บทความวิจัย



การสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองเด็กถูกทารุณกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  Social Support for Parents of Abused Children: A Case Study at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital

ชัญญ์ชนพร กระลาม
    โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองเด็กถูกทารุณกรรมและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองเด็กถูกทารุณกรรม ศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองของเด็กที่ถูกทารุณกรรม ที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 97 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของผู้รับบริการ และผู้ปกครอง ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติเชิงอนุมาน เพื่อปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองเด็กถูกทารุณกรรม โดยใช้สถิติ Chi-square และ Fisher exact test และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ของผู้ปกครองได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก เฉลี่ยเท่ากับ 3.91 เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ด้านข่าวสาร ด้านการประเมินคุณค่า ด้านทรัพยากร ได้รับการสนับสนุนทางสังคมระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00, 3.93, 3.90 และ 3.84 ตามลำดับ ในส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ปกครองเด็กที่ถูกทารุณกรรม คือ สัมพันธภาพในครอบครัว โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ปกครองเด็กที่ถูกทารุณกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ ของผู้รับบริการ และของผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ปกครองเด็กถูกทารุณกรรม ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาของผู้รับบริการ หรือเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ ความเพียงพอของรายได้ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ปกครอง

ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กถูกทารุณกรรม ยังมีความรู้สึกสับสน และเป็นกังวลต่อการเลี้ยงดูเด็ก รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือ เมื่อขาดแคลนของใช้ เสื้อผ้า อาหาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดูแลเด็ก นักสังคมสงเคราะห์ต้องเข้ามีบทบาทในการสนับสนุนทางสังคมให้กับผู้ปกครอง โดยเป็นผู้สนับสนุน ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อที่จะให้ผู้ปกครองได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่เหมาะสม รวมถึงมีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้


คำสำคัญ : การสนับสนุนทางสังคม; ผู้ปกครอง; เด็กถูกทารุณกรรม

The purpose of this survey was to study social support for parents of abused children and to examine factors related to social support for parents of abused children in a case-by-case study at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. The sample consisted of 97 parents of abused children admitted to Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Questionnaires were used to collect data. The statistics used in the data analysis were as follows: (1) Descriptive statistics to describe the general characteristics of the service recipients and of their parents, namely percentage, mean, minimum, maximum, and standard deviation. (2) Inferential statistics for factors related to social support for parents of abused children using Chi-square and Fisher exact test statistics and Pearson Correlation Coefficiency.

The results showed that the majority of parents had a high level of social support. The mean value was 3.91 When considering each aspect of the social support, it was found that the emotional aspect, the information aspect, and the valuation aspect received a high level of social support. The mean values were 4.00, 3.93, 3.90 and 3.84, respectively. The factor affecting social support for parents of abused children is family relationships. This factor positively correlated with social support for parents of abused child statistic significantly at the level of 0.01 Other personal factors of the service recipients had no relationship with social support for parents of abused children, regardless of their gender, age, marital status, educational level. Other personal factors of the parents had no relationship with social support for parents of abused children, regardless of their gender, age, marital status, educational level, occupation, income sufficiency and parental self-esteem.

Therefore, parents of abused children are also confused and worried about raising them including getting help. When there is a shortage of supplies, clothing, food, and equipment required for childcare, social workers must take an active role in social support for parents by providing support, mentoring, advice in order to provide parents with appropriate social support so they can be strong and self-reliant.


keywords : Social Support; Parents; Child Abuse

อ้างอิง


[1] World Healh Organization. Child maltreatment. [Online]. (2020). [Cited 2021 November 28]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets /detail/child-maltreatment

[2] Know Violence in Childhood. Ending Violemce in Childhood. Global Report 2017. Know Violence in Childhood. New Delhi, India; 2017.

[3] กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงของศูนย์พึ่งได้. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://phdb.moph.go.th

[4] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.

[5] ราตรี แฉล้มวารี. การปฏิบัติงานสหวิชาชีพในการช่วยเหลือเด็กถูกทารุณกรรม [การค้นคว้าอิสระปริญญาคหกรรมศาสตร มหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.

[6] ทัศนีย์ คนเล ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ และมณีรัตน์ ภาคธูป. ประสบการณ์ของการถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยรุ่นหญิง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2553; 3(2) : 57 – 71.

[7] วิฐารณ บุญสิทธิ และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติการช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรมในระดับโรงพยาบาล. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2557; 53(3) : 168.

[8] วัลลภา กิตติมาสกุล. ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่ออาการซึมเศร้าของวัยรุ่นที่ถูกทารุณกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์; 2560.

[9] นุชนาฎ ยูฮันเงาะ. รูปแบบการบริหารจัดการรายกรณีเพื่อการคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงในสังคมไทย [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2561.

[10] พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120, ตอนที่ 95 ก (ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2546).

[11] House, J. S.. Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley; 1981.

[12] ขนิษฐา หะยีมะแซ. การศึกษาเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมในผู้ดูแลเด็กกลุ่มอาการออทิซึมและเด็กพัฒนาการสมวัยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

[13] จินตนา สมนึก. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจาวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับภาระในการดูแลและความต้องการการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลที่บ้าน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2540.

[14] พรพิมล พรแก้ว. ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว: กรณีศึกษาในคนพิการวัยทำงานที่กำลังเข้ารับการฝึกอาชีพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

[15] พรนภา เจริญสันต์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหวในจังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

[16] อินทิรา มหาวีรานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

[17] พัชราวดี สารวุฒิขันธ์. การสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น: กรณีศึกษาโรงพยาบาลศรีธัญญา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

[18] กัญญา ศรีตะวัน. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความเบื่อหน่ายของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

[19] ณัฐพงศ์ เป็นลาภ. ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

[20] ปิยะพิมพ์ กิติสุธาธรรม. การยอมรับและการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัว. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

[21] สุณัฐชณา แสนมานิตย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.

[22] กนกวรรณ ภัทรมัย. การสนับสนุนทางสังคมและภาระในผู้ดูแลเด็กโรคธาลัสซีเมีย [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย- เชียงใหม่; 2559.

[23] สิริกรานต์ สุทธิสมพร. ปัจจัยทำนายการจัดการครอบครัวในผู้ดูแลเด็กโรคหืด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

[24] ภาวิณี พรหมบุตร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในญาติผู้ดุแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

[25] จิรศักดิ์ ประจงบัว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

[26] สกาวรัตน์ ตั้งจิตถนอม. ภาวะซึมเศร้าของผู้ปกครอง และสัมพันธภาพในครอบครัวของเด็กโรคไตเรื้อรังในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

[27] จรัญ ผดุงนานนท์. การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่นที่มารับบริการ ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี; 2553.

[28] อริญาพร จันทราสินธุ์. การสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษา โรงพยาบาลนครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

[29] ลิธัฏ ชูโต. การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในครอบครัว สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. [สารนิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2553.

ดาวน์โหลด