บทความวิจัย



ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 ของประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไป ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา  Factors Related to Vaccination Decision Covid 19 of People aged 12 Years and over, Chokchai Sub-District, Chokchai Ddistrict, Nakhon Ratchasima Province

หทัยรัตน์ แผ่นกระโทก
    โรงพยาบาลโชคชัย. โชคชัย. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจฉีดวัคซีนโรคโควิด19 และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนโรคโควิด 19 ของตำบล โชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ในประเด็นความรู้และเจตคติต่อโรคและวัคซีนโรคโควิด 19 กลุ่มประชากรเป็นกลุ่มประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปของตำบลโชคชัยจำนวน 10,780 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปของตำบลโชคชัยจำนวน 360 คน ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 เก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1 มิถุนายน ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2565 คำนวณกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ประชากร 100-1,000 คิดกลุ่มตัวอย่าง 25% คิดเป็น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีคำถามสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เรื่องโรคและวัคซีน และเจตคติต่อการฉีดวัคซีนโรคโควิด 19 ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ ไคส์แควร์

ผลวิจัย พบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 64.4 อายุมากกว่า 80 ร้อยละ 40 สถานภาพสมรสร้อยละ42.2 หม้ายร้อยละ 42.2 การศึกษาระดับประถม ร้อยละ80 ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ57.8 (เป็นผู้สูงอายุ) รายได้ต่ำกว่า 1,000ต่อเดือน ร้อยละ 60 มีโรคประจำตัวร้อยละ 81.1 ส่วนมากได้รับข้อมูลข่าวสารจากอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจำนวนกลุ่มตัวอย่างตัดสินใจฉีดวัคซีนโรคโควิด 19 เพียงร้อยละ 20 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนโรคโควิด19 พบว่า สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.014โดยสถานภาพสมรส (คู่) ตัดสินใจฉีดวัคซีนมากกว่าสถานภาพสมรส (เดี่ยว) ร้อยละ 28.3, ร้อยละ7.9 ตามลำดับ และระดับความรู้มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนที่ระดับ0.019 ระดับปานกลางมากกว่าระดับต่ำและระดับสูง ร้อยละ 36.7,ร้อยละ14.3,ร้อยละ 10.9 ตามลำดับ


คำสำคัญ : กลุ่มประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไป; วัคซีนโรคโควิด19; การตัดสินใจฉีดวัคซีน

The purpose of this analytical research was to study the vaccination decision. covid and for Analysis of factors related to covid 19 vaccination decision of Chokchai subdistrict, Chokchai district, Nakhon Ratchasima province on knowledge and attitude issues against covid 19 disease and vaccine samples People who have not been vaccinated against covid 19 , collected data from June 1, 2022 to June 30, 2022. The instrument used to collect data was a questionnaire with three key questions: general information, knowledge of diseases and vaccines. and attitudes towards vaccination against covid 19 , which has been tested for content integrity by 3 experts, the data were analyzed by descriptive statistic, i.e. number, percentage, mean and standard deviation. Inferential statistic was chi-square test

The study found that only 20% of people made the decision to vaccinate against covid 19 , which is the goal. Less than the threshold of the ministry of public health requiring more than 90 percent of people aged 12 years and over to receive the first dose of covid 19 vaccination, and factors related to the decision to vaccinate against covid 19 found that marital status was related. with the decision to vaccinate covid 19 with statistical significance at level 0.014 the marital status (couple) decided to vaccinate more than the marital status (single) 28.3%, 7.9%, respectively, and the level of knowledge was associated with the decision to vaccinate at the level of 0.019 at the moderate level over the low level and the high level at 36.7%. 14.3%, 10.9%, respectively


keywords : People aged 12 years and over; Covid19 vaccine; Decision to Vaccinate

อ้างอิง


[1] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณี การระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2563.

[2] ขนิษฐา ชื่นใจ และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://mmm.ru.ac.th

[3] บวรลักษณ์ ขจรฤทธิ์ และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประชากรในจังหวัดสมุทรปราการ. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2665]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org.

[4] ไพรัชฌ์ สงคราม. ความต้องการวัคซีนโรคโควิด19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุขในการบริการวัคซีนโรคโควิด19 จังหวัดขอนแก่น. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://he 01.tci-thaijo.org.

[5] เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. การวิจัยทางการพยาบาล. สงขลา: สำนักพิมพ์อัลลายด์ เพรส; 2535.

[6] Loether, Herman J. and Mctavish, Donald G. Descriptive and inferential Statistics : An Introduction. USA : Allyn and Bacon.; 1993.

[7] Benjamin, S Bloom. ‘Learning for mastery’. Evaluation comment. Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles 1986; 2 : 47 – 62.

[8] Bartz, Albert E. Basic Statistical Concept. New Jersey : Prentice-Hall, Inc.; 1999

[9] Best, J.W. Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy: Printice-Hall. ;1970

[10] Yamane, Taro. Statistic : An introductory analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International edition.; 1975.

[11] Thorndike.R.M. Correlational procedure for research. New York: Gardner Press.; 1978.

[12] Cohen, J and Cohen,P. Applied multiple regression/correlation. Analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.) New Jersy: Lawrence Erlbaum Associates.; 1983.

[13] พีระวัฒน์ ตระกูลทวีสุข . ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด 19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์.จังหวัดสระบุรี. [ออนไลน์]. (2565). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://he01.tci-thaijo.org

ดาวน์โหลด