บทความวิจัย



การศึกษาแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งศูนย์สร้างพลังคนพิการแบบบูรณาการ ตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา  A Study of Way to Intregrated a Strength to The Empowerment Disabled Center in Tajan Subdistrict,Khong District, Nakhonrachasima Province.

กชนิภา นราพินิจ
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. คง. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการศูนย์สร้างพลังคนพิการในปัจจุบัน และ(2) หาแนวทางบูรณาการบริหารจัดการศูนย์สร้างพลังคนพิการให้เข้มแข็งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในระดับตำบลดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลคนพิการจำนวน คนพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 568 คน การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการศูนย์สร้างพลังคนพิการในปัจจุบันมีกรอบการบริหาร 4 ด้านคือ ด้านกรรมการ ด้านกองทุน ด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ส่วนปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการศูนย์สร้างพลังคนพิการตำบลตาจั่น เช่น การจัด โครงสร้างศูนย์รับฝากคนพิการยังขาดการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ และครอบคลุมกลุ่มคนที่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลคนพิการ (2) แนวทางบูรณาการบริหารจัดการศูนย์สร้างพลังคนพิการให้เข้มแข็งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในระดับตำบล มี4 แนวทาง คือ (2.1) การจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานภายในศูนย์สร้างพลังคนพิการให้เกิดความชัดเจนให้เป็นรายลักษณ์อักษร (2.2) การจัดทำแนวทางในการดูแลคนพิการที่ชัดเจน (2.3) การตั้ง กองทุนสวัสดิการ กองทุนพัฒนาอาชีพและประสานกับหน่วยงานที่ และ(2.4) การจัดสรรหาบุคคลในการทำงานประจำศูนย์สร้างพลังคนพิการเพื่อให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ การนำการบริหารแบบมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ กรรมการ กองทุน กิจกรรม และการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง


คำสำคัญ : แนวทางในการสร้างความเข้มแข็งอย่างบูรณาการ; ศูนย์สร้างพลังคนพิการ

This research is an action research. The objectives are (1) to study the current situation and problems and obstacles in the management of the Center for Empowerment of Persons with Disabilities, and (2) to find an integrated approach to strengthen the management of the Center for Empowerment of Persons with Disabilities in district level The method used data collection by questionnaires . The sample group consisted of 568 persons with disabilities caregivers . Data analysis of quantitative data was analyzed by descriptive statistics: number, percentage, mean, standard deviation.

The results of the research were as follows (1) problems and obstacles in the management of the Empowerment Center for Persons with Disabilities .There are four management frameworks that is the committee, the fund, the activities, and the participation of network partners. As for the problems and obstacles in the management of Ta Chan Sub-district Empowerment Center for the Disabled, for example, the organization of a depository center for the disabled has not yet been formally established and covers groups of people who have a direct duty to take care of people with disabilities. (2) There are four approaches to the integrated management of the Empowerment Center for Persons with Disabilities of agencies dealing with people with disabilities at the sub-district level: (2.1) Establishment of a committee (2.2) Establishing clear guidelines for caring for the disabled (2.3) Establishing a welfare fund and (2.4) recruitment of people to work at the Empowerment Center for Persons with Disabilities in order to achieve continuous activities. It must consist of 4 elements: committee, fund, activities and involvement of relevant network sectors.

keywords : An Integrated Approach to Strengthening; Disabled Empowerment Center

อ้างอิง


[1] วิทยา จันทร์แดง และคณะ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรฟ้าในพระบรมราชูปถัมภ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ 2555; 1 : 75 – 6.

[2] กุศล สุนทรธาดา. รูปแบบครอบครัวกับการเกื้อหนุนและสวัสดิการผู้สูงอายุ. ประชากรและสังคม 2552 ; 1 : 106 – 23.

[3] ทวี วัชระเกียรดิศักดิ์. การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่ม อาชีพ ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2559; 1 : 21 – 2.

[4] กระทรวงพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์. รายงานสถานการณ์ด้านข้อมูลคนพิการในประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน 2560].เข้าถึงได้จาก http://service.11SO.go.th/nso/nsopublish /service/survey/disability

[5] ชลธี เจริญรัฐ. การเสริมสร้างความเข้มแขของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. [วิทยานิพนธ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ].อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี; 2546.

[6] เกษรสิริ อรุณชัยพร. ทุนทางสังคม Social Capital. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://202.28.109.66/joumalfiles/mcu59_2_02.pdf.

[7] เกรียงศักดิ์ เจริญวงษ์. การคิดเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย; 2546.

[8] ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย. เครือข่ายทางสังคม. มหาสารคาม : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2549

ดาวน์โหลด