่อิสระ (dependent t-test)

ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการได้รับโภชนศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคะแนนการปฏิบัติตัวใน การรับประทานอาหารอยู่ในระดับพอใช้ และหลังการได้รับโภชนศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคะแนน การปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารอยู่ในระดับดี คือ มีคะแนนเฉลี่ย เป็น 1.26 และ 1.71 ตามลำดับ และพบว่าคะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) สำหรับด้านการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่าก่อนการได้รับโภชนศึกษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคะแนนการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนหลังการได้รับโภชนศึกษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีคะแนนการดูแลสุขภาพ อยู่ในระดับดี คือ มีคะแนนเฉลี่ยเป็น 1.44 และ 1.67 ตามลำดับ และพบว่า คะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)


คำสำคัญ : โภชนศึกษา; การบริโภคอาหาร; การดูแลสุขภาพ; ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

This quasi-experimental research one group pretesf posttest was to assess The effectiveness of Nutrition Education on Food Consumption and Self Health Care of Non-insulin Dependent Diabetes Mellitus Patients at Maharat Nakhonratchasima. The objective of this study was to investigate the effectiveness of nutrition education on food consumption and self health care of non-insulin dependent diabetes mellitus patients at Maharat Nakhonratchasima Hospital. The participants were 30 non-insulin dependent diabetes mellitus patients. The tools in this study were nutrition education plan and a questionnaire for interviewing the patients. The data of food consumption and self health care of patients were recorded and analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and paired t-test.

The results showed that before receiving nutrition education, the patients had score of practising in food consumption at fair level and at good level after receiving nutrition education. The average scores were 1.26 and 1.71 respectively. The test of difference in means showed that they were significant difference (p <0.01). Regarding self health care of the patients, they had score of practising in self health care at fair level before receiving nutrition education and at good level after receiving nutrition education. The average scores were 1.44 and 1.67 respectively. The test of difference in means showed that they were significant difference (p <0.01).


keywords : Nutrition Education; Food Consumption; Self Health Care and Non-insulin Dependent Diabetes Mellitus Patients.

อ้างอิง


[1] สุนิตย์ จันทรประเสริฐ. การจัดการเรียนการสอนความรู้โรคเบาหวาน (Diabetic Education Program). ม.ป.ท.: ม.ป.พ ; 2559.

[2] เทพ หิมะทองคำ. ความรู้เรื่องโรคเบาหวานฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิทยาพัฒน์; 2552.

[3] เยาวเรศ ประภาษานนท์. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานระหว่างกลุ่มที่ได้รับสอนโดยใช้สื่อประสมและการสอนตามปกติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

[4] จาระเพ็ญ แท่นนิล. ผลของการมีส่วนร่วมในกระบวนการพยาบาลต่อระดับการดูตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

[5] อัจฉรา บุญยืน. ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลองครักษ์ จังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาตร์) สาขาพยาบาลสาธารณสุข]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

[6] สุดาพร ว่องไววิทย์. ความต้องการการมีส่วนร่วมและได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่] . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

[7] ปรีชา มนทกานติกุล. งานบริการทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2563; 10(2): 146 - 53.

[8] บุญทิพย์ สิริธรังศรี. ผู้ป่วยเบาหวาน : การดูแลแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงทพฯ: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.

[9] นิคม ถนอมเสียง. แนวคิดและการคำนวณขนาดตัวอย่าง. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://home.kku.ac.th/nikom/samplesize _nk2557.pdf.

[10] พิไลวรรณ ยอดประสิทธิ์. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

[11] มานพ วราภักดิ์. ทฤษฎีความน่าจะเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

[12] รุ่งทิวา มุกดาสนิท. ผลการให้โภชนศึกษาต่อการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โรงพยาบาลแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (โภชนศาสตร์ศึกษา)]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

[13] สมใจ ราชวง. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเอง โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองในการพัฒนาพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมโหสด นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

[14] เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. หลักโชนาการปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช; 2563.

[15] กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โภชนาการดีมีสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.

[16] ประหยัด สายวิเชียร. กลวิธีการสอนอาหารโภชนาการ. เชียงใหม่ : บริษัทนพบุรี การพิมพ์; 2554.

[17] ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง. ผลการให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. [การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

[18] สรจักร์ ศิริบริรักษ์. อาหารกับโรคเบาหวาน. [ออนไลน์]. (ม.ป.ป.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : http//www.geocities.com/Tokyo.Harbor/2093/i.am/thaidoc

ดาวน์โหลด