บทความวิจัย



ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาลด้านการควบคุมโรค และการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ปี 2565  Effectiveness of the Development Nurse Patential in Disease Control and Nursing Care of Dengue Hemorrhagic Fever Patients Program in Affiliated Hospitals of the Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office, 2022.

ทิพวรรณ ศรีทรมาศ
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาลด้านการควบคุมโรค และการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งสิ้นจำนวน 64 คน ระยะเวลาศึกษา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบสอบถามความรู้ ทักษะ ทัศนคติด้านการควบคุมโรค และด้านการพยาบาลโรคไข้เลือดออก (2) แบบประเมินความพึงพอใจผู้บังคับบัญชา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยใช้สถิติ t-test for dependent

ผลการศึกษา พบว่า (1) ด้านความรู้ควบคุมโรค ก่อนทดลองอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.74 หลังทดลองอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 87.63 (2) ด้านความรู้การพยาบาล ก่อนทดลองอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 57.00 หลังทดลองอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 87.63 (3) ด้านทักษะควบคุมโรค ก่อนทดลองไม่เคยปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 43.12 หลังทดลองปฏิบัติประจำ คิดเป็นร้อยละ 60.47 (4) ด้านทักษะการพยาบาล ก่อนทดลอง ปฏิบัติประจำ คิดเป็นร้อยละ 40.00 หลังทดลองปฏิบัติประจำ คิดเป็นร้อยละ 63.59 (5) ด้านทัศนคติต่อการควบคุมโรค และการพยาบาล ก่อนทดลองทัศนคติเชิงบวก ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 59.60 หลังทดลองทัศนคติเชิงบวก ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 84.15 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ด้าน การควบคุมโรค และการพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม เปรียบเทียบหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


คำสำคัญ : พัฒนาศักยภาพ; การควบคุมโรคไข้เลือดออก; การพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

This research is a quasi-experimental research. The purpose to effectiveness of the development nurse patential in disease control and nursing care of dengue hemorrhagic fever patients program in affiliated hospitals of the nakhon ratchasima provincial public health office, Method is purposive sampling then samples were professional nurses working in hospitals under the Nakhon Ratchasima provincial public health office, totally 64 nurses, study period 12 weeks. The tools for collect data include : (1) questionnaire knowledge, skills, attitudes in disease control and nursing care of dengue hemorrhagic fever patients (2) The satisfaction assessment form of the supervisors on the application of knowledge and skills to work at the hospital. Analytical statistics (t-test for dependent) and measure results by before and after experiment.

Results before and after trial program for developing nurse potential in disease control and nursing care of dengue hemorrhagic fever patients, (1) knowledge about dengue hemorrhagic fever control before trial level of knowledge was intermediate (62.74%) and after was high level (87.63%) (2) knowledge nursing care of dengue hemorrhagic fever patients before trial level of knowledge was low (57.00%) and after was high level (87.63%), (3) skills of dengue hemorrhagic fever control before trial the most of them never practiced. (43.12%) and after was routine practice (60.47%) (4) skills of nursing care dengue fever patients before trial the most of them routine practice (40%) and after was routine practice(63.59%) (5) attitude to disease control and nursing of dengue fever patients before trial most of them positive attitude was intermediate level (59.60%) and after trial was high level (84.15%). In conclusions, Differences in the mean scores of knowledge, skills and attitudes in disease control and nursing of dengue hemorrhagic fever patients before and after program, average score after trial was higher than before trial statistically significant (p < 0.01)


keywords : Competency; Disease Control Dengue Hemorrhagic Fever; Nursing Care of Dengue Hemorrhagic Fever

อ้างอิง


[1] กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดนครราชสีมา 1 มกราคม – 30 กันยายน พ.ศ.2565. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2565.

[2] กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สรุปผลการดำเนินโครงการโคราชเมืองสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 - 2565 : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2565.

[3] McClelland David C. Testing for Competence rather than Intelligence. American Psychologist 1973; 28 (1) : 1-14.

[4] กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุข ภายใต้สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2565

[5] ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ มุกดา หวังวีรวงศ์ และวารุณี วัชรเสรี. การวินิจฉัย และรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ สำหรับแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

[6] ธนันญา เส้งคุ่ย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2563.

[7] นิตยา พันธุเวทย. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร. [ออนไลน์]. (2565). [ เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มกราคม2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/powerpoint/การพัฒนาศักยภาพบุคลากร65.pdf

[8] พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย และคณะ. การประเมินโปรแกรมพัฒนาศักยภาพพยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2565; 30(1) : 14.

ดาวน์โหลด