บทความวิจัย



ผลของรูปแบบการให้บริการการเฝ้าระวังผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้กักตัว ในสถานกักกันตัวแห่งรัฐตามแนวทางการดูแลสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสังกัดกรมสุขภาพจิต  The Result of Surveillance Services for Mental Health Problems among Detainees in state Detention Centers In Accordance with the Guidelines for Mental Health care for Healthcare Professionals and Related staff of Department of Mental Health.

ชนิกรรดา ไทยสังคม
    กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. เมืองนนทบุรี. นนทบุรี. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการให้บริการการเฝ้าระวังผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้กักตัวในสถานกักกันตัวแห่งรัฐ ตามแนวทางการดูแลสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสังกัดกรมสุขภาพจิต เป็นการศึกษาวิจัยแบบ retrospective descriptive study ใช้ข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลของผู้กักกันตัวใน State Quarantine โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบรายงานผลการดำเนินงานในรูปแบบ google sheet ระหว่าง เมษายน 2563 ถึง กรกฎาคม 2564 จำนวน 1,599 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมจากแบบรายงานข้อคิดเห็นการใช้รูปแบบการให้บริการการเฝ้าระวัง ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มผู้กักตัวในสถานกักกันตัวแห่งรัฐ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการเปรียบเทียบคะแนนการประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นก่อนและหลัง ด้วยสถิติ pair t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดกลุ่มหัวข้อหรือประเด็นโดยใช้การวิเคราะห์สรุปอุปนัย (analytic induction)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,599 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.2 เพศชาย ร้อยละ 43.8 มีอายุอยู่ระหว่าง 35 - 60 ปี ร้อยละ 46.8 มีอายุเฉลี่ย 38.59 ปี การประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นก่อนและหลัง พบความเครียดระดับน้อยร้อยละ 92.4, 98.3 ไม่มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 92.4, 99.1 และไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายร้อยละ 98.4, 99.2 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้เข้าพักในช่วงแรกกับช่วงหลังการกักตัว พบว่า ระดับความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงฆ่าตัวตายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การใช้แนวทางการดูแลสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดถึงร้อยละ 83.8 เนื่องจากแนวปฏิบัติมีความชัดเจนในการดูแลสุขภาพจิต ขั้นตอนการดำเนินงาน การบริหารจัดการทีม การประสานงาน และการส่งต่อรักษาทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ


คำสำคัญ : แนวทางการดูแลสุขภาพจิต; สถานกักกันตัวแห่งรัฐ; ปัญหาสุขภาพจิต

The objective of this research were To study the effect of a surveillance service model for people with mental health problems among detainees in state detention centers. According to the guidelines for mental health care for medical personnel and related staff under the Department of Mental Health. Research study The Retrospective descriptive study used retrospective data from the State Quarantine detainee database by collecting quantitative data from a google sheet performance report form between April 2020 and July 2021 for 1,599 participants, and qualitative data from a retrospective descriptive study. Commentary on the use of a surveillance service model for people with mental health problems among detainees in state detention centers Quantitative data were analyzed by number, percentage, mean and standard deviation. Comparison of pre- and post-preliminary mental health assessment scores with pair t-test statistics. Qualitative data were analyzed by grouping topics or issues using Analytic Induction.

The analysis found that, the sample consisted of 1,599 most of them were 56.2 percent female, 43.8% were male, aged between 35 - 60 years, 46.8%, mean age 38.59 years. From the pre and post- assessment mental health scores, it was found that 92.4%, 98.3% had mild stress, 92.4% did not have depression, 99.1%. There were not 98.4%, 99.2 percent, suicidal tendencies respectively. Comparing the first and second periods, stress, depression and suicide risk levels were significantly reduced at the 0.05 level. Using the mental health care guidelines for healthcare professionals overall had the highest satisfaction level at 83.8 percent because the guidelines were clear in mental health care. Operation procedure Team management, coordination and referrals make operations efficient.


keywords : Guidance for mental Health care of State Quarantine Facilities; State Quarantine

อ้างอิง


[1] World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) outbreak. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/ emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019.

[2] World Health Organization. WHO Director-General opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020. [ออนไลน์] . (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564].เข้าถึงได้จาก https:// www.who.int/dg/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remasks-at-the-media-briefing-on-covid-19 -11March 2020.

[3] กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https:// ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

[4] รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaigov.go.th/news /contents/details/26677.pdf

[5] กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการสถานที่กักกันซึ่งราชการกำหนด (State Quarantine: SQ). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563.

[6] Brooks, S. K., Webster, R. K., Smith, L. E., Woodland, L., Wessely, S., Greenberg, N., & Rubin, G. J. The psychological impact of quarantine and how to reduce it: Rapid review of the evidence. The Lancet; 2020.

[7] World Health Organization.Mental Health and Psychosocial Considerations During COVID-19 Outbreak.[online]. (2020). [cited December 23, 2020]. Available from : https://dmh.go.th/covid19/ download/ files/WHO_12MARCH.pdf

[8] Yunhe Wang, Le Shi, Jianyu Que, Qingdong Lu, et al, 2021. The impact of quarantine on mental health status among general population in China during the COVID-19 pandemic 26 :4813–22. Molecular Psychiatry; 2021.

[9] นิติรัตน์ พูลสวัสดิ์ และคณะ. ความคิดเห็นของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศต่อการจัดบริการของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ณ พื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐในการป้องกันการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 20195 วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2563; 1 : 1 – 12.

[10] Lu W, Yuan L, Xu J, Xue F, Zhao B, Webster C, 2020. The Psychological Effects of Quarantine During COVID-19 Outbreak: Sentiment Analysis of Social Media Data. SSRN (2020). [cited December 23, 2020 ]. Available from : https://ssrn.com/abstract=3627268.pdf

[11] Bo HX, Li W, Yang Y, Wang Y, Zhang Q, Cheung T, et al. Posttraumatic stress symptoms and attitude toward crisis mental health services among clinically stable patients with COVID-19 in China. Psychological Medicine 2021; 51(6) : 1-2.

[12] ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. แนวทางการดูแลจิตใจในโรงพยาบาลสนาม. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563.

ดาวน์โหลด