บทความวิจัย



การพัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาแอมเฟตามิน ในโรงพยาบาลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  Modify Matrix Program Development For Amphetamine Users Nonsung Hospital, Amphur Nonsung, Nakhon Ratchasima Province.

อรณุช บาดกลาง
    โรงพยาบาลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. โนนสูง. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาแอมเฟตามิน ในโรงพยาบาลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เสพยาแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 25 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนมิถุนายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้ยาเสพติด และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.90 ตรวจสอบความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้เสพยาแอมเฟตามิน ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์ มีค่าเฉลี่ย 2.97 (S.D.= 0.73) หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมครบ 16 สัปดาห์ ผู้เสพยาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดในทางที่ดีขึ้น ค่าเฉลี่ย 3.60 (S.D.= 0.41) และติดตามประเมินผลหลังบำบัดครบ 1 เดือน ผู้เสพยามีพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดปรับเปลี่ยนในระดับสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ย 3.77 (S.D.= 0.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และผลของการเข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์เมื่อครบ 16 สัปดาห์ และหลังบำบัดครบ 1 เดือน ผู้เข้ารับการบำบัดครบตามกำหนด ร้อยละ 100 ผลตรวจไม่พบสารเสพติดในปัสสาวะ ร้อยละ 100 หยุดเสพได้ทั้งหมดและไม่พบการกลับไปเสพติดซ้ำ ทั้งนี้ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง (X ̅ = 4.50 S.D.=0.256) สรุปผลการวิจัยได้ว่า โปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เสพยา แอมเฟตามีน พัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลใกล้ชิด นำไปสู่การเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดีอย่างยั่งยืน เพื่อกลับมาเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าต่อครอบครัว สังคมต่อไป


คำสำคัญ : โปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์; การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม; ผู้เสพยาแอมเฟตามีน

This research was conducted in the form of an action research aiming to develop Modify Matrix Program for Amphetamine Users in Nonsung Hospital, Amphur Nonsung, Nakhon Ratchasima. The sample group consisted of 25 amphetamine users, obtained from using purposive sampling. Data were collected from December 2018 to June 2019. Research tool was Modify Matrix Program for Amphetamine Users. Tools used for collecting data were: interview forms for collecting personal data and data on drugs use behavior; and interview form on satisfaction. Content validity was 0.90 and reliability of Cronbach’s Alpha Coefficient was tested to be 0.86. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics and paired t-test.

The results of comparison on behaviors of amphetamine users before and after joining Modify Matrix Program revealed that the mean of drugs use behavior of amphetamine users before joining this program was 2.97 (S.D. = 0.73). After joining Modify Matrix Program for 16 weeks, amphetamine users modified their drug use behaviors in better way with the mean of 3.60 (S.D.=0.41). The results of observation and evaluation after 1 month of treatment, amphetamine users adjusted their drug use behaviors in higher level with the mean of 3.77 (S.D. = 0.14) and statistical significance (p < 0.5). The results obtained from participating in Modify Matrix Program for 16 weeks and observing for 1 month after treatment revealed that amphetamine users were completely treated as scheduled that was calculated to be 100% and no addictive substance was found in their urine that was calculated to be 100%. In addition, they were able to stop using amphetamine completely without going back to use amphetamine again. Overall satisfaction towards activities in Modify Matrix Program was in high level (X ̅ = 4.50 S.D.=0.256). The results could be concluded that Modify Matrix Program could modify behaviors of amphetamine users development for building good relationship. It was also considered as self-development leading to good personality for becoming valuable members of their families and Thai society sustainably.


keywords : Modify Matrix Program; Behavior Modification; Amphetamine Users

อ้างอิง


[1] United Nations Office on Drugs and Crime. World drug report 2013. Geneva: UNODC; 2013.

[2] คณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กร วิชาการสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. สถานภาพยาและการใช้สารเสพติด พ.ศ. 2554 การสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2555.

[3] สำนักยุทธศาสตร์. สรุปสถานการณ์ยาเสพติดปี 2555 และแนวโน้มของปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2556.

[4] Fawcett, C. S. Family Psychiatric Nursing. St Louis: Mosby; 1993.

[5] อารี สุภาวงศ์. ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดแบบประยุกต์โรงพยาบาลทุ่งสง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559; 36 (ฉบับพิเศษ): 160-170.

[6] งานยาเสพติด โรงพยาบาลโนนสูง. แบบประเมินตนเอง งานยาเสพติด โรงพยาบาลโนนสูง ปีงบประมาณ 2560. โรงพยาบาลโนนสูง; 2560.

[7] สถาบันบำบัดการรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. คู่มือผู้ปฏิบัติงาน (therapist Manual) การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดแบบผู้ป่วยนอก รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรม: Matrix Program. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2558.

[8] Kolb, D. A. Experiential learning: Experience as the source of learning and development (Vol. 1). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1984.

[9] อัจฉรา เกตุรัตนกุล, พรทิพย์ เอมอ่อน และอรนุช บุญสองชั้น. ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Pre treatment for Matrix Program) ของผู้ติดยาเสพติด ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี; 2558.

[10] ไพวัล อาจหาญ. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติด. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

ดาวน์โหลด