บทความวิจัย



แนวทางการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา  Guidelines for the Operation of Village Health Volunteers in Controlling and Preventing Coronavirus 2019 Infection, Mueang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima

ณัฐมา เกิดสุวรรณ
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านเหลื่อม. บ้านเหลื่อม. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงาน พัฒนาแนวทางการดำเนินงาน และประเมินผลแนวทางการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 385 คน (2) ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระดับตำบล จำนวน 10 คน และ(3) บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) อำเภอเมืองนครราชสีมามีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ เพื่อกำกับ ติดตามการดำเนินงานการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งที่ถูกต้อง และไม่ถูกต้อง ส่วนด้านความพึงพอใจที่มีต่อการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ( =4.12, S.D. =.65) ส่วนความต้องการที่มีต่อการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ( =4.36, S.D. =.67) (2) แนวทางการดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดำเนินงานตามแนวคิดของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน ทั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมา ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม ได้แก่ การเข้าร่วมด่านชุมชน และรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ Covid-19 KORAT (3) การประเมินผลแนวทางการดำเนินงานภายใต้ snake model สามารถใช้งานได้จริง มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในบริบทที่ใกล้เคียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาได้ ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการอบรมเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับดำเนินการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ : การพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน; อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน; การควบคุมป้องกัน; โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

This research is action research. With the objective of studying the situation and operation, developing operational guidelines, and evaluating guidelines for the operation of village health volunteers in controlling and preventing coronavirus 2019 infection, Mueang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province. The samples in the research were divided into 3 groups.They are (1) Village Public Health Volunteers of 385 people, (2) the Chairman of Village Public Health Volunteers at sub-district level, amounting to 10 people, and (3) Medical and Public Health Personnel of 5. Instruments for research include document analysis, questionnaires, in-depth interviews, and group discussions.The quantitative data analysis by descriptive statistics was number, percentage, mean, and standard deviation. The qualitative data segment analyzed the data by classifying and grouping the data.

The results of the research revealed that (1) Mueang Nakhon Ratchasima District has established a district-level disease control operation center. To supervise and follow up on the prevention and control of the coronavirus disease in 2019. Village health volunteers are knowledgeable about the prevention and control of coronavirus disease 2019, both correct and incorrect, in terms of Coronavirus Disease 2019 prevention and control satisfaction. Overall, it is at a high level ( =4.12, S.D. =.65). The overall demand for coronavirus disease 2019 prevention and control is at a very high level ( =4.36, S.D. =.67). (2) Guidelines for the Operation of Village Health Volunteers It operates under the concept of a primary health care division. However, in Nakhon Ratchasima Province, additional guidelines have been established, including joining community checkpoints. and report the performance through the COVID-19 KORAT system. (3) Evaluation of operational guidelines under the snake model can be used in practice. be suitable and applicable in contexts close to Mueang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province. The suggestion is that there should be more training and knowledge about the prevention and control of the coronavirus disease 2019 for the village health volunteers continuously.


keywords : The Development of Operational Guidelines; Village Health Volunteers; Controlling and Preventing; Coronavirus 2019 Infection

อ้างอิง


[1] กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph. go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

[2] อมร ลีลารัศมี. ความรู้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สำหรับแพทย์ [ออนไลน์]. (2560). [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล : https://www. idthai.org/Contents/Views/ ?d=4bl1!31!2!!634!nNI3v2cL

[3] สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครราชสีมา. สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครราชสีมา; 2564.

[4] ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2554. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : http://www.Esanphc .net/ihsd/wp-content/uploads/2018/05/ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข-ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน-2554.pdf

[5] Yamane, T. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row; 1973.

[6] กิตติพร เนาว์สุวรรณ นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 25 – 36.

[7] กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางปฏิบัติสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการติดตามสังเกตอาการผู้ถูกกักกันบริเวณ ณ ที่พักอาศัย (home quarantine). นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. สำเนาอัด; 2563.

[8] ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. [ออนไลน์]. (2558). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.prachasan. com/mindmapknowledge/aic. html.

[9] Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass, 2007.

ดาวน์โหลด