บทความวิจัย



พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ สถาบันราชประชาสมาสัย  Self-Care Behavior of Patients with Allergic Rhinitis, Raj-Pracha Samasai Institute.

กรรณิกา เอี่ยมอุดมสุข และสำลิต เรืองสุรีย์
    สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. พระประแดง. สมุทรปราการ. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาประชากรทั้งหมดคือผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ที่คลินิกหู คอ จมูก สถาบันราชประชาสมาสัย ระหว่างเดือนมีนาคม 2565 -สิงหาคม 2565 รวม 100 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย โดยประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEED MODEL เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อยู่ในระดับปานกลาง(=2.10, S.D.=0.25) และ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยนำมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการกำจัดและหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ (2=10.120,p<0.05) ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการใช้ยา (2=48.368,p<0.05) ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการพบแพทย์ (2=36.597,p<0.05) ดังนั้น ทีมดูแลผู้ป่วยควรให้ความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับวิถีการดำรงชีวิตของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม ช่วยลดอาการรุนแรง ป้องกันการกำเริบและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้


คำสำคัญ : พฤติกรรมการดูแลตนเอง; ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

The Purposes of this descriptive research were to study 100 patients with Allergic Rhinitis in ENT clinic, Raj-Pracha Samasai Institute, from March-August 2022, patient’s self-care behavior and the relationship of predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors to self-care behavior. Applied PRECEDE MODEL. Data were collected by questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Chi-square Analysis.

The research findings were as follows. (1) The level of patient’s self-care behavior was moderate (=2.10, S.D.=0.25)and (2) All factors related to self-care behaviors significantly at 0.05, predisposing factors and eliminate had relationship with avoidance allergy (2=10.120,p<0.05), enabling factors with drug use(2=48.368,p<0.05) and reinforcing factors with seeing the doctor(2=36.597,p<0.05). Therefore patient care team should giving health education individual life styles, appropriate self-care behavior, decrease severe symptoms, prevention of exacerbation and complication from allergic rhinitis.


keywords : Self-care Behavior; Patients with Allergic Rhinitis

อ้างอิง


[1] ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยและการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงชุมชนกะเหรี่ยงรวมมิตร ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(2) : 158 – 67.

[2] นรลักขณ์ เอื้อกิจ และลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี.การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEED MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 12(1) : 38-48.

[3] P van Cauwenberge et al . Consensus statement on the treatment of allergic rhinitis European Academy of Allergology and Clinical Immunology.[online].(9 October 2008) [Cited 1 December 2019]. Available from https://pubmed.ncbi.nlm. nih.gov/10726726/

[4] สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจ. Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis Management.Srinagarind Med J 2011; [26][suppl] : 20-29. .[ออนไลน์].(2554) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://202.28.95.4/library/main/ eproceeding/11-20.pdf

[5] ปิยะสกล สกลสัตยาทร. คนไทยป่วยโรคภูมิแพ้เพิ่ม 3-4 เท่า. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2562] เข้าถึงได้จากhttps://www.rajavithi.go.th/rj/?p =2066.

[6] ปารยะ อาศนะเสน.โรคภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis). [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www. rcot.org/pdf/Allergic_Rhinitis.pdf

[7] ปารยะ อาศนะเสน. โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ตอนที่ 1. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https:// www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl /admin/article_files/471_1.pdf

[8] ปารยะ อาศนะเสน. แนวทางรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ในปัจจุบัน. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ธค.2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol .ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/ 1262_ 1.pdf.

[9] สมาคมแพทย์โรคจมูก ราชวิทยาลัยโสต นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย.แนวทางการตรวจพัฒนารักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในคนไทย. [ออนไลน์]. (2554). [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.rcot.org /datafile/_file/_doctor/ d7e0cb0b21c47bcf747da6d863f8a7ce.pdf.

[10] มาลินี ทองดี และคณะ. การศึกษาคุณภาพชีวิตและอาการทางจมูกของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เรื้อรังเปรียบเทียบก่อนและหลังรักษา.[ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2563].เข้าถึงได้จาก https : //www.tci-thaijo.org/index.php./rama journal/article/download/149814/138413

[11] นนธนันท์ เจ็งสืบสันต์ และคณะ.อาการเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้กับการเปลี่ยนชุดเครื่องนอนของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2558. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก www.med .swc.ac.th/research/images/60-3-20/33-43.pdf.

[12] ปรียานุช นิธิรุ่งเรือง และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันอาการภูมิแพ้ในเด็กวัยเรียน.วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27(2): 1 – 13.

[13] ปรียานุช นิธิรุ่งเรือง และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้.วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556; 27(3) : 94.

[14] อรวรรณ มุขตา.พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรงพยาบาลพัทลุง.2558. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://srth.moph.go.th/ region11_journal/document/Y29N4/13.pdf

[15] พรอารีย์ บุนเทียม. พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้:ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล ตำรวจ.[ออนไลน์]. (2553). [เข้าถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org /index.php /policenurse/srticle/view/23505.

[16] อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ.แรงสนับสนุนทาง

สังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน.[ออนไลน์]. (2553). [เข้าถึงเมื่อ11 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https: //www.rama.mahidol.ac.th/nursing/sites/ default/files/public/journal/2553/issue_02/10.pdf

[17] นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม

สุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม

2563]. เข้าถึงได้จาก http://ojslib3.buu.in. th/index.php/health/article/view/4162

ดาวน์โหลด