บทความวิจัย



รูปแบบการบริหารจัดการของนโยบายระบบสุขภาพชุมชนโดยการมีส่วนร่วมในงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา  Management Model of Participation Community Health System Policy in Prevention and Control of Coronavirus 2019 Ban Koh Subdistrict Mueang Nakhon Ratchasima District Nakhon Ratchasima Province.

ประยูร ยุพิน
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศีรษะละเลิง . เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการดำเนินงาน และการนำรูปแบบการบริหารจัดการของนโยบายระบบสุขภาพชุมชนไปปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมในงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน อายุ 35 - 75 ปี จำนวน 201 คน จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงของประชากร อายุ 35 - 75 ปี จำนวน 416 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความแปรปรวน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 76.1 มีอายุระหว่าง 56-65 ปี จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คู่ จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 66.2 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 53.7 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 99 คน คิดเป็น ร้อยละ 49.3 มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 3,000-10,000 บาท จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 40.8 ทุกคนนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านความรู้ การรับรู้ประโยชน์และพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งยังพบว่า อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน จะมีความรู้ การรับรู้ประโยชน์ พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารจัดการ; นโยบายระบบสุขภาพชุมชน; การมีส่วนร่วม; งานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

The purpose of Survey research. The objective for study system Management Model of Participation in Prevention and Control of Coronavirus 2019 Problems and obstacles to the operation and Management Model of Participation Community Health System Policy in Prevention and Control of Coronavirus 2019 by study from a sample is 35 – 75 years old of 201 people from a population of 416 people. The data gathering instrument were questionnaire and semantic differential scale. Include general data ,comments of knowledge, Perception of benefit and practice . The statistics that use in data analysis of Descriptive Statistics by use Statistical Package for the Social Science.

The research finding were as follows. The majority of them were female, with 153 people or 76.1 percent. Age 56 – 65 year, 66 people, accounting for 32.8 percent. Most of them have marital status is marry of 133 people or 66.2 percent. Primary School of 108 people or 53.7 percent. Most of them work in private business / hire of 99 people or 49.3 percent. Monthly income between 3,000 - 10,000 bath of 82 people or 40.8 percent. Everybody respects the Buddhism or 100 percentages. Knowledge, Perception of benefit and Practice in the overall is very level of Approximation is at .05 moreover meet that Age, Marital status, Education level, Occupation and Monthly income is different will have Knowledge ,Perception of benefit and Practice of different of Approximation is at .05


keywords : Management Model of Participation; Participation Community Health System Policy; Prevention and Control of Coronavirus 2019

อ้างอิง


[1] กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

การป้องกันและควบคุมโรคโรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 DMHTTA. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โบรชัวร์ กรุงเทพฯ; 2563

[2] วรฉัตร เรสลี. โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคติดเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019. สมุทรปราการ: บริษัทพิมพ์รุ่ง อินเตอร์ พริ้น จำกัด; 2563.

[3] กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.; 2563.

[4] สุพักตร์ พิบูลย์. บทความ ปัญหาการใช้ช่วงระดับคะแนนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 5 ระดับช่วง.จุลสารทางสถิติของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555

[5] วิเชียร เกตุสิงห์. การประยุกต์ใช้การแบ่งช่วงระดับความคิดเห็น 3 ระดับช่วง. จุลสารทางสถิติของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558

[6] มงคล จันทร์ส่อง. ระดับความรู้และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของสมาชิกอบต. อําเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม; 2555

[7] Governor JB Pritzker. People Participation Affecting Local Development In Chicago; 2019

[8] จิตตานันท์ ติกุล และคณะ. รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/ handle/123456789/7919

[9] กรรณิการ์ เหมือนประเสริฐ. ทัศนคติของพนักงาน ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรมการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรบริษัท คูเวต ปิโตเลียม (ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์; 2558.

ดาวน์โหลด