บทความวิจัย



ประเมินผลยุทธศาสตร์ควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560-2564  Evaluation of Strategy Implementation to Control and Prevent Iodine Deficiency Disorder among Pregnant Women in Health Region 9, 2017-2021

สุจิตรา สุมนนอก* และชัชฎา ประจุดทะเก**
    ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. เมืองนครราชสีมา. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการใช้แบบจำลองซิป (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผล

การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในเขตสุขภาพที่ 9 โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และหญิงตั้งครรภ์รายเก่า เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – มิถุนายน 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด และทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษา พบว่า เขตสุขภาพที่ 9 ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์โดยขับเคลื่อนผ่านโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต โดยมีการปรับกิจกรรมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยุทธศาสตร์ที่ไม่ได้ดำเนินการคือ การวิจัยพัฒนาเนื่องจากผู้ปฏิบัติมีภาระงานบริการและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนระดับดีร้อยละ 63.2 ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกคน รับประทานยาทุกวันร้อยละ 90.1 ค่ามัธยฐานปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะอยู่ในเกณฑ์ปกติคือเท่ากับ 158.80 ไมโครกรัมต่อลิตร พบหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอร้อยละ 46.5 คุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนครัวเรือนหญิงตั้งครรภ์และระดับไอโอดีนในปัสสาวะไม่มีความสัมพันธ์กัน (r = 0.41) ดั้งนั้น จึงควรติดตามประสิทธิผลการรับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีน(Medication compliance) ศูนย์วิชาการควรมีบทบาทในการวิจัยเพื่อสนับสนุนวิชาการในพื้นที่


คำสำคัญ : การควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน; การประเมินผล; หญิงตั้งครรภ์

The objective of this study using the CIPP model was to evaluate interventions according to the strategies to control and prevent iodine deficiency among pregnant women in health region 9. The data were collected during October 2020 and June 2021 with administrators, practitioners, and previous pregnant women. Research instrument was a questionnaire developed by the researchers. Statistics used in the study included percentages, median, min, max and Spearman’s correlation coefficients.

The results showed that the health region 9 utilized the First 1,000 Days of Life Miracle Project as means to control and prevent iodine deficiency in pregnant women with fewer activities that the regular program to reduce risks of contracting COVID-19. Strategy that was not implemented was research and development due to staff’s overburden with COVID-19 pandemic. Pregnant women’s knowledge on iodine deficiency was at a good level (63.2 %). All pregnant women received iodine supplements and 90.1 percent reported taking the supplements every day. Median iodine urine met the recommended level of 158.8 micrograms per deciliter. It was found that 46.5 percent of pregnant women received inadequate iodine. there was no relationship between the quality of iodized salt in the household and urine iodine concentrations in pregnant women (r=0.41). The effectiveness evaluations of medication compliance on iodine supplements are recommended. Academic centers in health region 9 are encouraged to provide technical supports in these issues.


keywords : Control and prevention of iodine deficiency; Evaluation; Pregnant women

อ้างอิง


[1] Li M, Eastman CJ. The changing epidemiology of iodine deficiency. Nat Rev Endocrinol 2012; 8: 434 – 40.

[2] Delong GR. Observations on the neurology of endemic cretinism.in: Delong GR, Robbins J, Condliffe PG, eds. Iodine and the brain. New York, Plenum Press, 1989: 231ff.

[3] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. (2564) [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:http://nutritionanamai.moph.go.th/iodine deficiency

[4] สภานานาชาติเพื่อการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการสู่ เป้าหมายการขจัดโรคขาดสารไอโอดีนอย่างยั่งยืนในประเทศไทย. การทบทวนโครงการขจัดโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก พ.ศ. 2552.กรุงเทพ : Keen media (Thailand); 2552.

[5] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน(กรกฎาคม 2555 –กันยายน 2557). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.

[6] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

[7] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน (พฤษภาคม 2561-มิถุนายน 2563).กรุงเทพฯ:บริษัทสามเจริญ(กรุงเทพ) จำกัด; 2563.

[8] Stufflebeam DL. CIPP EVALUATION MODELCHECKLIST 2nd ed. A tool of evaluation model: Viewpoints evaluation and human; 2007.

[9] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ)จำกัด; 2558.

[10] สมพงษ์ ชัยโอภานนท์. วิจัยประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2560 ;40(3) : 100 - 14.

[11] สัญชัย ปิยะพงษ์กุล สิริพร สุต้น สมพร แวงแก้ว และคณะ. ประสิทธิผลกระบวนการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนจังหวัดอุดรธานี 2553. [ออนไลน์]. (2553). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 31มีนาคม 2565] เข้าถึงได้จาก : www.udo.moph.go.th

[12] สุจิตรา สุมนนอก และศรีประภา ลุนละวงศ์. สถานการณ์ภาวะขาดสารไอโอดีนของกลุ่มเสี่ยงในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2554-2562.ม.ป.ท.; ม.ป.ป.

[13] สมพงษ์ ชัยโอภานนท์. สถานการณ์ของโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทยปี 2554-2558. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 7(2): 200 – 11.

[14] ประจักษ์ กึกก้อง ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ จันทนา ทองประยูร และคณะ. สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. วารสารสักทอง( มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2558; 21(2): 187 – 97.

[15] นพวรรณ ธีระพันธ์. การพัฒนาศักยภาพการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2559; 11(2): 205 – 14.

[16] สุจิตรา สุมนนอก และคณะ. ปริมาณการบริโภคสารไอโอดีนและระดับไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดนครราชสีมานครราชสีมา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 11 วันที่ 10- 12 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ; 2559.

[17] สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนและตรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน โครงการเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนแบบบูรณาการปี 2558. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิย์; 2560.

[18] สุจิตรา สุมนนอก ศรีประภา ลุนละวงศ์ และจีรวรรณ ชงจังหรีด. เรื่องประเมินผลการดำเนินงานตาม นโยบายควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในเขตสุขภาพที่ 9. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563; 14(34): 224 – 42.

[19] สุภาภัค สิงห์เสนา, เบญจา มุกตพันธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558; 12(3): 161 – 71.

ดาวน์โหลด