บทความวิจัย



ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความรอบรู้ด้านการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา  Effectiveness of Health Literacy Program on Self-management of Diabetes Mellitus Type2 Patient with Family Participation in Khamsakaesaeng Nakhon Ratchasima Province

ปราณิสา พงศ์ปภาดา
    โรงพยาบาลขามสะแกแสง. ขามสะแกแสง. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการความรอบรู้ด้านการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการความรอบรู้ด้านการจัดการสุขภาพตนเองฯ และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’ Alpha) = .968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแยกประเภท แจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติ pair t-test

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรอบรู้และระดับพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหลัง การทดลองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < .001 และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานหลังการทดลองลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < .001 ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยสามารถนำไปขยายผลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่น เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และสามารถนำไปพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อป้องกันการเกิดโรคและเพื่อการมีสุขภาพที่ดี


คำสำคัญ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพ; พฤติกรรม การจัดการสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2; การมีส่วนร่วมของครอบครัว; น้ำตาลในเลือด

This study is quasi-experimental research aimed to study effectiveness of health literacy program with family participant on self-management of diabetes mellitus type2 patient. The participants were 18 diabetes patients . Research instrument was health literacy program with family participant on self-management of diabetes mellitus type2 patient and questionnaire (Cronbach’ Alpha = .968). The data was analyzed by frequency, percentage and pair t-test statistics.

Results showed that mean score post test of health literacy and self-management behavior higher than pre test (p < .001) and mean of DTX in diabetes type2 patients were lower than pre test (p < .001). Therefor, the study is expand to change risky behavior of hypertension and cardiovascular disease and apply to develop health literacy scale of people for disease prevention and being healthy.


keywords : Health literacy; Self-management behavior of diabetes mellitus type2 patient; Family participant, Blood sugar

อ้างอิง


[1] กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต8 กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนวัยทำงาน. นนทบุรี : กองสุขศึกษา; 2558.

[2] กรมควบคุมโรค. การเข้าถึงการดูแลโรคเบาหวาน รณรงค์วันเบาหวานโลก. 2564. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https:// ddc.moph.go.th/brc/news.

[3] อังศินันท์ อินทรกำแหง. การพัฒนาและใช้เครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยวัยผู้ใหญ่ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ.2ส. นนทบุรี : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

[4] กัญจน์ณัฏฐ์ สมพงษ์ และพัชราภรณ์ เจนใจวิทย์. ผลของการพยาบาลครอบครัวขอนแก่นโมเดลต่อการควบคุมโรคของบุคคลเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(4): 54 – 63.

[5] สุจิตรา บุญประสิทธิ์ สิริลักษณ์ โสมนุสรณ์ และชมนาด สุ่มเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2559; 32(1): 44 – 56.

[6] อารีย์ แร่ทอง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.[ออนไลน์]. (2563). [สืบค้นเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.semanticscholar.Org /paper/ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ-3อ-2ส-Health-แร่ทอง

/19d035ffcbca33ab31ec85515032 3869c8 c02290

[7] แสงอรุณ สุรวงค์ และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560; 29(1): 104 – 16.

[8] สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1): 191 – 204.

[9] เสาวนีย์ วรรละออ, พรทิพย์ มาลาธรรม และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้.วารสาร Rama Nurse J 2555;18(3): 372 – 88.

[10] วรรณชนก จันทชุม. เอกสารคำสอนสถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2545.

ดาวน์โหลด