บทความวิจัย



ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย จังหวัดสมุทรปราการ  Factors Related to Prevention Behavior for Tuberculosis among Health Care team of Raj pracha Samasai Institute Samut Prakan Province.

สมจินตนา ขุนเศรษฐี และกิตติมา สวัสดี
    สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. พระประแดง. สมุทรปราการ. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ของสถาบันราชประชาสมาสัย และศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย ศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงวัณโรค จำนวน 263 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่และ ร้อยละ และหาค่าความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square Analysis)

ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในภาพรวม ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 2.93, S.D. = 0.18) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยนำมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกในระยะติดต่อ (p<0.01), ประสบการณ์ในการดูแลคนในครอบครัวเพื่อนบ้านที่ป่วยเป็นวัณโรค (p<0.01), ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออื่นนอกเหนือจากวัณโรค (p<0.01), จำนวนครั้งที่เคยดูแลผู้ป่วยโรคติดต่ออื่นนอกเหนือจากวัณโรค (p<0.05), การรับรู้ต่อความรุนแรงของเชื้อวัณโรค (p<0.001) ปัจจัยเอื้อ ประกอบด้วย ความเพียงพอของอุปกรณ์ป้องกัน การติดเชื้อวัณโรค (p<0.001) ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อวัณโรค (p<0.001) การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน การติดเชื้อวัณโรค (p<0.001) ปัจจัยเสริม ประกอบด้วย การกำกับเข้มงวดจากหัวหน้างาน /คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และสุขลักษณะของเพื่อนร่วมงานใกล้ชิด (p<0.001) จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะ ควรทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ครอบคลุม และสามารถนำไปใช้อ้างอิงหรืออธิบายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคได้มากขึ้น


คำสำคัญ : ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม; พฤติกรรมการป้องกันวัณโรค; บุคลากรทางการแพทย์

This research is a descriptive cross-sectional study aims to study predisposing, reinforcing, and enabling factors related to Tuberculosis preventative behaviors among medical professionals at Rajpracha samasai Institute. Additionally, this research also studies the level of Tuberculosis preventative behaviors among medical professionals at Rajpracha Samasai Institute. The data was collected from 263 medical professionals who contacted to suspected Tuberculosis patients using questionnaires during March to June 2022. Then was analyzed by using frequency and Chi-square analysis.

The result suggested that the majority of Tuberculosis preventative behaviors among medical professionals was in a high level (=2.93, S.D.=0.18). Predisposing factors related to Tuberculosis preventative behaviors among medical professionals with statistical significance are infectious patient care experience (p<0.01), tuberculosis infectious family members care experience (p<0.01), other infectious patient care experience (p<0.01), other infectious patient care frequency (p<0.05), awareness of tuberculosis severity (p<0.001). In terms of reinforcing factors are including sufficiency in the supply of personal protective equipment (PPE) (p<0.01), availability of PPE (p<0.01), proper use of PPE (p<0.01). Lastly, enabling factors are including supervision of leader/ infectious control committee and good personal hygiene of co-workers (p<0.01). The suggestion from the results is to do a futher qualitative research in order to get more comprehensive information and to clarify more Tuberculosis preventative behaviors.


keywords : Predisposing Factor; Reinforcing Factor; Enabling Factor; Tuberculosis Preventative Behaviors; Medical Professionals

อ้างอิง


[1] กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ 2560 -2564. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.tbthailand.org/.

[2] กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

[3] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เปิด 3 มาตรการคุมวัณโรค. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https:// www.thaihealth.or.th/Content/36613-เปิด%203%20มาตรการคุณวัณโรค.html.

[4] สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทาง การควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

[5] ดารารัตน์ โห้วงศ์ และ ปิยะณัฐ วิเชียร. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดสระแก้ว. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2(2): 83 – 94.

[6] นวลนิตย์ แก้วนวล และ เยาวลักษณ์ อ่ำรําไพ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรผู้ส่งมอบยาวัณโรค.ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557; 9(4). 193 – 202.

[7] พนิดา ว่าพัฒนวงศ์ ชมพูนุช สุภาพวานิช และอรรณพ สนธิไชย. พฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560; 9(1): 74 – 85.

[8] กัลยา วานิชย์บัญชา.หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4 : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

[9] จักรพันธุ์ นาคสุข. คุณภาพการให้บริการของศูนย์กีฬาสระว่ายน้ำ สนามกีฬาสมโภช 700 ปี เชียงใหม่. [รายงานการค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพัฒนา]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2551.

[10] Cronbach, L.J. Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York : Harper Collins Publishers Inc,1990.

[11] วลัยพร สิงห์จุ้ย วันเพ็ญ แก้วปาน และอาภาพร เผ่าวัฒนา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27(3): 14 – 26.

[12] ทัศพร ชูศักดิ์ และ นันทพร ภูมิแสนโคตร. การรับรู้เกี่ยวกับวัณโรคและพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของ ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2564; 16(2): 15 – 25.

[13] กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556

[14] กัมปนาท ฉายชูวงษ์. ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการเข้ารับการรักษา ประเทศไทย.วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ 2562; 1(2): 77 – 90.

[15] จารุวรรณ แหลมไธสง, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และพรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2562; 33(1): 1 – 19.

[16] ภิรมย์พร ใจหนักแน่น. การศึกษาพฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของการบริโภคเครื่องดื่มเกลือแร่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. [ออนไลน์]. (2557). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://pdfslide.tips/documents/the-behavior-of-health-belief-model-of-sport-drinkpededukuacthhomespecialproblemfiles25052015225538pdf.html?page=1

[17] Lavena F, Kassa Y, Gambura E. Tuberculosis and Public Health Care Workers: Infection Prevention and Control Practices and Associated Factors Among Governmental Health Centers and Hospitals in Wolaita Zone, Southern Ethiopia. J Multidiscip Healthc; 2021; 10(14) : 2111 – 22.

[18] ชมพูนุช สุภาพวานิช ฮาซามี นาแซ อัญชลี พงศ์เกษตร และคณะ. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้2563; 7(1): 293 – 305.

ดาวน์โหลด