บทความวิจัย



การพัฒนารูปแบบการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ประสบภัยจากรถสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา  The Development of a Reimbursement Model for Medical Expenses in the case of Traffic Accident Victims According to the Road Accident Victims Protection. Act, B.E. 1992, of the Sub-District Health Promoting Hospital, Nakhon Ratchasima Province

เชษฐ์ชัยวัฒน์ สิริจามร
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2566)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การพัฒนารูปแบบการเบิกเงิน ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ประสบภัยจากรถสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (2) ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติและความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ประสบภัยจากรถ สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ของ รพ.สต. จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย (1) ผู้ป่วยกรณีประสบภัยจากรถในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 80 คน (2) ผอ.รพ.สต. จำนวน 40 คน และ (3) เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 40 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในรูปแบบเชิงพรรณนา ประกอบด้วย จำนวน ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired t- test

ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนารูปแบบฯ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1.1) การวางแผน ประกอบด้วย จัดทำคำสั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จัดพิธีลงนามบันทึกความตกลง จัดทำคู่มือ (1.2) การปฏิบัติตามแผน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล (1.3) การสังเกตผล ติดตาม ควบคุม กำกับ และประเมินผลงานดำเนินงาน(1.4) การสะท้อนผล สรุปปัญหาอุปสรรคและหาแนวทางแก้ไขปัญหา (2) ผู้ป่วยกรณีประสบภัยจากรถที่เข้ารับบริการมีทัศนคติและความคิดเห็นแตกต่างจากก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (t= -44.7958, p-value <0.001) ผอ.รพ.สต. มีทัศนคติและความคิดเห็นแตกต่างจาก ก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (t= -24.5230, p-value <0.001 เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาลมีทัศนคติและความคิดเห็นแตกต่างจาก ก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (t= -17.1698, p-value <0.001) ภายหลังพัฒนารูปแบบฯ มีความรู้แตกต่างจากก่อนพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (t= -9.2255, p-value <0.001) และมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง (x ̅ = 2.72; S.D. 0.81) ข้อเสนอแนะ ขั้นตอนการเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับ รพ.สต. ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้นำไปประยุกต์ใช้ในระดับเขตสุขภาพต่อไป


คำสำคัญ : รูปแบบการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล; ผู้ประสบภัยจากรถสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535; โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

This research is action research. The research objectives were: (1) To develop a reimbursement model for medical expenses in the case of traffic accident victims according to the Road Accident Victims Protection. Act, B.E. 1992; (2) Study the results of changes in knowledge, attitudes, and opinions about the development of a reimbursement model for medical expenses in the case of traffic accident victims according to the Road Accident Victims Protection. Act, B.E. 1992, of the Sub-district Health Promoting Hospital, Nakhon Ratchasima Province. The research sample consisted of (1) 80 cases of traffic accident victims in the area of responsibility, (2) 40 sub-district health promoting hospital directors, and (3) 40 medical revenue collection officers. The research instruments used to collect data were questionnaires and the workshop. Descriptive quantitative data analysis included frequency, percentage, and standard deviation, and comparison of differences by paired t-test.

The results showed that (1) the model development consisted of 4 steps: (1.1) planning consisting of making orders to the Nakhon Ratchasima Health Provincial Office, a MOU signing ceremony, and manual preparation. (1.2) Implementation of the plan: organizing workshops to develop the potential of medical revenue collection officers. (1.3) Observation, monitoring, control, supervision, and evaluation of performance. (1.4) Reflection, summarizing problems and obstacles, and finding solutions. (2) The cases of traffic accident victims who received the service had different attitudes and opinions than before the model development. Statistically significant (t = -44.7958, p-value <0.001), sub-district health promoting hospital directors had different attitudes and opinions than before the development of the model. Statistically significant at (t = -24.5230, p-value <0.001. Medical revenue collection officers had different attitudes and opinions than before the development of the model. Statistically significant at (t = -17.1698, p-value <0.001) have different knowledge from before the model development. Statistically significant at (t= -9.2255, p-value <0.001), and overall satisfaction was at a moderate level (x ̅ = 2.72; S.D. 0.81). Recommendations: The process of reimbursement of medical expenses for the sub-district health promoting hospital should be continuously developed and encouraged to be applied at the health district level.


keywords : Reimbursement Model for Medical Expenses; Case of Traffic Accident Victims According to the Road Accident Victims Protection. Act, B.E. 1992; Sub-District Health Promoting Hospital

อ้างอิง


[1] สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา; 2547.

[2] ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. สถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2561 – 2562. [ออนไลน์]. (2563). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงได้จาก: www.thairsc.com/thai-in-depth-data

[3] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นโยบายจัดระบบการบริหารงานการจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาลของหน่วยบริการทุกระดับ. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. สำเนาอัด; 2563.

[4] Kemmis, S. & Mc Taggart, R. The Action Research Planner. (3 rd ed.) Victoria: Brown Prior Anderson Nation library of Australia Cataloging in Publication Data; 1990.

[5] Daniel, W.W. Biostatistic: A foundations for analysis in the health sciences. New York: John Wiley; 1995.

[6] กาญจนา เลิศวุฒิ วันเพ็ญ โพธิยอด และชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2558; 14(1) : 46 – 59.

[7] Holloway, I. W,. Qualitative research in nursing and health care. 3 rd ed. India: Laserwords Privates; 2010.

[8] Smith, P. C., L. M. Kendall, and C. L. Hulin. The Measurement of Satisfaction in Work Retirement . Chicago: Rand McNally; 1969.

[9] Vroom, V. H. Work and motivation. New York: Wiley; 1964.

ดาวน์โหลด