บทความวิจัย



ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา  Factors Related to Self care ability and Health-related Quality of life in Stroke patients Chaloemphrakiat Hospital Chaloemphrakiat District, Nakhon Ratchasima Province

พรทิพย์ ศรีสมบัติ
    โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. เฉลิมพระเกียรติ. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก มีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก และตัน ที่พ้นระยะวิกฤติ ส่งตัวกลับมาเข้ารับ การรักษา โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ และมีการติดตามหลังจำหน่ายกลับบ้าน 3 เดือน จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจงทั้งหมด ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนกรกฎาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาคเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ภาพรวม ส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง ≥ 75 คะแนน ร้อยละ 95.0 และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองภาพรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 60.0 (X ̅=4.04, SD=0.596) ปัจจัยความสัมพันธภาพในครอบครัว และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์อยู่ในระดับมาก ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์เครื่องมืออยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพ รายได้ และผู้ดูแลหลัก สรุปได้ว่า การส่งเสริมผู้ดูแลให้ได้รับการฝึกอบรมดูแลผู้ป่วยช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้รับการปฏิบัติดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


คำสำคัญ : ความสามารถในการดูแลตนเอง; คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Stroke is a global public health problem that severely affects patients and their families, whether physically, psychologically, socially, or spiritually. This cross-sectional analytical research aimed to study self-care ability and health-related quality of life in the rehabilitation phase of stroke patients. The samples consisted of 20 patients using purposive sampling who were out of critical condition and diagnosed with brain infarction, hemorrhagic stroke, and ischemic stroke. Furthermore, they were sent back for treatments and follow-up at Chaloemphrakiat Hospital after 3 months of discharge from April to July 2022. The tool used for data collection was an interview on factors related to self-care ability and health-related quality of life in stroke patients. In addtion, the content validity was checked by experts with a consistency value of 0.82, Cronbach Alpha Coefficient value of 0.87, and data were analyzed by descriptive statistics and Chi-Square.

The results showed that in terms of the self-care ability of stroke patients, most of them were able to perform a daily routine on their own, ≥ 75 points, 95.0 percent, and health-related quality of life was at a high level of 60.0 percent (X ̅ =4.04, SD.=0.596). Moreover, additional factors influencing stroke patients at a high level were family relationships and emotional social support. Social support for information, medical care, and medical equipment was at a moderate level. The factors that were significantly related to self-care ability and health-related quality of life for stroke patients were occupation, income and the training of primary caregivers In conclusion caregivers should be trained to help stroke patients recover and prevent complications. Besides


keywords : self-care ability; Health-related Quality of life; stroke patients

อ้างอิง


[1] World Health Organization. World Stroke Campaign. [online]. (2021). [2022 March 1]. Retreived from http://www.world-stroke.org/advocacy/world-stroke-campaign

[2] กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2505-2563. [ออนไลน์]. (2563). [สืบค้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก https://spd.moph.go. th/health-status/

[3] สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2565). [สืบค้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก http: // www.thaincd.com/2016/mission3

[4] สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด; 2558.

[5] รัชดาพร บุตรเริ่ม. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครอบครัวกับพฤติกรรมของชายที่มีรสนิยมรักเพศเดียวกัน. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2551.

[6] ฮานี เวาะและ. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย] มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา; 2559.

[7] ทัศนีย์ จินตกานนท์. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารแพทย์เขต 4 – 5 2562; 38(2): 114 – 24 .

[8] สุทิน มณีชมพู. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่; 2562.

[9] Orem, D.E. Nursing :Concepts of practice . 2 nd . ed ., New York : McGraw – Hill Book Company; 1983.

[10] ขนิษฐา รักษาเคน สุรชาติสิทธิปกรณ์ และอภิญญา วงศ์พิริยโยธา. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย ภาวะซึมเศร้า กับคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองภายหลังเกิดอาการ 6 เดือนแรก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม 2558; 33(6) : 686 – 94.

[11] ดวงมาลย์ คำหม่อม. ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และทักษะของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2563; 28(1) : 93 – 106.

[12] สุภัทรา ผิวขาว ชนกพร จิตปัญญา และสุนิดา ปรีชาวงษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญปัญหาการสนับสนุนทางสังคมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก. วารสาร มฉก.วิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2560; 21(41) : 123 – 36.

[13] Bays CL. Quality of life of stroke survivors: A research synthesis. Journal of Neuroscience Nursing 2001; 33(6): 310 – 6.

ดาวน์โหลด