บทความวิจัย



ประสิทธิผลการใช้น้ำยาบ้วนปากคลอร์เฮกซิดีนในการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์  Effectiveness of Chlorhexidine Mouthwash in Oral Health Care of Pregnant Women

รัตติกาล รุ่งเรือง
    โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. เฉลิมพระเกียรติ. นครราชสีมา. (2565)

บทคัดย่อ/Abstract


การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้น้ำยาบ้วนปากคลอร์เฮกซิดีน 0.12% และอาการไม่พึงประสงค์ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 - มกราคม 2565 แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน ทั้งนี้กลุ่มทดลอง ให้แปรงฟันด้วยยาสีฟัน เช้าและก่อนนอน แล้วหลังจากนั้น 30 นาที ให้ใช้น้ำยาคลอร์เฮกซิดีน 0.12% อมบ้วนปากครั้งละ 10 - 20 มิลลิลิตร นานอย่างน้อย 30 วินาที นาน 30 วัน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้แปรงฟันด้วยยาสีฟันเช้าและก่อนนอน นาน 30 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) เครื่องมือตรวจสภาวะช่องปาก (2) เครื่องมือวัดโรคเหงือกอักเสบ (3) เครื่องมือวัดการติดคราบจุลินทรีย์ (4) น้ำยาบ้วนปากคลอร์เฮกซิดีน 0.12% (5) แบบบันทึกสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test และ Paired sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์ (กลุ่มทดลอง) ที่แปรงฟันด้วยยาสีฟัน เช้าและก่อนนอน แล้วหลังจากนั้น 30 นาที ให้ใช้น้ำยาคลอร์เฮกซิดีน 0.12% อมบ้วนปากครั้งละ 10 - 20 มิลลิลิตร นานอย่างน้อย 30 วินาที เกิดโรคเหงือกอักเสบและปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลง และลดลงมากกว่า (กลุ่มเปรียบเทียบ) การแปรงฟันด้วยยาสีฟันเพียงอย่างเดียว หากไม่ใช้น้ำยาคลอร์เฮกซิดีน 0.12% อมบ้วนปาก ทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดโรคเหงือกอักเสบเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ทั้งนี้การใช้ยาคลอร์เฮกซิดีนอมบ้วนปากไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ จากผลการวิจัยดังกล่าว จึงควรส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ใช้น้ำยาคลอร์เฮกซิดีน 0.12% อมบ้วนปากทุกครั้งหลังแปรงฟันเช้าและก่อนเข้านอนแล้ว 30 นาที


คำสำคัญ : หญิงตั้งครรภ์; น้ำยาบ้วนปากคลอร์เฮกซิดีน; เหงือกอักเสบ; คราบจุลินทรีย์

The objectives of this quasi-experimental research aimed to compare the results of using 0.12% chlorhexidine mouthwash and side effect for the oral health care of pregnant women. The samples were pregnant women who received services at the antenatal care department in Chaloemphrakiat Hospital and Chakkarat Hospital, Nakhon Ratchasima Province, during May 2021 - January 2022. They were divided into 2 groups (40 samples per group); The experimental group brushed their teeth with toothpaste in the morning and bedtime, then after 30 minutes, gargled with 0.12% chlorhexidine mouthwash (10 - 20 ml each time) at least 30 seconds for 30 days. For the comparison group brushed their teeth with toothpaste in the morning and bedtime for 30 days. Research tools in conducting research were (1) oral examination tool (2) Gingivitis measuring instrument (3) measure plaque attachment instrument (4) 0.12% chlorhexidine mouthwash (5) pregnant woman oral health record form. Data was analyzed by descriptive statistic, Chi-square test, independent t-test and paired sample t-test.

The research results found that pregnant women (Experimental group) brushed their teeth with toothpaste in the morning and bedtime, then after 30 minutes, gargled with 0.12% chlorhexidine mouthwash (10 - 20 ml each time) at least 30 seconds were decreased gingivitis and plaque, and reduced more than brushing with toothpaste alone. If the 0.12% chlorhexidine solution was not used to gargle, it was increased gingivitis of pregnant women, statistically significant (P-value < 0.05). However, using chlorhexidine mouthwash was not cause any side effects. From the results of this research, pregnant women should be encouraged to gargle with chlorhexidine 0.12% after brushed their teeth in the morning and bedtime.


keywords : Pregnant women; Chlorhexidine mouthwash; Gingivitis; Plaque

อ้างอิง


[1] Kinane DF. Causation and pathogenesis of periodontal disease. Periodontal

2011; 25 : 8 - 20.

[2] พรรณพิมล วิปุลากร และปิยะดา ประเสริฐสม. หญิงท้องระวังฟันผุปริทันต์อักเสบ เสี่ยง

คลอดก่อนกำหนด. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2564] เข้าถึงได้

จาก https:// www.thairath. co.th /news/ society/ 1658426

[3] Kim AB, Burton LE. Oral health in women during preconception and pregnancy :

Implication for birth outcomes and infant oral health. Matern Child Health

Journal 2006; 10: 169 – 74.

[4] Moore, S., Ide, M., Coward, P. Y., Randhawa, M., Borkowska, E., Baylis, R., &

Wilson, R. F. A prospective study to investigate the relationship between

periodontal disease and adverse pregnancy outcome. British Dental Journal

2014; 197: 251 – 58.

[5] Chokwiriyachit A. Association between periodontal disease and gestational

diabetes mellitus [Master of Science [Thesis in Periodontology]. Khon Kaen:

Khon Kaen University; 2011.

[6] Gunsolley, JC. Clinical efficacy of antimicrobial mouthrinses. Journal of density

2010; S6 - S10.

[7] คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. น้ำยาบ้วนปากมีประโยชน์จริงหรือไม่.

[ออนไลน์]. (2564). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www

.info.dent.nu.ac.th/dentalHospital/index. php/2012-09-18-18-57-27/2-2012-09-

27-23-42-04?start=2

[8] Ship, J.A. Diabetes and oral health: An overview. The Journal of the American

Dental Association 2003; 134: 4S - 10S.

[9] Ainamo, J., Bay, I. Problems and proposals for recording gingivitis and plaque.

Int Dent Journal 1975; 25: 229 – 35 .

[10] กันยวัชร์ รัตนสุวรรณ. การดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. (2561).

[เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2565] เข้าถึงได้จาก https:// dt.mahidol.ac.th/th/การ

ดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์

[11] Supranoto SC, Slot DE, Addy MA, Van der Weijden GA. The effect of

chlorhexidine dentifrice or gel versus chlorhexidine mouthwash on plaque,

gingivitis, bleeding and tooth discoloration: a systematic review International

Journal Dental Hygeine 2015; 13: 83 – 92.

[12] Haydari M, Bardakci AG, Koldsland OC, Aass AM, Sandvik L, Preus HR.

Comparing the effect of 0.06% -, 0.12% and 0.2% Chlorhexidine on plaque,

bleeding and side effects in an experimental gingivitis model: A parallel group,

double masked randomized clinical trial BMC Oral Health 2017; 17: 118 – 28.

[13] สุพลเทพ ตีระกนก. คลอร์เฮ็กซิดีนในทางทันตกรรม ตอนที่ 1: กลไกการออกฤทธิ์

และผลข้างเคียง. วารสารทันตกรรมขอนแก่น 2563; 23: 99 – 107.

[14] Kulik EM, Waltimo T, Weiger R, Schweizer I, Lenkeit K, Filipuzzi-Jenny E, et al.

Development f resistance of mutans streptococci and Porphyromonas

gingivitis to chlorhexidine digluconate and amine fluoride/stannous fluoride-

containing mouthrinses, in vitro. Clin Oral Investig 2015; 19(6): 1547 – 53.

[15] Takenaka S, Ohsumi T, Noiri Y. Evidence-based strategy for dental biofilms:

Current evidence of mouthwashes on dental biofilms: Current evidence of

mouthwashes on dental biofilm and gingivitis. Jpn Dent Sci Rev 2019; 55(1):

33 - 40.

ดาวน์โหลด