บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค (CDCU) ระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา  The Model Development of Prevention, and Control communicable diseases in Surveillance and Rapid Response Team and Communicable Disease Control Unit of Districts in Nakhon Ratchasima Province

เอกรัฐ ณรงค์สระน้อย* และศิวะยุทธ สิงห์ปรุ**
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมโรค ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 57 คน และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ จำนวน 82 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถาม การดำเนินงาน (2) แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับ ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัด (3) แบบสัมภาษณ์ปัจจัยความสำเร็จ (4) แบบสัมภาษณ์ ข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t- test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค ประกอบด้วย (1) การเฝ้าระวัง (2) การตรวจสอบ หรือการสอบสวนโรค (3) การรายงานทางระบาดวิทยา (4) การตอบโต้เพื่อระงับเหตุและควบคุมโรค การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคฯ ประกอบด้วย (1) การทบทวนปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์ (2) การวางแผน (3) การปฏิบัติ (4) การประเมินผล และ(5) การสะท้อนผล การประเมินผลพบว่า การดำเนินงานหลังการพัฒนารูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัญหาอุปสรรค คือ (1) ในช่วงที่มีระบาด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสอบสวนโรคไม่เพียงพอ (2) อุปกรณ์ในการสอบสวน และควบคุมโรคไม่เพียงพอ (3) การเปลี่ยนแปลงแนวทางการปฏิบัติ แนวทางแก้ไข คือ (1) การเพิ่มเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค (2) ระดมทรัพยากรในพื้นที่ (3) การใช้เทคโนโลยีใน การสื่อสาร ถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติ ปัจจัยความสำเร็จ (1) การพัฒนาความรู้ และแนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง (2) การติดตามการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ (3) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในระดับชุมชน (4) ทักษะและความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์การทำงาน ข้อเสนอแนะ (1) ควรมีสร้างทีมปฏิบัติการควบคุมโรค ระดับตำบล (2) ควรมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชน (3) ควรมีสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานในระดับตำบล


คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ; การป้องกันและควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ

The aim of this research is to develop a model for disease prevention and control by the rapid surveillance team and the district-level disease control unit in Nakhon Ratchasima province. The sample group consisted of the Surveillance and Rapid Response Team with 57 individuals and the Communicable Disease Control Unit with 82 individuals. The research instruments consisted of (1) The questionnaire on disease prevention and control; (2) An interview form on problems, obstacles, and constraints; (3)An interview form on success factors; (4) An interview form on recommendations. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and paired t-tests. The qualitative data were evaluated using content analysis.

The results showed that the disease prevention and control model consisted of (1) Surveillance; (2) Investigation to confirm the facts or disease investigation; (3) Epidemiological reporting; (4) Response to suppress and control the disease. The development of a disease prevention and control model consists of 5 parts: (1) Problem and situation analysis; (2) Planning; (3) Action; (4) Observation; and (5) Reflect. The post-implementation evaluation of the model found that the protection model and control of the Surveillance and Rapid Response Team and the Communicable disease control unit were higher after than before model development with statistical significance at the .01 level. Problems and barriers were (1) During the epidemic. Inadequate disease investigation missions; (2) Investigation equipment inadequate disease control; 3) Changes in practice guidelines. Solutions are (1) Increasing the disease control unit staff; (2) Mobilizing resources in the area; (3) Using technology for communicates. Success factors (1) Development of knowledge and ongoing guidelines; (2) Regular monitoring of activities; (3) Participation of working networks and community leaders; (4) Skills and practical experience. Recommendations (1) A district-level disease control team should be formed; (2) The potential of community leaders in the region level; (3) Local government organizations should be involved at the sub-district level.


keywords : Model development; Disease prevention and control of the Surveillance and Rapid Response Team and the Communicable Disease Control Unit.

อ้างอิง


[1] กรมควบคุมโรค. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุม โรคติดต่อ พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/ c74d97b01eae 257e44aa9d5bade97baf/files/005_2gcd

[2] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวัง สอบอสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ปี 2563. กรุงเทพฯ: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2563.

[3] Kemmis, S. and R. McTaggart. นักวาง แผนวิจัยปฏิบัติการ The action research planner. แปล โดย ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ; 2538.

[4] อภิรัตน์ โสกำปัง. การมีพัฒนาหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อระดับอำเภอ. วารสารวิชาการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2564; 27(3): 83

[5] กาญจนา ยังขาว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสําเร็จของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับตําบล จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2558. วารสารวิชาการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2561; 24(2): 26–35

[6] ปราณีศรีบุญเรือง และกล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดําเนินงานควบคุมป้องกัน โรคไข้เลือดออกของทีมเฝ้าระวังงสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ตำบลตาเกษ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2563; 5(1): 10–25.

[7] นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของการดําเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตําบลจังหวัดแพร่พ.ศ. 2556. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 : 6 กุมภาพันธ์ 2558.

[8] ระนอง เกตุดาว อัมพร เที่ยงตรงดี และภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและ

ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1) มกราคม – กุมภาพันธ์ :

[9] บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น 2564; 3(2) กรกฎาคม – ธันวาคม : 193 – 204.

ดาวน์โหลด