บทความวิจัย



การศึกษาคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลสนามปากช่องนานา  A Study of the Quality of chest Radiographs in COVID-19 Patients at Pakchongnana Field Hospital

ประไพพิศ พรมมา
    โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา. ปากช่อง. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกและประเทศไทยรวมทั้งที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ภาพถ่ายรังสีทรวงอกมีความสำคัญในการวินิจฉัยและประเมินภาวะปอดอักเสบจากโควิด-19 เพื่อใช้ในการคัดแยกกลุ่มผู้ป่วยสำหรับการบริหารจัดการและดูแลรักษาผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาในโรงพยาบาลสนามปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2565 จำนวน 291 ราย โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและระบบจัดเก็บภาพถ่ายรังสี โรงพยาบาลปากช่องนานา ประเมินภาพถ่ายรังสีโดยรังสีแพทย์

จากการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาในโรงพยาบาลสนามปากช่องนานาและถ่ายภาพรังสีทรวงอกในท่า Posteroanterior (PA) เป็นชาย 102 ราย (ร้อยละ 35.5) หญิง 189 ราย (ร้อยละ 64.95) มีอายุระหว่าง 8 ถึง 92 ปี เฉลี่ย 48.74±22.36 ปี น้ำหนักตั้งแต่ 34 ถึง 150 กิโลกรัม เฉลี่ย 71.1±21.47 กิโลกรัม ส่วนสูงตั้งแต่ 95 ถึง 195 เซนติเมตร เฉลี่ย 160.13±9.83 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 15.11 ถึง 56.19 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เฉลี่ย 27.52±7.16 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีโรคประจำตัว 119 ราย (ร้อยละ 40.89) ไม่มีโรคประจำตัว 172 ราย (ร้อยละ 59.11) และผลการประเมินภาพถ่ายรังสีทรวงอกในผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 291 ภาพ อยู่ในเกณฑ์ดีมากจำนวน 288 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 98.97 และอยู่ในเกณฑ์ดีจำนวน 3 ภาพคิดเป็นร้อยละ 1.03 ค่าเฉลี่ย 2.77±0.14 จากผลการศึกษา ทำให้มั่นใจได้ว่าภาพรังสีทรวงอกที่ได้ ช่วยให้แพทย์สามารถคัดแยกผู้ป่วยเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามเกณฑ์ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกและเป็นมาตรฐานเดียวกัน


คำสำคัญ : โควิด-19; ภาพถ่ายรังสีทรวงอก; คุณภาพ

Covid-19, a new disease it has spread throughout the world and also in Pakchong District, Nakhon Ratchasima Province, Thailand. Most infected people had respiratory symptoms. Chest radiographs were important in diagnosing and evaluating pathology of COVID-19 pneumonia. To be used to divided patient groups for management and patient care. This study was a descriptive retrospective study. The objective was to study the quality of chest radiographs in patients with COVID-19, who treated in Pakchongnana field hospital, Nakhon Ratchasima Province from January 1, 2022 to March 31, 2022. There were 291 patients and collected the information from the electronic patient medical records and radiographic storage system of Pakchongnana hospital. Assessment of chest radiographs in COVID-19 patients by radiologists based on principles and benchmarks.

The result of the study was found that the patients who were infected with COVID-19 and were treated in Pakchongnana field hospital and performed chest radiographs in the Posteroanterior (PA) consisted of 102 males (35.5%), 189 females (64.95%), aged from 8 to 92 years, mean 48.74±22.36 years, weighed from 34 to 150 kg, mean 71.1±21.47 kg. , height ranged from 95 to 195 centimeters, averaged 160.13±9.83 centimeters, a body mass index ranging from 15.11 to 56.19 kilograms per square meter, 27.52±7.16 kilograms per square meter. There were 119 cases who have a congenital disease (40.89%) and 172 cases who no have a congenital disease (59.11%). The evaluation of chest radiographs in COVID-19 patients from 291 images were found that, there were 288 images of the highest quality chest radiographs, 98.97%, and there were 3 images of good quality chest radiographs represented 1.03%, mean 2.77±0.14. The result of chest radiographs were useful for doctors to divide the patients into each groups by correctly, quickly, convenient and standardized.


keywords : Covid-19; Chest radiographs; Quality

อ้างอิง


[1] ศรสุภา ลิ้มเจริญ, จิตราพร อินทรารักษ์. ภาพวินิจฉัยทางรังสีวิทยาในผู้ป่วยโควิด-19. บูรพาเวชสาร 2563; 7(1):103 – 12.

[2] อนุตรา รัตน์นราทร. ลักษณะทางคลินิกและภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากโควิด 19 ที่สถาบันบำราศนราดูร. วารสารควบคุมโรค 2563; 46(4): 540 - 50.

[3] ฐิติพร สุวัฒนะพงศ์เชฏ, ชญานิน นิติวรางกร, วราวุฒิ สุขเกษม, สิทธิ์ พงษ์กิจการุณ. Rama Co-RADS: เกณฑ์คัดแยกระดับความผิดปกติจากภาพรังสีทรวงอกสำหรับการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยยืนยันโควิด-19. วารสารรามาธิบดีเวชรสาร 2564 ; 44(2): 50 – 62.

[4] วริสรา กิตติวพงษ์กิจ. การดำเนินโรคและการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวที่พบในภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่โรงพยาบาลพะเยา. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2564; 12(1) : 149 – 67.

[5] ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจทางรังสี ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19. [ออนไลน์]. (2563). [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.rcrt.or.th/wp-content/ uploads/2020/04/แนวทางการตรวจทางรังสี-ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ-COVID-19-แก้ไข.pdf

[6] European Guidelines on Quality Criteria for Diagnostic Radiographic Images. Brussels, European Commission; 1996.

[7] Stephen M. Ellis, Christopher Flower. The WHO manual of diagnostic imaging [Internet]. World Health Organization. 2012[cited 2022 Jul 6]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item /9241546778

[8] ปรีชา เติมจิตรอารีย์. เอ็กซเรย์เทคโนโลยี่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2533.

[9] วรรณพร บุรีวงษ์. รังสีวิทยาระบบทางเดินหายใจ[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://med.swu.ac.th /radiology/images/stories/Education/chest%20%20cvs%202014.pdf

[10] อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร 2561; 44(1): 36 – 42.

[11] วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพ ฯ : กองการวิจัย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2538.

[12] สกันยา โกยทรัพย์สิน. ลักษณะภาพถ่ายรังสีปอดของผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลป่าตอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): 26 – 32.

ดาวน์โหลด